X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?

บทความ 5 นาที
เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?

เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่? น้ำผึ้งน่าจะดีต่อสุขภาพต่อลูกน้อย เพราะโดยมากทุกคนจะรู้สึกว่าน้ำผึ้งนอกจากจะมีสีทองที่มาจากธรรมชาติแล้วนั้น ยังมีรสหวานละมุน หอมอ่อน ๆ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นประโยชน์สำหรับเด็กที่กำลังเติบโต

เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่? เป็นคำถามที่พบบ่อยตามเว็ปไซต์ หรือแม้กระทั่งกับตัวแพทย์เอง มักจะถูกถามถึงบ่อย และบางครอบครัว เมื่อทำอาหารที่มีส่วนผสมเป็นน้ำผึ้ง ก็มักจะหยิบยื่นน้ำผึ้งให้ลูกน้อยทาน

เด็กทารกควรทานน้ำผึ้งหรือไม่?

มีคำแนะนำว่า ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ ไม่ควรที่จะทานน้ำผึ้ง เนื่องจากในน้ำผึ้งนั้น อาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ในดิน และฝุ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดเชื้อรา และสารบางตัวที่ชื่อว่า botulinum toxin ในทางเดินอาหาร และส่งผลต่อสุขภาพของเด็กทารกได้ 

แต่หากเด็กทารกมีอายุมากกว่า 1 ขวบแล้ว จึงจะสามารถทานได้ เพราะความเป็นกรดด่างของน้ำย่อยในกระเพาะ จะสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ก่อนที่ตัวน้ำผึ้งจะสามารถสร้างเชื้อรา และผลิตสารพิษได้

เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่

น้ำผึ้งทำให้เกิดโรคอะไรกับทารก?

Advertisement

เนื่องจากตัวน้ำผึ้งมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ และในกระเพาะ ลำไส้เด็กทารก ยังไม่สามารถย่อยเชื่อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี ทำให้เชื้อที่ชื่อ โบทูลิซึม (Botulinum Toxin) ก่อตัวจนทำให้เด็กทารกเกิดอาการป่วยได้ โดยทางการแพทย์ได้ให้ชื่อโรคนี้ว่า โรคโบทูลิซึม ตามชื่อเชื้อแบคทีเรียโดยตรง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไขข้อข้องใจ ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

โรคโบทูลิซึมของทารกเป็นอย่างไร?

ทารกที่เป็นโรคโบทูลิซึม จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร้องไห้เบา ๆ เนื่องจากตัวเชื้อนี้ส่งผลถึงระบบหายใจ ทำให้เด็กจะหายใจได้ลำบาก หากเกิดอาการดังกล่าว ผู้ปกครองควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยทันที

สาเหตุของโรคโบทูลิซึมในทารกคืออะไร?

โรคโบทูลิซึมในทารก เกิดจากสารพิษ ที่มาจากแบคทีเรีย Clostridium Botulinum ที่อาศัยอยู่ในดิน และฝุ่น แบคทีเรียชนิดนี้ สามารถติดอยู่บนพื้นผิวของพรม และตามพื้นทั่วไป และยังพบว่ามักจะมีการปนเปื้อนอยู่ในตัวน้ำผึ้งอีกด้วย ดังนั้น เป็นเหตุผลสำคัญที่ทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ไม่ควรรับประมาณน้ำผึ้งโดยเด็ดขาดค่ะ

ในทางตรงกันข้าม แบคทีเรียชนิดนี้ จะไม่เป็นอันตรายต่อเด็กโต และผู้ใหญ่ นั่นเป็นเพราะ ระบบย่อยอาหารที่เจริญเติบโตเต็มที่ และสามารถขับเอาสารพิษออกจากร่างกายได้ก่อนที่ตัวแบคทีเรียจะทำการเพาะเชื้อนั่นเอง

เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่

 

อาการของโรคโบทูลิซึมในทารก

โรคโบทูลิซึมในทารก มักจะมีผลต่อทารกที่มีช่วงอายุที่ 3 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน แต่เด็กทุกคนยังคงมีความเสี่ยงจนกว่าจะมีอายุจนครบขวบปีแรก ดังนั้นช่วงระยะเสี่ยงนี้ ผู้ปกครองควรสังเกต ว่าลูกน้อยมีอาการเช่นนี้หรือไม่

  • อาการท้องผูก (อาการนี้ มักจะเป็นสัญญาณแรกที่จะสามารถสังเกตให้เห็นได้ง่ายก่อนอาการอื่น ๆ)
  • กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ทำให้ใบหน้าจะมีลักษณะแบนลงจากเดิม
  • การร้องไห้ที่อ่อนแรง เนื่องจากเด็กไม่สามารถเปล่งเสียร้องได้อย่างเต็มที่
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงในแขน ขา และคอ
  • ปัญหาการหายใจที่แผ่วเบาลงกว่าปกติ
  • ปัญหาการกลืนน้ำลาย (โดยสามารถสังเกตได้ว่าเด็กจะมีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติ)

การวินิจฉัยโรคโบทูลิซึมในทารก

โดยมาก แพทย์มักจะต้องสอบถามเกี่ยวกับอาการเบื้องต้นของทารก ว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากปกติอย่างไร ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตุจากทางผู้ปกครองเป็นหลัก หลังจากนั้นจึงจะทำการทดสอบดูว่า กล้ามเนื้อของทารกทำงานเป็นอย่างไรบ้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม

วิธีการรักษาโรคโบทูลิซึมในทารก

หากแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่าเด็กทารกเป็นโรคโบทูลิซึมแล้ว ทางโรงพยาบาลจำเป็นจะต้องทำการรักษาโดยให้เด็กพักอยู่ในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) เพื่อทำการกำจัดสารพิษในร่างกายของทารกออกให้หมด

ซึ่งการรักษาขั้นต้น ทางแพทย์จะต้องให้ยาต้านพิษ ที่เรียกว่า botulism immune globulin intravenous (BIGIV) ซึ่งเมื่อทารกได้รับยาต้านพิษนี้ผ่านทางหลอดเลือดดำแล้ว จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

หากมีการทิ้งช่วงไว้นาน จนเชื้อส่งผลถึงกล้ามเนื้อระบบหายใจอย่างหนัก ก็จำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และต้องใช้เวลาในการรักษานานถึง 2 – 3 สัปดาห์ จนกว่ากล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายจะแข็งแรงขึ้น

แต่ถ้าเด็กได้รับการรักษาที่ล่าช้า ก็จะส่งผลระยะยาวกับกล้ามเนื้อของเด็ก เช่น การกลืนอาหารที่ยาก หรือส่งผลเสียต่อการพัฒนาทางร่างกายของตัวเด็กเอง

เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่

น้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้างสำหรับลูก ๆ ของคุณ?

ในทางกลับกัน หากลูกของคุณโตพอที่จะสามารถรับประทานน้ำผึ้งได้แล้ว (อายุ 1 ปีขึ้นไป) น้ำผึ้ง กลับมีประโยชน์กับตัวเด็กในระดับหนึ่งเลยทีเดียว

1. ให้พลังงานที่ยาวนาน

น้ำผึ้งทำมาจากน้ำตาลสามประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ซูโครส กลูโคส และฟรุกโตส น้ำตาลแต่ละชนิดเหล่านี้ ร่างกายของเราจะนำไปใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน – ซูโครส และกลูโคส จะถูกย่อยเร็ว และทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ฟรุกโตสในน้ำผึ้ง จะอยู่ในร่างกายได้นานกว่า และให้พลังงานอย่างต่อเนื่องกับตัวเด็ก เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาจะรู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง ซึ่งจะแตกต่างจากการทานขนมหวาน

2. มีวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย

ขวดน้ำผึ้งมีส่วนผสมไม่มากนัก แต่เต็มไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อลูกน้อยที่กำลังเติบโต ตัวน้ำผึ้งยังมีกรดอะมิโนที่ช่วยให้ลูก ๆ เติบโต และมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น

3. ช่วยปกป้องความเสียหายของตับ

มีผลวิจัยออกมาว่า ตัวน้ำผึ้ง สามารถลดผลข้างเคียงที่มาจากยาแก้ปวด จำพวกยาพาราเซตามอล ซึ่งมักจะตกค้างอยู่ที่ตับ ทำให้ตับถูกทำลายจากยาได้ ดังนั้นน้ำผึ้งจึงถูกจัดว่า เป็นอัศวินปกป้องตับ ของลูกน้อยได้

ดังนั้น หากลูกของคุณป่วย คุณก็สามารถที่จะนำน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา นำมาผสมกับตัวยา ให้เด็กทาน ก็จะสามารถ ทำให้เด็กหายป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

4. ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น

การใช้น้ำผึ้งกับบาดแผล หรือแผลถลอกที่เกิดขึ้นกับเด็ก ก็จะสามารถช่วยให้รอยแผลนั้น หายเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะผลการวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นถึง ความสามารถพิเศษของน้ำผึ้งถึงการสมานบาดแผล ว่าตัวน้ำผึ้งจะสามารถไปช่วยเร่งกระบวนการบำบัด และช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวได้เป็นอย่างดี

5. ทำให้อาการไอสงบลง

แม่ของคุณเคยเติมน้ำผึ้ง และมะนาวลงในชา แล้วให้คุณดื่ม เมื่อคุณมีอาการไอตอนเป็นเด็ก หรือไม่คะ? นั่นเป็นเพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ว่าน้ำผึ้งนั้น มาสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และระคายเคืองภายในลำคอได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อเด็ก หรือลูกของคุณมาอาการไอ การให้ลูกดื่มน้ำผึ้งสักหนึ่งช้อน ก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาอาการเจ็บคอนั้น ๆ ได้ค่ะ

น้ำผึ้ง เป็นความหวานที่มาจากธรรมชาติสร้างขึ้น และสามารถสร้างความสมดุล และรักษาอาการเจ็บป่วยหลาย ๆ อย่างได้ หากแต่ต้องคำนึงถึงความพร้อมของร่างกายของผู้ดื่มเป็นหลัก ดังนั้น ต้องจำเอาไว้ว่า อย่าให้ลูกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ทานน้ำผึ้งเป็นเด็ดขาด เพราะจากผลที่ดีมากมายที่บรรยายมา จะกลายเป็นสิ่งที่เป็นพิษทันทีสำหรับทารกแรกเกิด แต่น้ำผึ้งคือยาวิเศษ และจะทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้น เมื่อร่างกายพร้อมที่จะรับกับมันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง :

เมนูสุขภาพ: ไก่ย่างน้ำผึ้ง

ที่มา : kidshealth

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • เด็กทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว