X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจบอกว่าลูกเราเป็น ออทิสติกเทียม พ่อแม่ต้องรู้ !

บทความ 5 นาที
พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจบอกว่าลูกเราเป็น ออทิสติกเทียม พ่อแม่ต้องรู้ !

วิธีเลี้ยงลูก และสภาพแวดล้อมที่เด็ก ๆ คลุกคลี ล้วนมีส่วนในการหล่อหลอมให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการเลี้ยงดูบางอย่าง อาจทำให้เด็กโตมามีปัญหาทางร่างกายหรือพัฒนาการได้ วันนี้ เราจะมาพูดถึง ออทิสติกเทียม ในเด็ก ว่าเกิดจากอะไร และมีปัจจัยหรือกิจกรรมอะไรบ้าง ที่ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นออทิสติกเทียม

 

ออทิสติกเทียม

 

ออทิสติกเทียม คืออะไร?

ออทิสติกเทียมเป็นโรคที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องของการเข้าสังคมและการสื่อสาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่ได้พูดคุย หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ เท่าที่ควร ไม่เล่นกับลูก ปล่อยให้ลูกเล่นโทรศัพท์ หรือดูทีวีมากจนเกินไป จนเด็กนั้นไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น โดยเด็กที่เป็นออทิสติกเทียมมักที่จะมีพัฒนาที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป หรืออาจจะพูดได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ ไม่รู้จักวิธีการพูดคุยกับคนอื่น พูดตอบโต้ไม่เป็น มักไม่กล้าสบตาใคร สายตาล่อกแล่ก ไม่ยอมให้พ่อแม่กอดหรือหอม และแสดงออกทางสีหน้าไม่เป็น อย่างไรก็ตาม ออทิสติกเทียมสามารถที่จะรักษาให้หายได้ในเวลาอันสั้น หากว่าได้รับการกระตุ้นให้เด็กกลับมามีพัฒนาการในการเข้าสังคมและการสื่อสานได้อย่างถูกวิธี และมากขึ้น

 

Advertisement

 

ออทิสติกและออทิสติกเทียม ต่างกันอย่างไร

โรคออทิสติกนั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดมากจาการขาดการกระตุ้นเป็นหลัก และแม้ว่าออทิสติกและออทิสติกเทียมจะมีลักษณะอาการที่คล้าย ๆ กัน แต่เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมหากว่าได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมและถูกทางในระยะเวลาสั้น ๆ ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นเด็กปกติได้ ในขณะที่เด็กที่เป็นออทิสติกยังคงมีพฤติกรรมที่มีความแตกต่างออกไปจากเด็กปกติ ถึงแม้ว่าจะได้รักการกระตุ้นพัฒนาการแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นออทิสติกหากว่าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมก็สามารถที่จะพัฒนาการและพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้อย่างมากเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

 

พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจบอกว่าลูกเราเป็น ออทิสติกเทียม

รู้หรือไม่ การให้ลูกเล่นเกม ดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์และแทบเล็ตบ่อย ๆ อาจทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็น ออทิสติกเทียม หากคุณแม่ท่านไหน กำลังสงสัยว่าลูกเราจะเข้าข่ายหรือเปล่า แนะนำให้เช็คได้จาก 15 ข้อนี้เลยค่ะ

  • เด็กมีพัฒนาการด้านการพูดที่ช้า เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น บางคนอายุ 2 ขวบ แต่ยังพูดไม่ได้ หรือพูดไม่เป็นภาษา
  • บอกความต้องการกับคนอื่นไม่เป็น แต่จะแสดงออกโดยการอาละวาดหรือโมโหแทน 
  • แสดงความรักกับคนรอบข้างไม่เป็น ไม่ยอมให้ใครอุ้ม กอด หรือหอม
  • ออทิสติกเทียม ไม่เล่นหรือพูดคุยกับเด็กคนอื่น ๆ ชอบอยู่คนเดียวเสียส่วนใหญ่ ชอบเล่นคนเดียว 
  • ไม่ลอกเลียนแบบท่าทาง หรือเสียงของคนรอบข้าง
  • มีพฤติกรรมการแสดงออก หรือการเข้าสังคมที่ต่างจากเด็กวัยเดียวกัน
  • อยู่ติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น ติดโทรศัพท์ แทบเล็ต ทีวี เป็นต้น 
  • ไม่กล้าสบตาคนอื่น เวลาที่มีใครมาพูดคุยด้วย 
  • ไม่แสดงท่าทาง หรือส่งเสียงเรียกคนอื่น ไม่รู้จักวิธีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ 
  • ไม่รู้จักวิธีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง สี เสียง เป็นต้น
  • ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ หรือร้องเรียกพ่อแม่
  • ไม่สนใจคนรอบข้าง เรียกแล้วไม่หัน
  • มักจะทำอะไรซ้ำ ๆ ซาก ๆ  
  • ร้องไห้โดยที่ไม่มีเหตุผล

หากเจ้าตัวน้อยมีอาการเหล่านี้หลายข้อ ถือว่ามีความเสี่ยงแล้วนะคะ ซึ่งโรคนี้จะส่งผลร้ายต่อพัฒนาการของลูก ทางที่ดีควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจอย่างแน่ชัดอีกครั้งจะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

 

ออทิสติกเทียม

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็นออทิสติกเทียม

ออทิสติกเทียม ไม่ใช่ภาวะที่เด็กเป็นตั้งแต่กำเนิด แต่เกิดจากการเลี้ยงดูเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คุณแม่อาจป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ เป็นออทิสติกเทียมได้ ดังนี้

  1. ให้เด็ก ๆ ทำกิจกรรมอื่น ๆ แทนการเล่นโทรศัพท์ เล่นแทบเล็ต หรือดูทีวี เช่น เรียนศิลปะ เล่นของเล่น หรือฝึกต่อเลโก้ เป็นต้น
  2. ไม่ให้เด็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ เล่นแทบเล็ต หรือเล่นโทรศัพท์
  3. จำกัดเวลาดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์และแทบเล็ตเด็ก วันละ 1 ชั่วโมง
  4. เมื่อเด็กงอนหรืองอแง ควรฝึกให้เด็กระบายอารมณ์ผ่านทางคำพูดที่เหมาะสม ไม่ใช่ทางอารมณ์ สอนให้เด็กพูดคุยกับพ่อแม่ เมื่อต้องการอะไร หรืออยากได้อะไร
  5. หาเวลาว่างอยู่กับลูกบ่อย ๆ เน้นการพูดคุยเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ ฝึกตอบโต้เมื่อมีคนพูดคุยด้วย
  6. หมั่นพาลูกเข้าสังคมพบปะคนอื่น ๆ โดยอาจจะพาลูกไปเข้าค่าย หรือไปสวนสาธารณะเพื่อเล่นกับเพื่อน ๆ ก็ได้
  7. สอนให้เด็กออกเสียงแต่ละคำอย่างช้า ๆ และชัด ๆ พูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ
  8. ซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการให้เด็ก ๆ เล่น เพื่อช่วยฝึกสมอง

ใครที่กำลังสงสัยว่าลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคออทิสติกหรือเปล่า ไม่ว่าจะแท้หรือเทียม ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อหาทางแก้ไข และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะสายเกินแก้ จนกระทบต่อพัฒนาการ และการใช้ชีวิตในสังคมของลูกน้อยในภายภาคหน้านะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

ที่มา : sanook , Bangkokhospital , Aspieinfo

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พัฒนาการลูก เห็น ได้ยิน พูด ลูกมองเห็นตอนกี่เดือน ทารกได้ยินตอนกี่เดือน ทารกพูดได้ตอนกี่เดือน
ของใช้ลูกแต่ละอย่างหมดอายุเมื่อไหร่ ถึงเวลาซื้อใหม่ให้ลูกใช้หรือยัง
ลูกพูดอังกฤษปร๋อเพราะดูยูทูป จิตแพทย์เตือนดูทั้งวัน เสี่ยงออทิสติกเทียม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

kamonchanok

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจบอกว่าลูกเราเป็น ออทิสติกเทียม พ่อแม่ต้องรู้ !
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว