คุณแม่ให้นมลูกควรรู้ เครื่องดื่มต้องห้าม แม่ให้นมบุตร ที่ห้ามกินในช่วงในนมเนื่องจากจะส่งผลแก่ลูก เครื่องดื่มต้องห้าม ที่ว่ามีอะไรบ้าง เรามาดูกันค่ะ
เครื่องดื่มที่แม่ให้นมลูกห้ามกิน
เครื่องดื่มต้องห้าม
ไม่ว่าคุณแม่จะดื่มชา หรือ กาแฟเป็นประจำ เพราะติดในรสชาติหรือเพราะจะต้องทำงานก็ตาม หากคุณแม่มีลูกวัย 1 – 2 เดือน ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง เนื่องทารกวัยนี้ยังไม่สามารถกำจัดสารคาเฟอีนเองได้ แต่ถ้าทารกมีวัย 3 เดือนขึ้นไปให้ทานได้ไม่เกินวันละ 2 แก้ว นอกจากคาเฟอีนก็เป็นอาหารต้องห้ามขณะตั้งครรภ์ด้วยนะ เพราะอาจทำให้คุณแม่มีอาการคนท้องที่ผิดปกติและเป็นอันตรายต่อลูกได้
เนื่องจากกาแฟมีคาเฟอีน เป็นตัวกระตุ้นระบบประสาท หากคุณแม่รับประทานกาแฟ และให้ลูกกินนม จะทำให้ลูกตื่นตัวตลอดเวลา คาเฟอีนที่ลูกกินผ่านน้ำนมคุณแม่ จะส่งผลให้ลูกเกิดอาหารปั่นป่วน ระคายเคือง และนอนไม่หลับ และคาเฟอีนจำนวนมาก สามารถลดระดับธาตุเหล็กในน้ำนมแม่ และลดระดับฮีโมโกลบินในทารก
เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และขนมหวาน มีส่วนทำให้เด็กเกิดโรคอ้วน และโรคมะเร็งในภายหลัง
-
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมช็อคโกแลต
เนื่องจากช็อคโกแลตมีสารกระตุ้น Theobromine ซึ่งคล้ายคาเฟอีน และช็อคโกแลตส่วนใหญ่น้ำตาลสูง หากคุณแม่ให้นมหลังรับประทานช็อคโกแลตเสร็จ จะสังเกตได้ว่าลูกจะเกิดอาหารหงุดหงิด และช็อคโกแลตก็สามารถทำให้ร่างกายของคุณแม่ขาดน้ำ และลดการผลิตน้ำนม
การที่คุณแม่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุด หากคุณแม่บริโภคแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางนั้น ไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่ไม่ควรเกิน 1 แก้วต่อวัน และควรรออย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนที่จะให้นมลูก ทางที่ดีหากคุณแม่อยากดื่มสังสรรค์ให้เลี่ยงไปดื่ม ม็อกเทล ที่มีสูตรคล้ายกับค็อกเทลแบบปกติแทนค่ะ
น้ำอัดลม เต็มไปด้วยคาเฟอีน น้ำตาลและกรดที่อาจทำร้ายสุขภาพของคุณแม่ เป็นสาเหตุของฟันผุ และอาจเสี่ยงต่อเบาหวานได้ ซึ่งในช่วงตั้งครรภ์นั้น คุณแม่จะมีโอกาสฟันผุและเป็นเบาหวานได้ง่ายกว่าผู้หญิงปกติถึง 2 เท่า อีกทั้งการดื่มน้ำอัดลมมากๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดอาการแสบแน่นทรวงอก และอาการจุกเสียด กรดไหลย้นได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมจะดีที่สุด
-
น้ำผลไม้ หรือ ผลไม้รสเปรี้ยว
ผลไม้รสเปรี้ยวมีวิตามินซีเยอะ แต่ส่วนประกอบก็สามารถทำให้ท้องระคายเคืองได้เล็กน้อย ระบบทางเดินหายใจไม่สมบูรณ์ของลูกจะไม่สามารถจัดการกับการเพิ่มขึ้นของกรดได้ จึงส่งผลให้หลอดอาหารและกระเพาะอาหารไหม้ เกิดผื่นผ้าอ้อม นอกจากนี้น้ำผมไม้ หรือ ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม ส้มแมนดาริน เกรพฟรุต กีวี และ สัปปะรด มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนกลิ่นและรสชาติในน้ำนมแม่ เด็กอาจจะเกิดอาการ อาเจียน หรือ ไม่ยอมกินนมแม่
หากคุณแม่กินเชอร์รี่ขณะที่ให้นมลูก ลูกอาจจะเกิดปัญหาในกระเพาะอาหาร และ ระบบย่อยอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องเฟ้อ หรือ ปวดท้อง ซึ่งไม่ต่างกับ เบอร์รี่ และ ลูกพรุน เนื่องจากจะย่อยยาก ดังนั้นจึงไม่แนะนำ เนื่องจากทางเดินอาหารของลูก อาจจะยังไม่พร้อมย่อยอาหาร
เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้ไม่ได้รับการยืนยันจากแพทย์ว่าสามารถช่วยให้ร่างกายดีขึ้น หรือช่วยบำรุงร่างกายได้ ดังนั้นหากต้องการอาหารเสริมควรปรึกษากับแพทย์จะดีกว่า
คุณแม่หลายท่าน มีความเข้าใจว่าชาสมุนไพรจะสามารถบำรุงสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี แต่ความจริงแล้ว ชาสมุนไพรก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรลด ละ เลิกเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะในชาบางชนิด อาจเป็นผลให้พัฒนาการของลูกน้อยในช่วงไตรมาสแรกช้าลงได้ และอาจเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวอย่างรวดเร็ว จนเสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย
โอเลี้ยง ก็ถือเป็นเครื่องดื่มต้องห้ามสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เหมือนกันนะ เพราะถึงจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ แต่ก็สามารถสร้างความอึดอัด รำคาญใจ ให้กับคุณแม่ได้เป็นอย่างมาก เพราะโอเลี้ยงจะทำให้ระบบขับถ่ายแย่ลง เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี และไม่เกิดอาการปวดจุกจิกในขณะตั้งครรภ์ ก็ควรลด เลิกการดื่มโอเลี้ยงไปก่อนจะดีที่สุด
สมุนไพรเพิ่มน้ำนมคุณแม่
- กานพลู เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันยูจีนอล ช่วยขับน้ำดีเพื่อนำไปย่อยอาหาร และมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนม
อาหารแนะนำ นำดอกกานพลูแบบดอกตูมแห้ง 5-8 ดอก ชงในน้ำเดือด แล้วดื่มแต่น้ำ
- เมล็ดเทียนข้าวเปลือก เป็นสมุนไพร มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวานและเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ช่วยย่อย มีสารสกัดอะชิโตนมีฤทธิ์คล้ายกับเอสโตรเจนในหนู โดยมีฤทธิ์ในการขับน้ำนม
อาหารแนะนำ ใช้คล้ายพริกไทย นำมาบดใส่ในอาหารต่าง ๆ เพิ่มความหอม เผ็ดร้อน
- โป๊ยกั้ก เป็นสมุนไพรจีน มีแคลเซียม ธาตุเหล็กสูง ช่วยกระตุ้นการไหวเวียนเลือด มีฤทธิ์เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจน กระตุ้นการผลิตนํ้านม
อาหารแนะนำ ใส่เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นในอาหาร เช่น พะโล้ ก๋วยจั๊บ หรือใส่ในน้ำชา แต่ควรใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ข้อควรระวังการใช้สมุนไพรเพิ่มน้ำนม
- ระวังสารปนเปื้อน หากรับประทานสมุนไพรที่อยู่ในรูปของสารสกัดอาจจะมีส่วนประกอบอื่นที่ไม่ชัดเจนผสมอยู่ด้วย ต้องระมัดระวังในการใช้ อาจได้รับสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย
- อย่าเลือกกินเฉพาะสมุนไพรอย่างเดียว ไม่ควรเน้นแค่เฉพาะสมุนไพรที่มีสรรพคุณกระตุ้นน้ำนมเพียงอย่างเดียว ควรรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ควบคู่ไปด้วย
ที่มา : (pobpad),(LINE TODAY)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
ระดับน้ำตาลสูงในระหว่างการตั้งครรภ์อาจนำไปสู่ โรคอ้วนในวัยเด็ก
บำรุงน้ำนมก่อนคลอด ด้วยเครื่องดื่มสมุนไพรทำเอง ทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
อาหารกระตุ้นน้ำนมแม่ ผลงานคนไทยคว้ารางวัลระดับโลก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!