X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ให้นม ฟังทางนี้! สิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำขณะให้นมลูก

บทความ 5 นาที
แม่ให้นม ฟังทางนี้! สิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำขณะให้นมลูก

หลังจากได้เฝ้ารอที่จะได้พบหน้ากับเจ้าตัวหน้ามา 9 เดือน ตอนนี้ก็ได้พบกันแล้ว ช่วงเวลานี้คงทำให้ แม่ให้นม หลายคนมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก ถึงแม้จะแลกมาด้วยความเหนื่อยที่เพิ่มขึ้นก็ตาม มาดูกันว่าการให้นมลูกนั้นสิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ

แม่ให้นม ฟังทางนี้! สิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำขณะให้นมลูก

ความกังวลใจอันดับแรกๆ ของแม่ท้องหลังคลอด คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการให้นมลูก โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่จะกังวลมากเป็นพิเศษ กลัวว่าจะไม่มีนมให้ลูกบ้างล่ะ กลัวน้ำนมไม่พอ และไม่รู้จะอุ้มลูกท่าไหนดี วันนี้เรามีคำแนะนำสำหรับ แม่ให้นม ว่าสิ่งไหนที่คุณแม่ควรทำ และไม่ควรทำกันค่ะ

 

แม่ให้นมทำสิ่งเหล่านี้สิดี!

 

1. ให้ลูกดูดนมภายหลังคลอดเร็วที่สุด

สิ่งสำคัญสำหรับทารกน้อย คือ คุณแม่ควรให้เจ้าตัวน้อยดูดนมให้เร็วที่สุดหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว ภายใน ½ -1 ชั่วโมงหลัง คลอด ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ลูกมีการตื่นตัว กระตุ้นให้เกิดความรัก ความผูกพันระหว่างแม่ลูก และช่วยให้น้ำนมมาเร็ว หากกรณีผ่าตัดคลอด ควรให้ลูกดูดนมหรือมารดาบีบน้ำนมภายใน 4 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำนมระยะนี้จะมีสีเหลืองหรือที่เรียกว่าว่า “น้ำนมเหลือง” ซึ่งมีคุณค่าและประโยชน์ต่อทารกอย่างมากโดยเฉพาะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

อาการของทารกน้อยเมื่อหิวนม เจ้าตัวน้อยจะร้องไห้โยเยหรือดูดมือ ดูดนิ้ว และที่สำคัญที่คุณแม่ต้องเตรียมรับมือ คือ เห็นตัวเล็ก ๆ แบบนี้ หิวบ่อยมากเรียกว่าตื่นทุก 2-3 ชั่วโมง ยิ่งถ้านมแม่มีน้อยเจ้าหนูอาจจะตื่นทุกชั่วโมงก็เป็นได้

เรื่องน่ารู้: การดูดนมครั้งแรกของทารก ถือเป็นการเรียนรู้และทำความรู้จักกับอกแม่ เด็กบางคนอาจจะแค่ดมหรือเลีย เด็กบางคนก็ดูดเป็นในทันที  คุณแม่ไม่ต้องกังวลและไม่ต้องพยายามบีบบังคับให้ลูกดูดให้ได้อย่างถูกต้อง ในครั้งแรกที่เจอกัน แค่การกอดและสัมผัสกันก็ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นแล้ว ลูกน้อยจะสามารถดูดนมได้เองภายในไม่ช้า

 

 แม่ให้นม

 

2. เรียนรู้เทคนิคการให้นมขณะที่อยู่โรงพยาบาล

ขณะที่อยู่โรงพยาบาล คุณแม่จะมีคุณพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่มาคอยช่วยในการให้นมลูก จัดท่าให้นม สอนการนำทารกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ดูดนมได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อมาถึงบ้านแล้ว นี่คือชีวิตจริง !!! ที่ไม่สามารถใช้ตัวสแตนด์อินได้  แรก ๆ จะขลุกขลักมาก เพราะทั้งแม่ต้องเรียนรู้นิสัยทารกน้อย จะหิวตอนไหน ชอบให้อุ้มอย่างไร รวมไปถึงท่าการให้นมของคุณแม่ที่จะให้ลูกเข้าเต้าได้อย่างถูกต้อง ดังนี้

  • ท่าอุ้ม ท่าอุ้มที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกเข้าเต้า ดูดและกลืนน้ำนมได้ดี คุณแม่จึงควรเลือกท่าที่ถนัด ผ่อนคลายและเหมาะสมกับสภาวะของคุณแม่มากที่สุด อาจจะอุ้มในท่านั่ง ท่านอน หรือท่านั่งกึ่งนอนก็ได้
  • ท่านั่ง ควรนั่งหลังตรงตามสบาย ไม่เกร็ง ไม่ควรโน้มตัวไปข้างหน้าหรือเอนไปข้างหลังมากเกินไป เพราะจะทำให้เมื่อยหลัง
  • การเอาหัวนมเข้าปากและช่วยให้ลูกอมหัวนมได้ถูกต้อง (latch on) คือ สอดหัวนมเข้าปากลูกให้ลึกถึงลานหัวนม ลิ้นอยู่ใต้ลานหัวนมแม่ เหงือกบนกดบนลานหัวนม ริมฝีปากแยกและแนบอยู่กับเต้านม

องค์ประกอบของท่าให้นมลูก คือ

  • ให้ตะแคงลำตัวและศีรษะของลูกให้หันเข้าหาแม่
  • ลำตัวของลูกแนบชิดกับตัวแม่
  • ศีรษะ ไหล่และสะโพกของลูกควรอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
  • ตัวของลูกได้รับการรองรับให้รู้สึกมั่นคง โดยใช้มือแม่หรือหมอนรองช้อนไว้

 

3. เพื่อนคู่คิดในการให้นม

เพื่อนคู่คิดที่สำคัญและสามารถปรึกษาได้ เริ่มต้นจาก  คุณพยาบาลเพราะช่วงที่คุณแม่อยู่โรงพยาบาลนั้นจะมีการสอนให้นมทารกอย่างถูกวิธี  เมื่อกลับมาบ้านหากมีคุณย่า หรือคุณยายอยู่ด้วยจะยิ่งดีเพราะท่านจะแนะนำคุณได้ในทุก ๆ เรื่อง หรือการพูดคุยกับแม่ลูกอ่อนด้วยกัน  หรือคลินิกนมแม่ให้เปิดบริการให้โทรสอบถามได้  หรือเข้าคอร์สอบรมการให้นมแม่ที่จัดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ สามารถเป็นเพื่อนคู่คิดในการให้นมแม่ได้

 

แม่ให้นมต้องอย่าทำสิ่งเหล่านี้ อ่านต่อ

 แม่ให้นมต้องอย่าทำสิ่งเหล่านี้!

 

1. อย่ากังวลมากเกินไป

คุณแม่ไม่ควรวิตกกังวลเรื่องการให้นมจนเกินไป กลัวน้ำนมไม่พอ กลัวลูกไม่อิ่ม และที่สำคัญไม่ควรจัดตารางเวลาการให้นมแก่ลูก

เรื่องน่ารู้: ใน 4 วันแรกหลังคลอด อาจได้ปริมาณน้ำนมน้อย แต่มีคุณค่ามาก ซึ่งช่วงนั้นทารกต้องการปริมาณน้ำนมเพียง 15 มิลลิกรัมต่อวัน  ให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ สม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมง ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างและหลั่งน้ำนมเพิ่มมากขึ้น  และให้ลูกดูดนมแม่ได้ทุกครั้งตามที่ต้องการ  โดยประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือดูดทุก 1 – 3 ชั่วโมง ในเวลากลางวัน  และทุก 2-3 ชั่วโมงในเวลากลางคืน  ถ้าลูกหลับนานเกิน 3 ชั่วโมง  ต้องปลุกให้กินนม  อาการแสดงว่าลูกได้นมเพียงพอคือ ลูกหลับนาน 2-3 ชั่วโมง ถ่ายปัสสาวะวันละ 6-8 ครั้ง ถ่ายอุจจาระอ่อนนุ่ม และน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์

 

2. อย่ายอมแพ้ง่ายเกินไป

คุณแม่บางคนในช่วงสามสี่วันแรกน้ำนมอาจจะยังไม่มา ควรให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อย ๆ แต่มีคุณแม่อีกส่วนหนึ่งถึงกับถอดใจ ให้ลูกกินนมผงไปเลย เพราะคิดว่าตนเองคงไม่มีน้ำนมให้ลูก เป็นความเชื่อที่ผิด และทำให้ทารกน้อยเสียโอกาสที่จะได้รับคุณค่าทางอาหารและภูมิคุ้มกันที่จะได้รับจากนมแม่ การให้นมแม่ต้องใช้ความพยายาม  เข้าใจดีค่ะ ว่าคุณแม่ทั้งเหนื่อยอีกทั้งร่างกายยังไม่เข้าที่เข้าทาง  เพราะเพิ่งผ่านการคลอดลูก ต้องมาเหนื่อย อดหลับอดนอน แต่เพื่อลูกแล้วเชื่อได้เลยค่ะว่าคุณแม่ “ทำได้” เพื่อลูกอย่างแน่นอน

 

3. อย่าหงุดหงิดหรือเครียดเกินไป

เวลาที่คุณแม่รู้สึกหงุดหงิด เครียด อาจจะเป็นเพราะนอนน้อย หรือเหตุผลอื่น ๆ ก็ตาม คุณแม่ควรหาที่ปรึกษาเพื่อระบายความรู้สึก  อาจพูดคุยให้คุณพ่อฟังหรือสมาชิกในบ้านก็ได้  เพราะการได้พูดคุยจะช่วยระบายความเครียด ความหงุดหงิดใจได้ และในช่วงเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ก็ควรงีบหลับตามลูกเพื่อเป็นการพักผ่อนให้ตนเองไปในตัว

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
แอลฟาแล็ค สฟิงโกไมอีลิน กุญแจสำคัญเลี้ยงลูกเจนใหม่ให้สมองไวกว่าที่แม่คิด
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ยากระตุ้นน้ำนมช่วยได้จริงหรือไม่

1. หาสาเหตุของน้ำนมน้อย เพื่อจะได้แก้ไขที่สาเหตุ เช่น การปรับท่าทางการให้นมลูกที่ถูกต้อง, การประคบเต้านมคัดตึง,การกระตุ้นน้ำนมด้วยการปั๊มระหว่างมื้อนม (ควบคู่กับการให้ลูกดูดจากเต้า), ลดความเครียด ความวิตกกังวลของคุณแม่ด้วยการให้กำลังใจ จากคนในครอบครัว  มีการวิจัยพบว่า  การได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัวมีผลต่อกาเรพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำนมแม่

2. หากยังไม่มีน้ำนม ควรปรึกษาคุณหมอเรื่องการจัดยากระตุ้นน้ำนม   สำหรับยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คือ ดอมเพอริโดน (domperidone)  ยานี้มีข้อบ่งใช้ คือ ใช้เป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน ใช้ลดอาการแสบอกจากกรดไหลย้อน (heartburn)  ยามีผลลดการหลั่งฮอร์โมนโพรแลคตินของคุณแม่ที่ให้นมบุตร

3. ดอมเพอริโดนส่งผลทางอ้อม ให้ระดับฮอร์โมนโพรแลคตินในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมมากขึ้น ดอมเพอริโดนจึงถูกนำมาใช้เป็นยากระตุ้นน้ำนม โดยให้รับประทานก่อนอาหาร 15–30 นาที

สิ่งสำคัญ ห้ามซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด ต้องปรึกษาคุณหมอเท่านั้น เพราะยาอาจมีผลข้างเคียงต่อคุณแม่และทารกได้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.med.cmu.ac.th/

https://www.thaibreastfeeding.org

https://sg.theasianparent.com/

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นมแม่ที่แท้คือยา! เช็คหน่อยไหมว่า รักษาอาการร้ายอะไรได้บ้าง

เทคนิคนวดเต้าก่อนคลอด เตรียมพร้อมก่อนให้นมแม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่ให้นม ฟังทางนี้! สิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำขณะให้นมลูก
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว