X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

บทความ 5 นาที
อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

คุณแม่มือใหม่คงใช้เวลาไม่นานที่จะแยกเสียงร้องไห้แบบหิว แบบเหนื่อย หรือร้องเพราะไม่สบาย คุณรู้ว่าลูกกำลังป่วย แต่ประเด็นคือคุณจะรู้ได้ยังไงว่าเจ้าตัวเล็กเป็นอะไร เรามีเรื่องเกี่ยวกับอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็กทารกและวิธีรักษามาฝาก คุณเองก็รู้ได้โดยไม่ต้องใช้ร่างทรง

เด็กทารกบอบบาง น่ารัก น่าทะนุถนอม แต่การดูแลทารกให้ถูกวิธี และการเข้าใจว่าทารกกำลังรู้สึกอย่างไรนั้น มันไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นเช่นกัน

ถ้าลูกร้องโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่าเพิ่งเรียกหมอผี เพราะคนเป็นแม่รู้ดีกว่าใคร ด้วยความรู้ที่เรากำลังจะบอกคุณต่อไปนี้ กับเวลาสักเล็กน้อย คุณก็จะรู้วิธีแก้ปัญหาแบบที่ไม่มีใครทำได้แน่นอน

อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก

อาการป่วย: สิ่งที่ทำให้ลูกไม่สบายตัว

มี “อาการป่วย” หลายอย่างที่จะทำให้ลูกผิดปกติหรือเจ็บปวด บ้างก็เห็นได้ชัด แต่บ้างก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัย อาการป่วยที่พบบ่อยในเด็กทารก มีดังต่อไปนี้:

  • โคลิค
  • ผื่นผ้าอ้อม
  • ปวดฟันงอก
  • ปวดหู
  • ท้องอืด
  • ท้องผูก

โคลิค

โคลิค (โบราณเรียกอาการ “ร้องร้อยวัน”) คืออาการปวดท้องที่เกิดในเด็กทารก มีสาเหตุจากลมในช่องท้อง อาการที่เห็นได้ชัดคือ ร้องไห้เป็นช่วง ๆ และยกขาขึ้นมาบริเวณท้อง สามารถช่วยบรรเทาอาการได้โดยการพยายามทำให้เด็กระบายลม ที่แย่คือยิ่งเด็กร้องมาก ยิ่งกลืนลมเข้าไปมาก และยิ่งทำให้ปวดท้อง

โชคร้ายที่ไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาอาการโคลิค ถ้ามี 75% ของทารกที่เป็นโรคนี้ในช่วงสองสามเดือนแรกคงจะลุกขึ้นมาเต้นกังนัมกันแน่ ๆ (พ่อแม่ก็เหมือนกัน!) แต่อย่าเพิ่งเสียกำลังใจไป มีวีธีที่จะลดความเสี่ยง หรืออย่างน้อยก็ลดความถี่ของอาการได้

  • ในช่วงให้นมลูก คุณควรงดคาเฟอีน อาหารรสจัด และอาหารที่ทำให้เกิดลม (เช่นถั่ว, กระหล่ำปลี, บร็อกโคลี ฯลฯ) อาจงดอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากนม เพราะโคลิคอาจเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็คโตส (น้ำตาลในนม) ไม่ได้
  • ถ้าให้นมชง ลองเปลี่ยนนมเป็นสูตรที่ทำจากถั่วเหลืองแทน
  • อย่าปล่อยให้ลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป ความตื่นเต้นเกินขนาดมักทำให้เด็กมีอาการโคลิค อาการนี้มักหายไปเองในเดือนที่ 4-5 ดังนั้น การสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย สบาย ๆ ในบ้านอาจช่วยลดอาการได้

วิธีที่เราแนะนำไม่ได้แก้ปัญหาได้ร้อยเปอร์เซนต์ แม้คุณจะพยายามอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม เจ้าตัวน้อยก็อาจมีอาการนี้ได้เป็นครั้งคราว คุณอาจลองใช้วิธีที่เรากำลังจะแนะนำต่อไปนี้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ลูกได้

  • ทำให้ลูกเรอ ถ้าวิธีบ้าน ๆ แบบการพาดไหล่ไม่ได้ผล ลองจับลูกนอนคว่ำไว้บนตัก และนวดหลังเบา ๆ แต่หนักแน่น เริ่มจากก้นกบไล่ขึ้นไปถึงกระดูกสะบัก
  • ห่อลูกไว้ด้วยผ้าห่ม
  • โยกเยกเจ้าตัวน้อยไปมา และนวดท้องและ/หรือหลังไปพร้อมกัน
  • ให้ยาบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อสำหรับเด็ก ซึ่งมักได้ผลดี แต่ไม่ควรให้บ่อย และต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  • จับลูกอาบน้ำอุ่น น้ำอุ่นจะช่วยคลายกล้ามเนื้อท้องและช่วยระบายลมได้
  • จับขาลูกปั่นจักรยานอากาศ การขยับขาท่านี้จะช่วยขับลมออกจากช่องท้อง

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>


ผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อมไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติ แต่เกิดจากความบอบบางของผิวทารกต่อฉี่และอึ วิธีแก้คือ อย่าปล่อยให้ก้นของลูกน้อยหมักหมมในของเสียนานเกินไป พยายามทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ง่ายนิดเดียวค่ะ

คุณยังสามารถโรยแป้งข้าวโพดสำหรับทารกทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม แต่ถ้าลูกของคุณยังเป็นผื่น (ซึ่งแทบจะรับรองได้ว่าต้องเป็นอย่างน้อยสักครั้ง) เราแนะนำให้ลองใช้ขี้ผึ้งสำหรับผื่นผ้าอ้อมโดยเฉพาะ มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลายตัวในท้องตลาด ลองใช้สักสองสามยี่ห้อเพื่อดูว่าอันไหนดีที่สุดสำหรับเจ้าตัวน้อย (หมายเหตุ: ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสังกะสี อาจทำให้เกิดอาการแพ้ โปรดใช้อย่างระมัดระวัง)

ถ้าลูกกินยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณขาหนีบและรอบก้น ซึ่งต้องใช้ยาทาตามแพทย์สั่งเท่านั้น

ฟันงอก

ฟันขึ้นเป็นเรื่องธรรมชาติไม่ต่างจากการหายใจ และมันก็เจ็บซะด้วย เด็กที่กำลังจะมีฟันงอกมักจะหยุกหยิก อยู่ไม่สุข และจับทุกอย่างที่คว้าได้ใส่ปาก แต่กลับไม่อยากกินอาหาร เด็กบางคนอาจมีไข้ต่ำ ๆ ท้องเสีย หรือเป็นผื่นรอบ ๆ ปากด้วย ผู้ปกครองสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บฟันได้จนกว่าฟันจะขึ้นครบทุกซี่

เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ลูก (และตัวคุณเอง) เรามีคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ให้เจ้าตัวเล็กเคี้ยวอะไรก็ได้ที่เขาชอบ ตราบใดที่มันสะอาดและเคี้ยวได้อย่างปลอดภัย
  • ยางกัดสำหรับเด็กแช่เย็นหรือแช่แข็งคืออุปกรณ์ชั้นเลิศ ความเย็นจะทำให้เหงือกชา และทำให้เจ้าตัวเล็กหายปวดได้ชั่วคราว ความแข็งของมันจะช่วยกระตุ้นให้ฟันงอกได้ดีขึ้น
  • ยาแก้ปวดและยาชาก็ช่วยได้เช่นกัน แต่ควรให้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะยาแก้ปวด คุณอาจจะอยากลองยาแก้ปวดประเภทจากธรรมชาติ 100% ที่มีขายในท้องตลาด
อาการปวดหูของทารก

อาการปวดหูของทารก

ปวดหู

ถ้าคุณเคยมีอาการปวดหู คุณน่าจะรู้ว่ามันทรมานแค่ไหน แค่คิดก็ปวดแล้ว แล้วลองคิดดูว่าเจ้าตัวเล็กจะปวดแค่ไหน

ถ้าเจ้าตัวเล็กหยุกหยิก (หรือแย่กว่านั้น) ดึงหู ป้องหู หูแดงหรือมีสิ่งผิดปกติใด ๆ กับหู พาไปหาหมอโดยด่วน แพทย์จะสั่งยาฆ่าเชื้อและยาแก้ปวดสำหรับเด็ก แต่อย่างที่รู้กันว่าอาการเหล่านี้มักไม่เกิดในเวลาราชการ ดังนั้นคุณอาจต้องช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้ลูกก่อนโดยการ

  • ให้ยาแก้ปวดสำหรับเด็กตามขนาดที่แนะนำ
  • โปะแผ่นประคบอุ่น หรือ ถุงน้ำอุ่นไว้บนหู ระวังอย่าให้ร้อนเกินไป
  • อุ้มลูกไว้ใกล้ ๆ แต่อย่าพยายามโยกไปมา เพราะจะยิ่งทำให้ปวด
  • อย่าพยายามทำความสะอาดในหูด้วยสำลีเช็ดหูหรือหยดอะไรเข้าไป ควรให้หมอจัดการจะดีกว่า

ท้องอืด

วิธีแก้อาการท้องอืดก็เหมือนกับการแก้โคลิค ความแตกต่างเพียงอย่างเดียว (รู้นะว่าคุณกำลังจะถาม) ก็คือเรียกไม่เหมือนกันแค่นั้นเอง บางคนเรียกท้องอืด บางคนเรียกโคลิค แต่ปกติท้องอืดจะใช้เรียกอาการชั่วคราว ส่วนโคลิคใช้เรียกอาการเรื้อรัง เกิดนานเป็นเดือน ๆ

ท้องผูก

ท้องผูกเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กทารก เพราะการเปลี่ยนอาหารบ่อยในช่วงปีแรก เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมการอึด้วย อึของเด็กที่กินนมแม่อาจมีลักษณะเหลวกว่าและเป็นก้อนเล็กกว่าเด็กที่กินนมชง อยากรู้ว่าลูกท้องผูกหรือไม่ สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

  • ช่วงท้องไม่ได้เคลื่อนไหวเลยใน 24 ชั่วโมง
  • ท้องแข็ง
  • หยุกหยิกและเตะถีบตลอดเวลา
  • ดูเครียดเมื่อต้องเข้าห้องน้ำ
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็ง

คุณแม่ควรทำอย่างไร?

  • ลองเปลี่ยนอาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ ป้อนอาหารใหม่ทีละอย่าง
  • เสริมอาหารหลักด้วยแอปเปิ้ลเหลว พรุน หรือน้ำองุ่นเล็กน้อยในแต่ละวัน จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
  • เพิ่มกากใยลงไปในอาหารถ้าลูกเริ่มกินอาหารแข็ง พยายามเลี่ยงกล้วยบด ข้าว และขนมปัง
  • ลองเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นสูตรทำจากถั่วเหลืองแทนสูตรนม

คุณแม่มือใหม่หลายคนรู้สึกไม่มั่นใจเวลาลูกมีอาการเจ็บป่วย แต่อย่าลืมว่าอาการเหล่านี้เป็น อาการ “ที่พบบ่อย” ดังนั้นเราขอให้คุณใจเย็น ๆ ใคร ๆ ก็รับมือได้ คุณเองก็เช่นกัน

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

วิธีดูแลเมื่อลูกวัยทารกหรือวัยเตาะแตะเป็นไข้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
  • /
  • อาการป่วยที่พบบ่อยในทารก
แชร์ :
  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว