TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

บทความ 3 นาที
โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้

ระวังลูกร้องกวน กระสับกระส่าย ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้ เพราะลำไส้กลืนกัน และด้วยความที่ลูกน้อยยังอยู่ในวัยที่พูดไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกตอาการของลูกน้อยอยู่เสมอนะครับ

โรคลำไส้กลืนกัน คืออะไร

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชณรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ให้ความเห็นเกี่ยวกับ โรคลำไส้กลืนกัน เอาไว้ว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากส่วนหนึ่งของลำไส้ ซึ่งอยู่ต้นกว่า เคลื่อนตัวเข้าไปอยู่ในลำไส้อีกส่วนที่อยู่ปลายกว่า โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน โรคลำไส้กลืนกันนี้ พบได้บ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 4-12 เดือน พบได้จนถึง 2 ขวบ และสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมาตลอด

โรคลำไส้กลืนกัน

ข้อสังเกตของโรคลำไส้กลืนกัน

เนื่องจากเด็กยังพูดไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสังเกตอาการต่าง ๆ ของลูกอยู่เสมอ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกมีภาวะลำไส้กลืนกันได้จาก

  • ร้องกวน กระสับกระส่ายเป็นระยะ
  • มีอาการปวดท้องเป็นพัก ๆ มือเท้าเกร็ง
  • มีอาเจียนร่วมด้วย อาจอาเจียนจนมีสีเขียวของน้ำดีปนออกมา
  • ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด เพราะมีส่วนของลำไส้ที่ตายจากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
  • มีไข้ เริ่มซึมลง ซึ่งบ่งบอกว่าอาจมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อน
  • หากเกิดโรคนี้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ มักมีสาเหตุที่ทำให้ลำไส้กลืนกัน เช่น มีเนื้องอกในลำไส้

หากลูกมีอาการดังกล่าวข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ ซึ่งคุณหมอจะถามประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย เพื่อหาตำแหน่งของก้อนที่เกิดจากลำไส้กลืนกัน โดยจะคลำพบก้อนในช่องท้อง จากนั้นคุณหมอจะส่งตรวจทำอัลตราซาวนด์ และส่งตรวจสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และรักษาต่อไป

อันตรายจากโรคลำไส้กลืนกัน

ลำไส้กลืนกัน เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย  เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะเป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเมื่อลำไส้กลืนกันอยู่นาน ๆ ก็จะทำให้ลำไส้ขาดเลือด จนกระทั่งมีการเน่าตายของลำไส้  ลำไส้แตกทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รวมทั้งติดเชื้อในกระแสเลือด จนอาจเสียชีวิตได้

โรคลำไส้กลืนกัน

การรักษาโรคลำไส้กลืนกัน

การรักษาโรคลำไส้กลืนกัน สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
  1. การดันลำไส้ที่กลืนกันออก โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งคุณหมอจะใช้แรงดันผ่านทวารหนักดันลำไส้ที่กลืนกันออกโดยใช้สารทึบแสงทางเอ็กซเรย์ หรือใช้ลม
  2. การผ่าตัด หากมีลำไส้กลืนกันมาเป็นเวลานานจนมีการเน่าตายของลำไส้จากการขาดเลือด หรือใช้วิธีการรักษาโดยดันลำไส้แล้วไม่สำเร็จ คุณหมอจะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

ปัญหาที่มักจะพบได้อยู่บ่อย ๆ นั่นก็คือ พ่อแม่ หรือคนเลี้ยงดู ไม่รู้ว่าเด็กป่วยเป็นโรคนี้ พอเห็นว่าเด็กมีอาการปวดท้อง อาเจียน มีไข้ ก็มักจะไปซื้อยาเอง จนกระทั่งลำไส้เริ่มมีการขาดเลือด จนถ่ายออกมาเป็นเลือดปนมูกถึงได้มาพบคุณหมอ ทำให้ได้รับการรักษาที่ช้าเกินไป ดังนั้น หากพบว่าเด็กมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบพาลูกมาพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ นะครับ


รูปประกอบจาก nku.edu

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

แม่โพสต์เล่า ลูกโดนป้อนน้ำจนลำไส้ติดเชื้อ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำคนเป็นแม่ใจจะขาด

คัมภีร์ดูแลทารก เด็กแรกเกิดต้องดูแลแบบนี้นะ

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • โรคลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดที่ลูกบอกไม่ได้
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว