X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน รูปแบบการนอนของทารก 1-3 เดือนแรก

บทความ 5 นาที
การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน รูปแบบการนอนของทารก 1-3 เดือนแรกการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน รูปแบบการนอนของทารก 1-3 เดือนแรก

คุณพ่อคุณแม่กำลังปวดหัวกับการหาวิธีที่จะทำให้ลูกน้อยแรกเกิดนอนหลับง่าย ๆ อยู่ใช่มั้ย หรือกำลังกังวลว่าทำไมลูกเมื่อกลับมาบ้านในช่วงแรก ๆ ถึงไม่ยอมนอน ทั้ง ๆ ที่พยายามทุกวิธีทางแล้วเพื่อจะให้ลูกได้นอนแต่ก็ไม่เห็นว่าจะช่วยให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับยาวได้เลย

ถ้าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาเรื่องการนอนของลูกน้อยแรกเกิด นี่คือเรื่องที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจว่า การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน และ รูปแบบการนอนของทารก 1-3 เดือนแรก นั้นเป็นอย่างไร เพราะทารกแต่ละคนมีมีลักษณะเฉพาะของตนเอง จึงไม่มีตำราเล่มไหนที่จะออกแบบเฉพาะสำหรับลูกน้อยเพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หายเหนื่อยไปได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ และการนอนของทารกก็เช่นกัน

 

ลักษณะของลูกวัย แรกเกิด ถึง 3 เดือน นี้เป็นอย่างไร

คุณแม่อาจจะคุ้นชิน กับการกินนอนของลูกมากขึ้น เพราะลูกจะเริ่มปรับตัวได้ดี พร้อมกับคุณแม่ก็สามารถเดาใจ หรือรู้ใจลูกน้อยมากขึ้น ช่วงวัยนี้ลูกจะให้ความสนใจกับมือของตัวเองเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น จ้องมือตัวเองบ่อย ๆ เอามือเข้าปาก กุมมือตัวเอง เหมือนกับเป็นของเล่นชิ้นใหม่ ที่มีการเคลื่อนไหว ลูกน้อยจะรู้สึกว่า มือของตัวเองนั้น มีความแปลกใหม่ เป็นเพราะประสาทตดของลูก ในช่วงวัยนี้ เริ่มจับภาพได้ดียิ่งขึ้น และมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ตัวได้ชัดเจนมากกว่าเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ของบำรุงคนท้อง สำหรับแม่ท้อง 3 เดือน

 

คุณแม่เริ่มเล่นกับลูกน้อยได้แล้ว แนวทางการดูแลทารกแรกเกิด

การที่เด็กได้รับการพูดคุย การยิ้มแย้ม จะช่วยฝึกพัฒนาการในด้านต่าง ๆ พัฒนาทักษะการฟัง สังเกตการเคลื่อนไหวขอริมฝีปากของคุณแม่ เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้ วัยนี้ไม่ต้องอุ้มตลอดเวลา และสามารถฝึกให้เรียนรู้ได้หลายอย่าง เช่น เขย่าของเล่น ลูก เพื่อให้ลูกลองฟังเสียง ให้ลูกมองภาพสิ่งของ ร้องเพลงให้ลูกฟัง พร้อมทั้ง ทำท่าทางประกอบง่าย ๆ การอุ้มลูกไปนอนบ้าน จะช่วยให้ทารกแข็งแรงขึ้น เหมือนได้ออกกำลังกาย และช่วยให้หลับได้ดีในตอนกลางคืน

 

รูปแบบการนอนของลูกน้อยวัย 1 เดือน

 

การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน

การเลี้ยงทารกแรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน แรก การ เลี้ยง ทารก แรก เกิด 3 เดือน ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก

 

หลังจากที่ลูกคลอดออกมา ทารกแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอนในช่วงสัปดาห์แรก ๆ สำหรับในช่วงเดือนแรก คุณแม่จะเห็นเป็นปกติว่าลูกน้อยจะนอนหลับได้เกือบตลอดวัน และสามารถนอนหลับได้ยาวประมาณ 18 ชั่วโมง ใน 1 วัน แต่นั้นก็ไม่ได้ถึงการนอนหลับยาว ๆ 18 ชั่วโมงรวด ทารกแรกเกิดจะหลับยาวได้ในแต่ละครั้งไม่เกินกว่า 3 ถึง 4 ชั่วโมง เป็นแบบนี้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งเมื่อพอครบ3 ชั่วโมงที่ลูกจะต้องตื่นมาก็จะส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างยาว ๆ แบบที่ต้องการได้

 

เพราะทารกแรกเกิดนั้นยังไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างวันและกลางคืน ซึ่งทำให้ลูกไม่ได้รู้สึกถึงความแตกต่างในช่วงเวลาการนอน อย่างน้อยก็สำหรับในช่วงเดือนแรก ๆ ดังนั้นการนอนหลับสำหรับทารกในวัย 1 เดือนนั้น เป็นช่วงที่ค่อนข้างสำคัญซึ่งจะช่วยให้สมองของลูกพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย

อ่านเพิ่มเติม >> การนอนของทารก ช่วงวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือนแรก นอนแค่ไหนดี?

 

รูปแบบการนอนของลูกน้อยวัย 2 เดือน

 

การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน

การเลี้ยงทารกแรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน แรก การ เลี้ยง ทารก แรก เกิด 3 เดือน ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก

 

เมื่อทารกย่างเข้าอายุ 2 เดือน โหมดการนอนของเจ้าตัวน้อยจะแตกต่างจากที่เคยเป็นในช่วงเดือนแรก ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 6 – 8 คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการนอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเจ้าตัวน้อย ทารกจะเริ่มนอนหลับน้อยลงในช่วงเวลากลางวันและเรียนรู้ที่จะนอนหลับในตอนกลางคืนยาวขึ้น หมายความว่าในตอนกลางวันนั้นระยะการนอนหลับของลูกอาจจะประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งจะหดสั้นขึ้นในช่วงเดือนแรกที่นอนประมาณ 3 ถึง 4 ชั่วโมง และจะมาเพิ่มชั่วโมงการนอนหลับในตอนกลางคืนด้วยการนอนยาว ๆ ได้ถึง 4 ถึง 5 ชั่วโมง การนอนของทารกวัย 2 เดือนนั้นจะเริ่มเป็นการนอนหลับที่ลึกขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงเดือนแรก ซึ่งเมื่อนอนหลับแล้วก็จะตื่นง่ายน้อยลงด้วย

 

รูปแบบการนอนของลูกน้อยวัย 3 เดือน การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน

การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน

การเลี้ยงทารกแรกเกิด การ เลี้ยง ทารก แรก เกิด 3 เดือน ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือนแรก

 

ในช่วงเดือนที่ 3 ที่นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มปรับสภาพความเป็นมือใหม่ลงได้บ้างแล้ว และเข้าใจถึงรูปแบบการนอนของลูกน้อยในระดับหนึ่ง แต่มันก็ยังดูไม่เข้าที่เข้าทางอย่างที่อยากจะให้เป็น เมื่อลูกน้อยอายุ 3 เดือน ทารกจะต้องการเวลานอนประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวัน จะแบ่งเวลานอนสั้น ๆ ในช่วงกลางวัน ประมาณ 1 ถึง 1 ชั่วโมงครึ่งในแต่ละครั้ง รวม 5 ชั่วโมง และในตอนกลางคืนจะเริ่มใช้เวลานอนเกือบ 10 ชั่วโมง และอาจจะตื่นมา 2 ถึง 3 ครั้งเพื่อกินนม หรือทารกน้อยบางคนอาจนอนหลับได้ยาวแล้วโดยไม่ตื่นขึ้นมากินนมมื้อดึกอีกเลย เนื่องจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายของลูกเริ่มพัฒนาและเจริญเติบโตเต็มที่ กระเพาะของทารกเรียนรู้ที่จะย่อยน้ำนมได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้ลูกน้อยกินได้มากขึ้นและทำให้นอนหลับได้นานขึ้น แต่กับทารกบางคนก็อาจจะยังไม่ยอมนอนหลับตลอดคืนและยังคงตื่นขึ้นมาบ้าง เรื่องทั้งหมดนี้ยังคงเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับทารกที่พ่อแม่มือใหม่ไม่ต้องกังวลไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกตารางการนอน ของทารก ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ

 

ที่สุดแล้วการนอนหลับได้ยาวในตอนกลางคืนจะเริ่มเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อลูกอายุใกล้ครบ 3 เดือนเต็ม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนให้ลูกเรียนรู้ถึงกิจวัตรการนอนและทำซ้ำ ๆ กันก่อนพาลูกเข้านอนเป็นประจำเพื่อให้ลูกคุ้นชินไปเรื่อย ๆ เพราะการนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการช่วยให้ทารกมีพัฒนาการทั้งด้านสมอง สุขภาพร่างกายดี การรับรู้และอารมณ์ที่ดีของลูกน้อยนะคะ.

 


credit content : www.momjunction.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

อยากให้เจ้าตัวเล็กได้สารอาหารดี ๆ ทำอย่างไร (วัย 1-3 ขวบ)

การขับถ่ายของทารกแรกเกิด – 1 ปีต้องมีฉี่มีอึกี่ครั้งถึงเรียกว่า “ปกติ”

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • การเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน รูปแบบการนอนของทารก 1-3 เดือนแรก
แชร์ :
  • ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!

    ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!

  • พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก พฤติกรรมทารกแบบนี้ แม่จะมีวิธีส่งเสริมพัฒนาการทารกอย่างไร

    พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก พฤติกรรมทารกแบบนี้ แม่จะมีวิธีส่งเสริมพัฒนาการทารกอย่างไร

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!

    ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!

  • พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก พฤติกรรมทารกแบบนี้ แม่จะมีวิธีส่งเสริมพัฒนาการทารกอย่างไร

    พัฒนาการทารกหลัง 3 เดือนแรก พฤติกรรมทารกแบบนี้ แม่จะมีวิธีส่งเสริมพัฒนาการทารกอย่างไร

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ