X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่จ๋าอย่าเพิ่งเครียด! อาการของทารก แบบนี้อาจเกิดขึ้นได้กับหนูเป็นปกติ

บทความ 5 นาที
แม่จ๋าอย่าเพิ่งเครียด! อาการของทารก แบบนี้อาจเกิดขึ้นได้กับหนูเป็นปกติ

การมีเบบี๋ตัวน้อยนั้นทั้งสร้างความตื่นเต้นและสร้างความกังวลให้กับคุณแม่มือใหม่ในเวลาเดียวกันได้ เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณแม่ยังไม่รู้ ยังไม่เจอกับตัว เกี่ยวกับทารกน้อยอีกหลายเรื่องเชียวล่ะ

ในขณะที่พาทารกออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับบ้านนั้น คุณแม่จะมองเห็นว่าสุขภาพร่างกายทารกนั้นปกติ แต่หลังจากนั้น อาการของทารก เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ ให้คุณแม่เตรียมรับมือไว้

9 อาการของทารก ที่อาจเกิดขึ้นได้กับเจ้าตัวน้อยแรกเกิด

อาการของทารก

#1 สายสะดือมีกลิ่น

หากไม่รักษาความสะอาดสะดือของทารกนั้นจะมีกลิ่น และติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นการดูแล ทําความสะอาดสะดือทารกถือเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญนะคะ โดยเฉพาะควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังอาบน้ำเจ้าตัวน้อย และเช็ดให้แห้ง โดยทั่วไป สายสะดือทารกจะแห้งหลุดประมาณ 7-14 วันหลังคลอด หลังสะดือหลุดแล้วอาจจะมีน้ำเหลือง หรือเลือดออกมาบ้างเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ ควรทำความสะอาดต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าสะดือจะแห้งและยุบเข้าไปเหมือนสะดือปกติทั่วไปค่ะ

อาการของทารก

#2 สิวในทารก

Advertisement

หน้าใส ๆ ของทารกที่คุณพ่อคุณแม่เห็นอาจเกิดสิวในทารกขึ้นได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักพบในทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิง บริเวณหัว จมูก และแก้ม ชื่อว่าเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นชั่วคราว ทั้งที่ได้รับจากมารดาหรือจากตัวทารกเอง โดยฮอร์โมนนั้น จะเป็นตัวที่ไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันของเด็กทารกให้ทำงานมากกว่าปกติ ในระหว่างที่ลูกมีสิวขึ้นนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบีบหรือแกะสิวบนใบหน้าของลูกน้อยเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง ติดเชื้อ และอาจจะทำให้ลูกเป็นแผลป็นอีกด้วย โดยปกติสิวในเด็กทารกนั้นจะหายได้เองในระยะเวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถดูแลรักษาด้วยการทำความสะอาดผิวทารกด้วยสบู่สำหรับเด็กอ่อนตามปกติ ใช้ผ้าเช็ดตัวชนิดอ่อนนุ่ม ไม่ระคายเคืองเช็ด หากทารกเป็นสิวเยอะ และเป็นนานยังไม่หายตามระยะเวลา ควรพาลูกไปพบคุณหมอและรักษาหรือใช้ยาภายใต้คำแนะนำของคุณหมอเท่านั้นนะคะ

อาการของทารก

#3 กลากน้ำนม

มีลักษณะเป็นผื่นแดงซึ่งอาจปรากฏขึ้นบนคาง แก้มหรือจมูกของทารกแรกเกิด คล้ายสิวในทารกขึ้นตามใบหน้า ลำตัว หัวไหล่ ลำคอได้ ซึ่งกลากน้ำนมสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ว่าบางรายอาจจะนานหน่อย แต่ถ้าคุณแม่เป็นห่วงก็สามารถดูแลลูกน้อยด้วยการดูแลทำความสะอาดผิวด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับทารก หมั่นเช็ดทำความสะอาดทารกน้อยทุกครั้งหลังให้นมเพื่อกำจัดกลากน้ำนมและป้องกันไม่ให้เป็นมากยิ่งขึ้น หรือหากทารกเปรอะเปื้อนด้วยน้ำลายและน้ำนม ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้ากันเปื้อน และผ้าอ้อมเช็ดน้ำลายให้ลูกจนเป็นนิสัยเพื่อกำจัดและป้องกันอาการนี้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่กังวลสามารถพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจและขอรับคำแนะนำได้ค่ะ

อาการของทารก

#4 ไขบนหัวทารก

ไขบนหัวทารก หรือที่คุณแม่เห็นเป็นขุย ๆ อยู่บนหนังศีรษะและสามารถกระจายอยู่หลังใบหู, คอและแม้กระทั่งบนใบหน้าของลูก อย่าไปแกะไปเกาเอานะคะ เพราะจะทำให้หนังศีรษะเป็นแผล ถลอก และนำไปสู่การติดเชื้อได้ ซึ่งความจริงแล้วสะเก็ดเหล่านี้จะค่อย ๆ หลุดไปเองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้าคุณแม่ต้องการที่จะล้างไขบนหัวทารกออก ใช้น้ำมันมะกอกหรือ Baby Oil ทาบนหนังศีรษะและปล่อยให้ทิ้งในประมาณ 15 นาที จากนั้นอาบน้ำล้างออกด้วยแชมพูสำหรับทารก ใช้แปรงขนอ่อนค่อย ๆ แปรงไปบนหนังที่เป็นขุย

#5 ทารกมีเต้า

ทารกแรกเกิดมีเต้านม ภาวะนี้เกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดอายุ 2-3 วัน ซึ่งพบได้ทั้งทารกเพศชายและเพศหญิง เป็นเพราะอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศที่ได้รับมาจากแม่ผ่านทางสายสะดือในตอนตั้งครรภ์ ซึ่งไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมของทารกทำงานจนสังเกตเห็นว่าทารกมีเต้านมที่ขยายหรือมีน้ำนมไหล และในฮอร์โมนตัวเดียวกันก็อาจทำให้ทารกเพศหญิงมีเมือกขาว หรือเลือดประจำเดือนออกมาทางช่องคลอดได้เช่นกัน อาการลักษณะนี้ถือเป็นภาวะปกติในทารกแรกเกิด ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และจะหายไปเองในช่วง 1 สัปดาห์หรืออย่างช้าหนึ่งเดือนเมื่อฮอร์โมนจากแม่ลดลงไป เต้านมที่ขยายก็จะยุบลงไปเป็นปกติ หากเต้านมไม่ยุบก็ควรพาทารกน้อยไปพบกุมารแพทย์นะคะ

อาการของทารก

#6 เล็บยาวเร็วมาก

เล็บมือของเบบี๋นั้นยาวเร็วมาก เป็นเพราะสารอาหารต่าง ๆ ที่พวกเขาได้รับจากน้ำนมแม่ แน่นอนว่าการตัดเล็บให้กับลูกน้อยอาจทำให้คุณแม่บางคนหวั่น ๆ กลัวจะตัดโดนเนื้อลูก แนะนำให้คุณแม่เลือกเวลาตัดเล็บตอนที่ลูกหลับสนิทหรือตัดเล็บหลังจากที่อาบน้ำให้ลูกเสร็จ เพราะหลังจากที่อาบน้ำแล้ว เบบี๋จะรู้สึกอารมณ์ดี สบายตัว เล็บที่จะตัดก็สะอาดและอ่อนนุ่ม ทำให้ตัดได้ง่ายขึ้น

#7 ขี้หูในทารก

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่าการใช้ไม้พันสำลี แคะ ปั่น หรือแหย่เข้าไปในรูหูเพื่อเอาน้ำ เอาขี้หูออกมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับทารกเป็นอย่างยิ่ง เพราะขี้หูในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีนั้น จะช่วยป้องกันผิวหนังของรูหูจากสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ เหงื่อ ฝุ่นละอองรวมไปถึงเชื้อโรค ซึ่งควรทำความสะอาดเฉพาะใบหูและบริเวณปากรูหู โดยใช้สำลีหรือผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบสบู่หรือน้ำ เช็ดเบา ๆ บริเวณใบหู และขณะอาบน้ำสระผมจะปลอดภัยสำหรับทารก

อาการของทารก

#8 อึ๊สีเขียว

ไม่ต้องตกใจไปค่ะ อุจจาระของทารกแรกเกิดนั้นจะมีสีเขียวขี้ม้าปนดำ มีลักษณะหนืดเหนียวคล้ายน้ำมันเครื่อง หรือเรียกกันว่า ขี้เทา โดยตามธรรมชาติแล้วทารกจะขับถ่ายของเสียออกมาภายใน 24 ชั่วโมงและ 2-4 วันหลังคลอด สีของอุจจาระลูกจะเปลี่ยนแปลงไป อึ๊ที่ีสีเขียวจะจางลงและไม่เหนียวหนืดเหมือนกับขี้เทาแล้ว

#9 เติบโตอย่างรวดเร็ว

เวลามันผ่านไปเร็วมากอ่ะ เผลอแป๊บเดียวจากทารกไม่กี่วันแรกหลังคลอด ทั้งหน้าตาเปลี่ยน ศีรษะ เส้นผม มือและเท้า ก็จะเปลี่ยนไป ทารกน้อยนั้นจะเติบโตได้อย่างรวดเร็วในช่วง 10 วัน, 3 อาทิตย์, 6 อาทิตย์, 3 เดือนและ 6 เดือน จะเห็นได้ว่าพัฒนาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเด่นชัดในช่วงสองปีแรก หลังจากนั้นแขนขาก็จะเริ่มยืดขึ้น เริ่มเติบโตและช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวอย่างอิสระได้มากขึ้น.


ที่มา : www.ahealthysliceoflife.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ลูกใครเป็นโคลิคบ้าง ทำยังไงช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้จากอาการโคลิค

ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • แม่จ๋าอย่าเพิ่งเครียด! อาการของทารก แบบนี้อาจเกิดขึ้นได้กับหนูเป็นปกติ
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว