X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

6 เรื่องที่พ่อแม่คิดว่าถูก อาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว

7 Aug, 2015

พ่อแม่ยุคนี้มักจะมีวิธีการเลี้ยงลูกสมัยแบบสมัยใหม่มากขึ้น ยิ่งบ้านไหนเป็นครอบครัวเดี่ยวไม่มีคุณปู่คุณย่าหรือคุณตาคุณยายมาช่วยเลี้ยงหลาน ก็ทำให้พ่อแม่อย่างเราง่ายต่อการเลี้ยงลูก จนบางเรื่องที่คิดว่าทำกับลูกถูกทางแล้วแล้ว เช่น การปล่อยให้ลูกร้องไห้ไม่ต้องตามไปโอ๋ลูก หรือการไม่คิดจะลงโทษลูกเลย เรื่องเล็กๆ บางเรื่องเหล่านี้อาจจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น โดยที่เราไม่รู้ตัวจริงๆ

6 เรื่องที่พ่อแม่คิดว่าถูก อาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว

6 เรื่องที่พ่อแม่คิดว่าถูก อาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว

พ่อแม่ยุคนี้มักจะมีวิธีการเลี้ยงลูกสมัยแบบสมัยใหม่มากขึ้น ยิ่งบ้านไหนเป็นครอบครัวเดี่ยวไม่มีคุณปู่คุณย่าหรือคุณตาคุณยายมาช่วยเลี้ยงหลาน ก็ทำให้พ่อแม่อย่างเราง่ายต่อการเลี้ยงลูก จนบางเรื่องที่คิดว่าทำถูกแล้ว เช่น การปล่อยให้ลูกร้องไห้ไม่ต้องตามไปโอ๋ลูก หรือการไม่คิดจะลงโทษลูกเลย เรื่องเล็กๆ บางเรื่องเหล่านี้อาจจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้น โดยที่เราไม่รู้ตัวจริงๆ
ปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้เพราะไม่อยากตามใจ

ปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้เพราะไม่อยากตามใจ

การที่คุณปล่อยลูกให้ร้องไห้ ไม่สนใจ เพียงเพื่อคิดว่าจะเป็นการตามใจลูกจนเกินไปนั้นมันแย่มากนะ แม้ว่าลูกจะร้องไห้จนเหนื่อยแล้วหลับไปเองได้ในที่สุดก็เถอะ แต่พ่อแม่คนไหนจะยอมปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ได้ เพราะเด็กน้อยตัวเล็กๆ ยังไม่รู้จักเหตุผล การที่ลูกร้องไห้ไม่ได้หมายความแค่หิวอย่างเดียว แต่เป็นเพราะลูกต้องการความรักความอบอุ่นจึงอยากให้พ่อแม่เข้ามากอดด้วย เมื่อลูกน้อยร้องไห้การรีบเข้าไปโอบกอดของพ่อแม่ จะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและคลายความวิตกกังวลลงได้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดต่างหากที่ลูกน้อยควรจะได้รับจากพ่อแม่
ให้ลูกนอนร่วมเตียงด้วยเพื่อความปลอดภัย

ให้ลูกนอนร่วมเตียงด้วยเพื่อความปลอดภัย

พ่อแม่มักคิดว่าการให้ลูกมานอนอยู่บนเตียงเดียวกันจะสามารถดูแลความปลอดภัยของลูกได้ แต่ปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่อาจมองข้ามไปคือ เรื่องสุขภาพและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยเมื่อนอนร่วมเตียงเดียวกันกับพ่อแม่ได้โดยไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะทารกในช่วงขวบปีแรก ที่พ่อแม่มักให้ลูกนอนร่วมเตียงด้วย เพราะว่าง่ายต่อการให้นมลูก อีกทั้งยังสามารถมองเห็นลูกใกล้ๆ ในช่วงเวลาที่นอนหลับพักผ่อนด้วย แต่พ่อแม่จะรู้ไหมว่า การที่ให้ลูกนอนร่วมเตียงเดียวกันที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ แล้วเตียงนอนของผู้ใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับความปลอดภัยของเด็กทารก และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารกจากบนเตียงนุ่มๆ ที่นอนกันอยู่ เช่น การตกเตียงจากช่องว่าง การมีชุดเครื่องนอนบนเตียงที่เยอะเกินไป ซึ่งหากเด็กพลิกตัวก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการปิดจมูกทำให้เด็กหายในใจไม่ออก หรือการนอนคว่ำหน้า ซึ่งอาจทำให้ทารกมีโอกาสเสียชีวิตจากอาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (เมืองไทยเรียกว่าโรคไหลตายในทารก) หรือ SIDS ได้ เหล่านี้คือสัญญานอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกนอนหลับได้
ปล่อยให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ปล่อยให้ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเอง

การปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้และสำรวจโลกด้วยตัวเองอย่างอิสระเป็นข้อดีสำหรับพัฒนาการรอบด้านต่างๆ ของเด็กในช่วงวัยเตาะแตะ แต่พ่อแม่อย่าลืมเสริมทักษะจำเป็นบางเรื่องที่เด็กอาจจำเป็นต้องเรียนรู้จากพ่อแม่ด้วย เช่น การให้ลูกระบายสีเล่น ให้มีพื้นที่อย่างอิสระ เพื่อเด็กจะได้เกิดจินตนาการ มีทักษะ มีพัฒนาการทางร่างกาย ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง เรื่องแบบนี้ดูจะเป็นเรื่องสนุกมากกว่าการเขียนหนังสือ แต่แท้จริงแล้วคนที่จะเป็นศิลปินได้ก็ต้องเริ่มจากการสะกดและเขียนชื่อตัวเองได้เช่นกัน ดังนั้นพ่อแม่ควรจะแบ่งเวลาสอนลูกเรื่องอื่นควบคู่ไปด้วย อย่าปล่อยให้ลูกระบายสีเพลินจนลืมที่จะเขียนชื่อตัวเองเป็น
อย่าไปลงโทษลูกเลย

อย่าไปลงโทษลูกเลย

จริงอยู่ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากจะกลายร่างเป็นยักษ์ มาลงโทษลูกซึ่งอยู่ในวัยกำลังซน กำลังเรียนรู้ และสนุกกับประสบการณ์ที่เขาจะได้รับอนาคต แต่เด็กๆ จะต้องเข้าใจถึงผลที่ตามมาว่าหากทำผิดก็จะต้องโดนทำโทษ หากลูกใช้ลูกอ้อนเจรจาต่อรองและพ่อแม่ใจอ่อนยอมไม่ทำโทษ บ่อยเข้า คุณอาจจะพบว่าพฤติกรรมของลูกอาจก้าวร้าวขึ้น ดังนั้นหากลูกทำผิด พ่อแม่ควรจำเป็นต้องสร้างเงื่อนไขและบทลงโทษเพื่อให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควรทำ ดีกว่าการปล่อยลูกและไม่ลงโทษลูกเลย
จะจ่ายเงินให้พี่เลี้ยงทำไมในเมื่อที่บ้านมีทีวี

จะจ่ายเงินให้พี่เลี้ยงทำไมในเมื่อที่บ้านมีทีวี

จะจ่ายเงินให้พี่เลี้ยงทำไมในเมื่อที่บ้านมีทีวี? หากพ่อแม่บ้านไหนยอมรับทีวีเป็นตัวเลือกที่หลากหลายให้กับชีวิต แม้กระทั่งการยอมให้ทีวีเลี้ยงลูกแล้วละก็..เป็นเรื่องน่าเศร้ามากหากพ่อแม่คิดจะทำเช่นนั้น
การดูทีวีเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆ หลงใหลมาก อีกทั้งบิลค่าเคเบิ้ลทีวียังถูกกว่าการจ้างพี่เลี้ยงเด็กซักคนให้มาดูลูกหลังเลิกเรียนเสียอีก แต่ไม่ว่าคุณจะอยากจะประหยัดงบมากมายขนาดไหน ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกดูทีวีนาน หรือเสพติดทีวีมากเกินไป หลังเลิกเรียนพ่อแม่สามารถหากิจกรรมให้ลูกเล่นแทนการดูทีวี หรือลองถามความสนใจว่าลูกอยากทำอะไร เช่น เรียนศิลปะ ดนตรี หลังเลิกเรียนก็ได้
หน้าที่ของพ่อแม่คือการทำให้ลูกเรียนหนังสือให้ได้เกรดดีที่สุด

หน้าที่ของพ่อแม่คือการทำให้ลูกเรียนหนังสือให้ได้เกรดดีที่สุด

แท้จริงแล้วหน้าที่ของพ่อแม่คือการสนับสนุนและส่งเสริมลูกให้โตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นคนดีที่สุดเท่านี้ก็พอแล้ว แต่ถ้าพบว่าลูกไม่ได้เป็นคนที่เรียนหนังสือเก่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เกรด จะเป็นตัวบอกถึงความสำเร็จได้ทุกสิ่ง เพราะเด็กไม่ได้เก่งไปหมดทุกคน เด็กแต่ละคนย่อมมีความถนัดที่แตกต่างกัน และถึงแม้ว่าเกรดเฉลี่ยจะมีความสำคัญ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดของชีวิต
เพราะวัยเด็กผ่านไปเร็วนัก ปล่อยให้ลูกของคุณใช้เวลานั้นและสนุกกับช่วงเวลาเด็กของเขาอย่างเต็มที่ เชื่อเถอะว่าเขาสามารถที่จะเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเองได้
ถัดไป
img

บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 6 เรื่องที่พ่อแม่คิดว่าถูก อาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว