X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กๆ เป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น หมอแนะวิธี ลดความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้ ให้แม่ๆ ดังนี้

บทความ 3 นาที
เด็กๆ เป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น หมอแนะวิธี ลดความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้ ให้แม่ๆ ดังนี้

แม่สงสัยไหม ทำไมเด็ก ๆ ถึงเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมใด ทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้ในปัจจุบัน?

เพราะอะไรเด็กถึง เป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น

ในปัจจุบันนี้พบว่าอัตราส่วนของประชากรที่ เป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น ทุก ๆ ปี นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งสมมติฐานว่าอาจมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป

มีการศึกษาที่รวบรวมข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน ที่มีส่วนทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็ก ทำให้ได้ข้อสรุปว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเกิดโรคภูมิแพ้จริง โดยแบ่งปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้ค่ะ

 

  • จุลินทรีย์และสิ่งแวดล้อมที่เด็กสัมผัส เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

  1. การคลอดทางช่องคลอด จะทำให้เด็กทารกได้สัมผัสกับแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย คือ Lactobacillus ในช่องคลอดของมารดา ซึ่งช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ ส่วนเด็กที่คลอดโดยการผ่าคลอดจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น
  2. การให้นมแม่ เด็กที่ทานนมแม่จะมีแบคทีเรียที่ดี เช่น Bifidobacterium อยู่ในทางเดินอาหารมากกว่า เด็กที่ทานนมวัว และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ลงได้
  3. การเลี้ยงเด็กในสิ่งแวดล้อมกสิกรรม อยู่ในพื้นที่สีเขียวตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ทำให้เด็กได้สัมผัสกับ endotoxin ซึ่งมีการศึกษาอย่างชัดเจนว่าช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้
  4. การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ RSV และ HRV ตั้งแต่ในเด็กเล็ก จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหืดเมื่อโตขึ้น
  5. การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่จำเป็นในทารก จะทำให้ปริมาณแบคทีเรียที่ดีในร่างกายลดลง จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้ได้

 

  • สารก่อภูมิแพ้ในบ้าน

  1. ไรฝุ่น แมลงสาบ หนู และเชื้อรา หากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศเหล่านี้ในปริมาณมากก่อนอายุ 5 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะโรคหืดได้
  2. สัตว์เลี้ยงได้แก่สุนัขและแมว การศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงหรือช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้กันแน่ เพราะมีหลายการศึกษาวิจัยที่ผลขัดแย้งกัน

 

Advertisement
  • มลภาวะ

  1. มลภาวะในอากาศ มีการศึกษาวิจัยที่สรุปผลอย่างชัดเจนว่าการสัมผัสกับมลภาวะต่างๆ โดยเฉพาะมลภาวะที่เกิดจากการจราจร เช่นก๊าซพิษบนท้องถนนต่าง ๆ หรือมลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรม จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหืดหรือหลอดลมไวในเด็ก
  2. ควันบุหรี่ การสัมผัสกับควันบุหรี่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา หรือคลอดออกมาแล้ว โดยที่มารดาเป็นผู้สูบบุหรี่เอง หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต้องสัมผัสกับควันบุหรี่ ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ในทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหืดในเด็กได้

 

เราจะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้ของลูกได้อย่างไร?

เมื่อได้ทราบปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมทั้ง 3 ข้อนี้ที่มีผลต่อโรคภูมิแพ้ ก็จะสามารถนำมาประยุกต์ในการปฏิบัติเพื่อลดโอกาสที่ลูกของคุณพ่อคุณแม่จะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ ใช่ไหมคะ ยกตัวอย่างเช่น

  1. เลือกวิธีคลอดแบบธรรมชาติทางช่องคลอด หากไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องผ่าคลอด
  2. ให้ลูกทานนมแม่
  3. ให้ลูกสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด
  4. ป้องกันการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของลูกน้อยวัยทารก เช่น ไม่ไปในที่ชุมชนคนเยอะ หรือ ไม่ส่งเข้าเนอสเซอรี่หากไม่จำเป็นจริง ๆ
  5. ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งชี้
  6. กำจัดสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่นฝุ่น ไรฝุ่น แมลงสาบ หนู
  7. หลีกเลี่ยงมลภาวะในอากาศ ทางจากการจราจรและอุตสาหกรรม
  8. หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สูบบุหรี่ และไม่ไปอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่อย่างเด็ดขาดทั้งในและนอกบ้าน

 

ลองนำผลการศึกษาวิจัยนี้ ไปปฏิบัติ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ของเด็ก ๆ กันนะคะ

เอกสารอ้างอิง : Burbank AJ, Sood AK, Kesic MJ, Peden DB, Hernandez ML. Environmental determinants of allergy and asthma in early life. J Allergy Clin Immunol. 2017;140:1-12.

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แพ้น้ำลาย ผื่นรอบปากทารกวัยเล่นน้ำลาย จากการระคายเคือง

6 ปัจจัยที่มีผลต่อสมอง และพัฒนาการที่สมบูรณ์ของวัยทารก

ทราบได้อย่างไรว่าลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่ ทารกเป็นผื่น ถ่ายมีมูกเลือด คือแพ้ใช่ไหม

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เด็กๆ เป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น หมอแนะวิธี ลดความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้ ให้แม่ๆ ดังนี้
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว