X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกต้องเข้า NICU

บทความ 5 นาที
เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกต้องเข้า NICU

การที่ลูกน้อยต้องเข้าห้อง NICU เป็นสิ่งที่ทำให้พ่อแม่กังวลใจอย่างมาก บทความนี้จะให้ข้อมูลกับคุณว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในห้อง NICU และคุณพ่อคุณแม่จะเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร

พ่อแม่ทุกคนหวังที่จะได้พาลูกน้อยแรกเกิดกลับบ้านอย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการคลอดลูกครั้งแรก หรือครั้งที่เท่าไหร่ก็ตาม

แม้จะมีเด็กแรกคลอดจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกส่งเข้าห้อง NICU แต่คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไปนะคะ ถ้าคุณได้รู้จักห้อง NICU และรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในนั้น ซึ่งคุณกำลังจะได้เรียนรู้จากบทความนี้ค่ะ

NICU คือะไร

NICU หรือ หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต (Neonatal Intensive Care Unit – NICU) เป็นหน่วยดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยตัวน้อยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ  ภายในห้อง NICU มีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อการนี้ และมีเจ้าหน้าที่มีความชำนาญด้านการดูแลทารกแรกเกิด  ดังนั้นคุณสามารถมั่นใจได้ว่าลูกน้อยของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด

อย่างไรก็ดีโรงพยาบาลขนาดเล็กบางแห่งไม่ได้มี NICU ทารกที่ต้องดูแลเป็นพิเศษจึงต้องถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า

ห้อง NICU นั้นแตกต่างจากทารกแรกเกิดปกติ คุณจะสังเกตได้ว่า ทารกที่อยู่ในห้อง NICU นั้นจะตัวเล็กและเงียบกว่า เด็กที่อยู่ในห้องทารกแรกเกิดปกติ

เด็กบางคนอาจจะภายในตู้อบ ขณะที่เด็กคนอื่นอาจจะนอนอยู่ในเตียงเด็กโดยมีไฟส่องเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้กับหนูน้อย

คุณอาจสังเกตเห็นหนูน้อยอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงตัวเล็กแต่มีสุขภาพดีนอนอยู่ในเตียงเด็กอ่อน  หนูน้อยเหล่านี้เป็นเด็กที่ได้รับการดูแลจนพร้อมที่จะย้ายไปอยู่ในห้องทารกแรกเกิดปกติ หรือพร้อมที่จะกลับบ้านไปอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว

ลูกน้อยจะอยู่ในห้อง NICU นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่พบ และประเภทการรักษาที่เด็กต้องได้รับด้วยค่ะ

ลูกต้องเข้าตู้อบ

ทำไมทารกจึงต้องเข้า NICU

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้ทารกต้องเข้าหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตของโรงพยาบาล เป็นเพราะการคลอดก่อนกำหนด  คือ คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์

สำหรับเคสอื่น ๆ ที่อาจได้รับการดูแลใน NICU เนื่องจากคลอดยาก หรือมีเงื่อนไขทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ปัญหาสุขภาพ หรือการติดเชื้อ หรือต้องผ่าตัด

อะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกต้องเข้าห้อง NICU หลังคลอด คลิกหน้าถัดไป

Advertisement

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกต้องเข้าห้อง NICU หลังคลอด

ปัจจัยจากแม่

  • การเสพยาเสพติดหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ความดันโลหิตสูง
  • มีเลือดออก
  • ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 16 หรือมากกว่า 40 ปี
  • ครรภ์แฝด
  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ปัจจัยการจากคลอด

  • ทารกอยู่ในท่าก้น
  • ทารกอยู่ในภาวะเครียด / การเกิดภาวะขาดอากาศหายใจ (เนื่องจากการขาดออกซิเจน)
  • การช่วยคลอดโดยใช้คีมทำคลอด หรือการผ่าคลอด
  • ภาวะขี้เทา (อุจจาระของทารกแรก) ในน้ำคร่ำ
  • สายสะดือพันรอบคอของทารก

ปัจจัยจากตัวเด็ก

  • คลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์หรือมากกว่า 42 สัปดาห์
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัมหรือมากกว่า 4,000 กรัม
  • ชัก
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ได้รับยาหรือการช่วยชีวิตหลังคลอด
  • การติดเชื้อ เช่น หนองในเทียม เริม หรือกลุ่มสเตรปโตคอคคัส บี
  • พิการแต่กำเนิด
  • ต้องให้ออกซิเจน หรือเฝ้าระวัง ต้องให้ยา หรือฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
  • ต้องการกระบวนการพิเศษ เช่น การถ่ายเลือด

คลอดก่อนกำหนด

ใครจะเป็นผู้ดูแลลูกน้อยของคุณใน NICU

แผนก NICU จะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในการดูแลทารกแรกเกิด ทีมนี้อาจรวมถึง:

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทารกป่วยและคลอดก่อนกำหนด
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบหายใจ
  • นักกิจกรรมบำบัด
  • นักกำหนดอาหาร
  • ที่ปรึกษาการให้นมแม่
  • เภสัชกร
  • นักสังคมสงเคราะห์

รับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยต้องอยู่ในห้อง NICU คลิกหน้าถัดไป

รับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยต้องอยู่ใน NICU

  • จัดการกับอารมณ์ของคุณ

คุณแม่อาจทำใจไม่ได้และเป็นกังวลตลอดเวลา อารมณ์ของคุณในตอนนี้อาจเหมือนรถไฟเหาะตีลังกา ที่เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง คิดฟุ้งซ่าน และรู้สึกอ่อนแอ สิ่งสำคัญที่สุด คือ คุณจะต้องไม่โทษตัวเอง แต่ควรคิดถึงความสุขวันในที่คุณจะได้กลับบ้านพร้อมลูกน้อยของคุณมากกว่า

  • เตรียมตัวปั๊มนมให้ลูกน้อย

ทารกคลอดก่อนกำหนดจำนวนมากไม่แข็งแรงพอที่จะดูดนมจากเต้าได้โดยตรง แต่ลูกน้อยยังสามารถได้รับประโยชน์อย่างมากมายจากนมแม่ที่คุณปั๊มออกมา การปั๊มนมยังทำให้คุณรู้สึกมีพลังเพิ่มขึ้น ที่คุณสามารถทำบางสิ่งบางอย่างที่จะช่วยลูกน้อยของคุณได้

บทความแนะนำ 7 เทคนิคปั๊มนมอย่างไรให้สำเร็จเมื่อให้นมจากเต้าไม่ได้

kangaroo care

  • มีส่วนร่วม

ลูกน้อยของคุณอาจตัวเล็กจิ๋วและบอบบาง แต่รู้ไหมว่าในช่วงเวลานั้น เขาต้องการคุณมากกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสจากคุณด้วยวิธี “การดูแลแบบจิงโจ้” หรือ Kangaroo care

Kangaroo care ถูกนำมาใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดใน NICU ช่วยในการบำบัดรักษาผ่านการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อระหว่างทารกและอกแม่ เพื่อสร้างความผูกพันต่อลูกน้อย และทำให้คุณมีโอกาสในการช่วยลูกน้อยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้นเช่นเดียวกับการปั๊มนม

บทความแนะนำ ดูแลอย่างไร เมื่อลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด

  • คุยกับพ่อแม่คนอื่นๆ

NICU ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสถานที่โดดเดี่ยวมากสำหรับคนเป็นพ่อแม่ ดังนั้น การได้พูดคุยกับพ่อแม่คนอื่น ๆ ที่ลูกน้อยต้องเข้าห้อง NICU เหมือนกัน จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากคนอีกไม่น้อยที่กำลังอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับคุณ

  • ดูแลคนข้างๆ และดูแลตัวเองด้วย

ตอนนี้ลูกน้อยของคุณอยู่ในการดูแลจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหมอที่จะดูแลลูกน้อยของคุณ ส่วนตัวคุณก็ควรให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนร่างกายและจิตใจบ้าง รวมถึงดูแลอารมณ์และความรู้สึกของคนข้างๆ คุณด้วย การให้กำลังใจซึ่งกันและกันจะช่วยให้คุณเข้มแข็งและก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ในที่สุด

TheAsianparent ขอเป็นกำลังใจให้ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ทุกคนสุขภาพแข็งแรงและได้กลับบ้านไปอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันสมกับการรอคอยในเร็ววันนะคะ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

งานวิจัยเผย เสียงของแม่ ช่วยให้ทารกคลอดก่อนกำหนดแข็งแรงเร็วขึ้น

ทำจี๊ด!!ช่วยแม่กระตุ้นน้ำนมไหลมาเทมา

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกต้องเข้า NICU
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว