X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หยุด 5 พฤติกรรมพ่อแม่ ที่แย่ต่อสุขภาพลูก

บทความ 3 นาที
หยุด 5 พฤติกรรมพ่อแม่ ที่แย่ต่อสุขภาพลูก

พ่อแม่ทุกคนย่อมต้องการมอบแต่สิ่งที่ดีให้กับลูกสุดที่รัก แต่อาจมีบางพฤติกรรมของพ่อแม่ที่กำลังทำลายสุขภาพของลูกโดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำลายสุขภาพเหล่านี้ ก็สามารถลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทุกคนในครอบครัวได้

  1. อาหารเป็นพิษในตู้เย็น

หากคุณและลูกเคยมีอาการท้องเสียก่อนหน้านี้ คุณอาจคิดว่าเป็นเพราะอาหารที่คุณซื้อมาจากร้าน แต่คุณมั่นใจแล้วหรือว่า อาหารในตู้เย็นของคุณปลอดภัยต่อสุขภาพ

  • อย่าแช่กระป๋องหรือโลหะในตู้เย็น

หากคุณเปิดอาหารกระป๋อง หรือนมข้นหวาน แล้วทานไม่หมด ควรถ่ายใส่ภาชนะอื่น ไม่ควรแช่กระป๋องในตู้เย็น เนื่องจากโลหะสามารถปนเปื้อนลงสู่อาหารได้

  • อย่าปล่อยให้ตู้เย็นสกปรก

ควรทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์ หรือทุกสองสัปดาห์ และเช็ดคราบหกทันทีที่เห็น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอม ระหว่างอาหารที่ปรุงสุกแล้ว กับอาหารสด

  • กำจัดอาหารหมดอายุ

ตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารก่อนบริโภคเสมอ โดยเฉพาะเมื่อคุณจำได้ว่าอาหารนั้นอยู่ในตู้เย็นเป็นเวลานานแล้ว และหากสงสัยว่ามันจะหมดอายุหรือยัง ควรเลือกที่จะทิ้งมันไปดีกว่า

อันตรายอย่างไร : อาหารเป็นพิษ

  1. บุหรี่มือสองมือสาม

ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเมื่ออาจหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสควันรถ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือมลพิษทางอากาศอื่นๆ แต่หากคุณหรือมีคนในครอบครัวสูบบุหรี่แล้วล่ะก็ ย่อมส่งผลร้ายต่อลูกน้อยของคุณ

ในควันบุหรี่มีสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด โดยที่ 400 ชนิดนั้นเป็นสารพิษ และมีหลักฐานว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพของที่สัมผัสสูดดมควันบุหรี่ โดยเฉพาะในเด็กและทารก

แม้ว่าคุณพยายามที่จะเลี่ยงไม่ให้ลูกๆ สูดดมควันจากบุหรี่ที่คุณสูบ แต่ว่าบุหรี่มือสามก็อันตรายไม่แพ้กัน โดยลูกๆ ก็ยังสามารถรับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมหลังจากที่บุหรี่ของคุณดับไปแล้วได้เช่นกัน

Advertisement

อนุภาคที่เป็นอันตรายเหล่านี้จะติดอยู่ตามเส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า และในบ้านของคุณ บนพรม  ผ้าม่าน  พื้น และหน้าต่าง ซึ่งลูกของคุณอาจสัมผัสได้

อันตรายอย่างไร : ทำให้เป็นหวัด ระคายเคืองตาและจมูก ลดการเจริญเติบโตและการทำหน้าที่ของปอด ไอ หายใจมีเสียงวี้ด โรคหอบหือ ติดเชื้อที่หูและอก ปอดบวม หลอดลมอักเสบ และภาวะขาดอาการหายใจในทารก (SIDS).

บทความแนะนำ “ควันบุหรี่” หนึ่งสาเหตุของการเป็นปอดบวม

 

ยังมี พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ลูกเพิ่มเติม คลิกหน้าถัดไป

  1. ผ้าเปียกในที่ร่ม

สำหรับครอบครัวที่อาศัยในอาคาร อพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดมิเนียม อาจมีปัญหาพื้นที่ในการตากผ้า ทำให้ต้องเอามาแขวนไว้ในห้องนั่งเล่น หรือแม้แต่ห้องนอน

แต่จากการศึกษาพบว่า การนำผ้าเปียกมาตากไว้ในห้องที่มีการระบายอากาศไม่ดีหรือหน้าต่างปิดสามารถทำให้เกิดความชื้นมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นการเพาะพันธุ์เชื้อราและไรฝุ่น

อันตรายอย่างไร : โรคหอบหืด ไข้ละอองฟาง และโรคภูมิแพ้อื่นๆ

4. ปล่อยให้ลูกสัมผัสรังสียูวี

สำนักควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (CDC) ระบุว่า แค่ผิวมีรอยไหม้แดดรุนแรงไม่กี่แห่งก็เพียงพอที่จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังในเด็กแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่พ่อแม่ควรป้องกันลูกจากอันตรายของรังสียูวีทุกครั้งที่ออกกลางแจ้ง

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเที่ยงวัน

การหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งตอนเที่ยง เพราะเป็นช่วงที่รังสียูวีรุนแรงและเป็นอันตรายมากที่สุด

  • มองหาร่มเงา

หากจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามมองหาร่มเงาใต้ต้นไม้ หรือพยายามอยู่ในเต็นท์

  • แต่งกายให้มิดชิด

ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรเลือกเสื้อผ้าสีเข้ม จะช่วยป้องกันยูวีได้ดีกว่าเสื้อผ้าสีอ่อน รวมถึงการใส่หมวก ควรเลือกที่สามารถป้องกันแดดได้ทั้งศีรษะ ใบหน้า หู และคอ

  • ใส่แว่นกันแดด

การใส่แว่นกันแดดไม่ใช่แค่แฟชั่น แต่แว่นกันแดดดีๆ สามารถปกป้องดวงตาของลูกน้อยจากอันตรายของรังสียูวีได้จริงๆ

  • ทาครีมกันแดด

เมื่อไรก็ตามที่ลูกขอออกไปเล่นข้างนอก ควรให้ลูกทาครียมกันแดดที่มี SPF15 เป็นอย่างน้อย และสามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB  โดยทาก่อนออกแดด 30 นาที

บทความแนะนำ 7 ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ครีมกันแดด

อันตรายอย่างไร : โรคมะเร็งผิวหนัง ต้อกระจก

 

ยังมี พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ลูกเพิ่มเติม คลิกหน้าถัดไป

  1. ปล่อยให้ลูกเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

นอกจากความปลอดภัยทางร่างกายของลูกแล้ว เราควรดูแลรักษาสุขภาพทางใจของลูกด้วย รวมถึงการระมัดระวังการรับสื่อออนไลน์ หรือทีวี

มีผลการศึกษาพบว่า สื่อที่ไม่เหมาะสมกับอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกลัวและความไม่ปลอดภัยให้แก่เด็กโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

หากคุณเป็นกังวลเกี่ยวกับการรับสื่อของลูก คุณสามารถ

  • คัดกรองรายการทีวี หรือหนังที่เหมาะสม ก่อนให้ลูกดูเสมอ
  • อนุญาตให้ลูกดูทีวีหรือใช้อินเทอร์เน็ตในห้องที่คุณสามารถจับตาดูได้เท่านั้น
  • เปิดโหมดป้องกันเด็กบนมือถือของคุณ
  • สอนลูกให้รู้จักใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
  • ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ของไวไฟที่บ้าน

อันตรายอย่างไร : เพิ่มพฤติกรรมก้าวร้าว ความรุนแรง ดื้อ ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ตอนนี้คุณก็ได้รู้แล้วว่า พฤติกรรมทำลายสุขภาพ ของคุณนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยอย่างไร ยังไม่สายที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกและทุกคนในครอบครัวค่ะ

ที่มา ph.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

6 เรื่องที่พ่อแม่คิดว่าถูก อาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว

ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • หยุด 5 พฤติกรรมพ่อแม่ ที่แย่ต่อสุขภาพลูก
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว