ปล่อยให้ลูกร้องไห้ นานมีผลต่อสมองของลูก
ถึงแม้จะเคยได้ยินมาว่า การร้องไห้นั้น เป็นหนึ่งในพัฒนาการของลูกน้อยที่สำคัญพอ ๆ กับการกิน และการนอน ข้อดีของการ ปล่อยให้ลูกร้องไห้ จะช่วยให้ลูกได้ปลดปล่อยอารมณ์ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น หรือช่วยให้ลูกสูดหายใจเข้าออก ช่วยบริหารปอดให้แข็งแรงขึ้น เป็นการบอกถึงการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงของลูก
แต่ได้มีผลวิจัยโดย ดร. เพเนลอป ลีช ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการของเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี ได้กล่าวเกี่ยวกับ การร้องไห้ของเด็กออกมาว่า “การ ปล่อยให้ลูกร้องไห้ นานเกินไปนั้น จะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก” ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กจะร้องไห้ไม่เกิน 15 นาที ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้นานเกิน 20 นาที
เพราะการร้องไห้เป็นเวลานานนั้น จะทำให้ร่างกายผลิตคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนเครียดออกมาสูงขึ้น จนถึงขั้นผลิตออกมามากกว่าปกติได้ เมื่อปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานาน ๆ ก็จะส่งผลให้ความสามารถในการเรียนรู้และความจำของเด็กลดลง รวมไปถึงไปขัดขวางกระบวนการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ ๆ อีกด้วย
1. ลูกร้องไห้เพราะหิวนม
ปกติแล้วเวลาที่ลูกร้องพ่อแม่ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าลูกหิว แน่นอนว่ามันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกร้องไห้ พ่อแม่ต้องดูการตอบสนองของลูกน้องในระหว่างที่น้องร้องไห้ ดูว่าลูกน้อยทำเสียงดูดไหม ดูดนิ้วไปด้วยหรือเปล่า หรือพยายามหาเต้านมแม่ นั่นแหละคืออาการที่บอกว่าลูกหิวนมแล้ว
2. ลูกร้องไห้เพราะอยากเรอ
ทารกบางคนจะรู้ตัวว่าตอนนี้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายเนื้อสบายตัว จากการที่พวกเขากินอากาศเข้าไประหว่างที่ดื่มนมแม่ ทำให้พวกเขาร้องออกมาเพื่อเป็ญสัญาณว่าตอนนี้หนูรู้สึกแน่นท้องน่ะ หรือบอกว่าตอนนี้รู้สึกจุกเสียด ทุกครั้งหลังจากที่ลูกน้อยกินนมแม่แล้ว คุณแม่อย่าลืมอุ้มลูกเรอให้ลมที่ผ่านเข้าไปในท้องได้ออกมาด้วย โดยเฉพาะลูกน้อยที่ดื่มนมจากขวด ซึ่งพ่อแม่สามารถอ่านเทคนิคการอุ้มเรอได้ที่นี่
3. ลูกร้องไห้เพราะรู้สึกแฉะ
เด็กทารกมักจะฉี่บ่อย ทำให้ในแต่ละวันพ่อแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยบ่อยมากๆ แต่สำหรับบางวันลูกน้อยอาจจะฉี่หรือขับถ่ายมากกว่าปกติ ดังนั้ร พ่อแม่ก็อย่าลืมหมั่นดูผ้าอ้อมลูกน้อยบ่อยๆ ว่ามีฉี่หรืออึออกมาเยอะหรือเปล่า พ่อแม่ต้องพยายามเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกน้อยบ่อยๆ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นผื่นแดงจากผ้าอ้อมด้วย โดยการสัมผัสดูว่าผ้าอ้อมของลูกแฉะแล้วหรือยัง
4. ลูกร้องไห้เพราะอยากนอน
วิธีสังเหตดูว่าลูกร้องเพราะเหนื่อยหรือเปล่า ให้ดูว่าในขณะที่ลูกน้อยร้องเอามือถือตาไปด้วยหรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่าลูกน้องต้องการที่จะนอนพักผ่อนแล้ว ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ต้อการจะนอนพักผ่อน ซึ่งเด็กบางคนต้องการนอนมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันเลยก็มี หากลูกง่วงแต่ไม่นอน คคุณต้องดูสภาพแวดล้อมรอบๆ ว่าเอื้ออำนวยกับการนอนก็ได้นะคะ เช่น แสงสว่างมากเกินไป เสียงดัง เป็นต้น
5. ลูกร้องไห้เพราะป่วย
หากทารกน้อยเอาแต่ร้องไห้ด้วยเสียงดังมาก แถมบางครั้งยังส่งเสียงโทนสูง และหวีดร้องแบบไม่ทราบสาเหตุ เป็นสัญญาณว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ผิดปกติเกิดขึ้นในตัวของลูกน้อยแล้ว ตรวจดูร่างกายของทารกว่ามีสิ่งผิดปกติ หรือไม่ แล้วดูว่ามีท่าทางอย่างไร เช่น ดึงขาขึ้นไปที่หน้าท้องเป็นอาการที่บอกว่าท้องผูก ดึงหูเป็นสัญญาณที่บอกว่าปวดหัวนะแม่
6. ลูกร้องไห้เพราะท้องอืด
ถ้าอยู่ๆ ลูกน้อยเกิดร้องไห้ขึ้นมาเฉยๆ พร้อมกับมีอาการท้องผูกด้วย เป็นสัญญาณว่าระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยมีปัญหา ให้พ่อแม่นวดคลึงบริเวณที่หน้าท้องลูกน้อยเบาๆ ในท่า I Love You เวลาอาบน้ำก็ควรอบน้ำลูกด้วยน้ำอุ่น หากอาการไม่ได้ดีขึ้นให้พาไปพบคุณหมอโดยเฉพาะเด็กใน 6 เดือนแรก
7. ลูกร้องไห้เพราะปวดฟัน
เวลาที่ฟันของลูกน้อยจะขึ้นพวกเขาจะรู้สึกเจ็บปวดและร้องไห้ออกมา อาการที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ง่ายเลยคือการที่ลูกคอยเอามือไปถูกับฟัน หรือพยายามกัด หาของเอาเข้าปากอยู่เสมอ ลองให้ลูกน้อยได้กัดของเล่นหรือผลไม้แช่เย็น เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บเหงือกของลูกน้อยได้
8. ลูกร้องไห้เพราะหนาว
ถ้าคุณแม่สังเกตจะเห็นว่าทุกครั้งที่ถอดเสื้อลูกน้อยออก หลังจากอาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้า ลูกน้อยมักจะร้องไห้ออกมา แต่บางครั้งถ้าคุณแม่แต่งชุดให้ลูกร้อนเกินไป ลูกน้อยก็จะร้องไห้อีกเหมือนกัน โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนแนะนำว่า ควรให้ลูกน้อยนอนในสภาพอากาศที่อุณหภูมิประมาณ 20-22.2 องศาเซลเซียส และควรใส่เสื้อผ้าให้ลูกน้อยโดยดูจากสภาพอากาศ
9. ลูกร้องไห้เพราะต้องการพ่อแม่
บางครั้งเด็กร้องไไห้เพราะต้องการให้พ่อแม่ปลอบประโลม เรียกร้องความสนใจ อยากให้พ่อแม่อุ้ม และเขารู้สึกว่าอยู่กับพ่อแม่แล้วจะปลอดภัยคุณแม่ต้องทำใก้ลูกน้อยสบายใจ อาจจะร้องเพลงเห่กล่อม เบาๆ แค่นี้น้องหนูก็อุ่นใจไม่ร้องแล้ว เพราะเขาเพียงแค่อยากจะอ้อนคุณแม่เท่านั้นแหละ
เมื่อทารกร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามหาสาเหตุที่เป็นไปได้ และแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สุขสบาย ได้แก่
- ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ด้วยสัมผัสทางกายที่เหมาะสม
- คิดถึงสาเหตุเบื้องต้น เช่น หิว หนาว หรือร้อนเกินไป เสื้อผ้าหรือผ้าที่ห่อหุ้มแน่นเกินไป มีสิ่งกระตุ้นเช่นเสียงหรือแสงที่มากเกินไป
- เปลี่ยนวิธีการให้นม หรือเปลี่ยนสูตรนม
- ให้ทารกเรอเอาลมในกระเพาะออกหลังจากดูดนม โดยการอุ้มพาดบ่าด้วยความระมัดระวังหรือให้นั่งบนตักแล้วลูบหลังเบา ๆ อาจจะนวดท้องเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกา หากทารกดูดนมจากขวดนม ควรปรับท่าทางให้ทารกดูดนมได้สะดวกโดยไม่ดูดลมเข้าไป
- มีผู้แนะนำให้เปิดเครื่องดูดฝุ่น หรือไดร์เป่าผมให้ทารกได้ยิน เนื่องจากเป็นการเลียนแบบเสียงที่ทารกได้ยินขณะอยู่ในครรภ์ มีส่วนช่วยให้ผ่อนคลาย
ดังนั้น หากลูกส่งเสียงร้องไห้ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกร้องไห้นานเกินไป ค้นหาสาเหตุการร้องไห้ของลูก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าลูกหิว หรือเจ็บปวด หรือต้องการให้พ่อแม่ตอบสนองความต้องการ การเข้าไปปลอบเพื่อทำให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้นั้น จะทำให้พวกเขาได้รับรู้ถึงความอบอุ่นและปลอดภัย สัมผัสจากพ่อแม่ที่ทำให้ลูกหยุดร้องนั้น จะช่วยให้ฮอร์โมนความเครียดที่เกิดขึ้นให้ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ลูกมีภาวะความมั่นคงทางอารมณ์ การเรียนรู้ และการจดจำต่อไปได้ดี
_________________________________________________________________________________________
Credit content : www.kapook.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิธีโอ๋เจ้าตัวน้อยเมื่อร้องไห้
7 สัญญาณที่ทำให้ทารกร้องไห้
เด็กร้องไห้บนเครื่องบิน รบกวนผู้โดยสารคนอื่นจนโดนด่า ถ้าเป็นคุณจะทำยังไง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!