X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกติดมือถือแก้ยังไง วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ก่อนจะสายเกินไป

บทความ 5 นาที
ลูกติดมือถือแก้ยังไง วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ก่อนจะสายเกินไป

ผู้ปกครองระวังลูกติดมือถือหากให้ลูกเล่นนานมากเกินไป ลูกติดมือถือแก้ยังไง เรามีวิธีแก้ไขมาแนะนำให้ ก่อนที่ลูกจะติดไปมากกว่านี้ ซึ่งส่งผลเสียต่อพัฒนาการได้

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกติดมือถือ

หากตอนนี้ผู้ปกครองให้ลูกเล่นมือถือ แล้วอยากรู้ว่าลูกน้อยติดมือถือหรือเปล่า เรามีข้อสังเกตง่าย ๆ ที่ผู้ปกครองควรสังเกตดู ดังต่อไปนี้

 

  • ลูกไม่สนใจทำกิจกรรมอื่น ๆ เลย แม้แต่กิจกรรมที่ชอบ จะอยากเล่นแต่มือถืออย่างเดียว
  • เมื่อจำกัดเวลาเล่นมือถือ ลูกจะงอแง โวยวาย ต้องการเล่นอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
  • หน้าที่งานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ลูกเคยช่วยทำ ตอนนี้ลูกจะไม่สนใจที่จะทำเลย
  • แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมามากขึ้น หรือมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากการเลียนแบบสื่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก 1 ขวบเด็กเกินไปไหมที่จะเล่นไอแพด อายุเท่าไหร่ถึงจะเล่นได้ ?

 

ลูกติดมือถือส่งผลกระทบอย่างไร

เมื่อลูกใช้เวลากับมือถือจนมากเกินไป สามารถก่อให้เกิดผลเสียได้โดยตรง แม้ว่ามือถือจะทำให้ลูกอยู่นิ่งดูเลี้ยงง่าย แต่ผลที่ตามมาในภายหลัง อาจได้ไม่คุ้มเสีย ดังนี้

 

  • ส่งผลต่อพัฒนาการ : การที่ลูกเล่นโทรศัพท์มากเกินไปจะส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการหลายด้าน โดยเฉพาะสมอง และสายตา ขาดโอกาสในการออกไปทำอย่างอื่น หรือได้ทำกิจกรรมที่จำเป็นอื่น ๆ น้อยลง เช่น ทักษะด้านการพูด และการอ่าน หากลูกเน้นใช้การฟังมือถือเพียงอย่างเดียว ไปจนถึงร่างกายที่อาจอ่อนแอกว่า เพราะไม่ได้ออกไปวิ่งเล่น เป็นต้น
  • เสี่ยงต่อการเลียนแบบ : การใช้สื่อต่าง ๆ ของเด็กเล็กมีความเสี่ยงสูง หากผู้ปกครองไม่จำกัดสื่อให้ดี ลูกอาจไปเห็นพฤติกรรมของบุคคลต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งดี และไม่ดี เด็ก ๆ มักจะทำตามสิ่งที่ตนเองเห็นบ่อย ๆ จนกลายเป็นปัญหาพฤติกรรม เช่น พูดจาไม่สุภาพ การแสดงท่าทาง และสีหน้าที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
  • สมาธิสั้น : การให้ลูกอยู่กับมือถือนาน เป็นการฝึกลูกให้คุ้นชินกับการสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว อยากดูก็แค่คลิก อยากเปลี่ยนเนื้อหาก็แค่กด หาอะไรก็เจอได้ง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นการฝึกความใจร้อน และทำให้มีสมาธิสั้น เมื่อต้องรออะไรสักอย่างหนึ่ง ก็อาจทำให้ลูกงอแง กลายเป็นเด็กที่รอไม่เป็นขึ้นมาได้
  • เข้าสังคมได้ยากขึ้น : การอยู่กับมือถือ จะทำให้ลูกน้อยขาดโอกาสในการออกไปเล่นข้างนอก ไม่ได้เจอกับเด็กรุ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีหลักในการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น เป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาการเข้าสังคมในระยะยาว ทำให้ปรับตัวได้ยาก เมื่อต้องเจอเพื่อนใหม่ในชีวิตจริง

 

นอกจากนี้ยังเคยมีการเข้าใจว่า ให้เด็กเล่นมือถือ เล่นเกมแล้วจะก้าวร้าว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับประเภทเกมที่เล่นว่ารุนแรงไหม และถ้ารุนแรงเหมาะสมกับช่วงวัยของลูกหรือยัง หากลูกอายุยังไม่ถึงที่เกมกำหนด แต่ลูกได้เข้าไปเล่น จนเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ปัญหานี้อาจเกิดจากผู้ปกครอง ที่ไม่ควบคุมเนื้อหาเกม และไม่ให้คำแนะนำที่เหมาะสมเช่นกัน

 

ลูกติดมือถือแก้ยังไง

 

ให้ลูกเล่นมือถือมีข้อดีอะไรบ้าง

ไม่ใช่แค่ข้อเสียเท่านั้น แต่หากผู้ปกครองให้ลูกน้อยเล่นมือถืออย่างพอดีแล้ว ก็สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีได้เช่นกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ปี ควรเล่นมือถือไม่เกิน 1 ชั่วโมง/วัน และถ้าหากอายุยังไม่ถึง 3 ปี ไม่ควรได้เล่นมือถือเลย หากผู้ปกครองควบคุมสื่อแล้วเลือกเนื้อหาที่เหมาะกับเด็ก จะส่งผลดี ดังนี้

 

  • เปิดโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ : การเรียนรู้บางอย่าง อาจไม่สามารถเดินทางไปเรียนรู้ได้โดยตรง ในสื่อออนไลน์มีชุดข้อมูลจำนวนมากที่ฟังได้จากสื่อออนไลน์ เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ป่า สัตว์ทะเล สภาพแวดล้อม หรือเรื่องราวประวัติศาสตร์ แล้วแต่ความต้องการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนด้วย
  • ใช้เสริมพัฒนาการได้ : นอกจากการนั่งฟังสาระความรู้แล้ว การใช้มือถือสามารถส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้หลายด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย ด้วยการเปิดเพลงเด็กที่มีท่าเต้น แล้วชวนลูกเต้นตาม หรือจะเสริมด้านภาษา ด้วยการเปิดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ให้ลูกท่องตาม เป็นต้น
  • ใช้คลายเครียดได้ : หากลูกรู้จักจะใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จนติดเป็นนิสัยว่าต้องเล่นอย่างพอดี ในอนาคตเมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน เมื่อมีความเครียด หรือมีความต้องการที่จะผ่อนคลายบ้าง ก็สามารถใช้มือถือช่วยในการดูสื่อที่เหมาะสมสนุกสนานได้เช่นกัน

 

ลูกติดมือถือแก้ยังไง

หากลูกติดมือถือ ผู้ปกครองอย่านิ่งนอนใจ ให้รีบแก้ไขในช่วงที่ลูกยังเล็กแบบนี้นี่แหละ ก่อนที่ลูกจะอายุมากขึ้น และแก้ไขได้ยากกว่าเดิม โดยมีวิธีเบื้องต้น ดังนี้

 

  • เริ่มจากการจำกัดสื่อที่อยากให้ลูกดูก่อน ควรตั้งค่ามือถือให้มีรหัสในแต่ละ Application รวมถึงตั้งค่าจำกัดเวลาในการเล่นมือถือ เมื่อครบเวลามือถือจะล็อกเองโดยอัตโนมัติ
  • ตกลงช่วงเวลาที่จะเล่น สร้างเงื่อนไขให้ชัดเจน ควรให้ลูกเล่นในช่วงเวลาบ่างจริง ๆ วันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง ควรเล่นหลังจากทำการบ้านเสร็จแล้ว
  • พยายามหากิจกรรมอื่น ๆ มาให้ลูกทำบ้าง เน้นที่ไม่น่าเบื่อ ต้องสนุก และได้เรียนรู้ไปในตัว เช่น เล่นบทบาทสมมติ หรือเล่นบอร์ดเกม เป็นต้น
  • หากลูกต้องการที่จะเล่นเกม ควรเลือกเกมที่มีความเหมาะสมกับลูก คือ เน้นเกมที่ไม่รุนแรง และสามารถส่งเสริมทักษะได้ไปในตัวด้วย
  • ควรเก็บมือถือเอาไว้กับผู้ปกครองมากกว่าวางเอาไว้ในจุดที่ลูกหยิบไปเล่นได้
  • ผู้ปกครองต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นว่าไม่ควรเล่นมือถือมากเกินไป ควรหากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมด้วย

 

ลูกติดมือถือแก้ยังไง 2

 

อย่าลืมเสริมพัฒนาการลูกน้อยให้สมวัย

เมื่อลูกถึงช่วงวัยที่เหมาะต่อการเล่นโทรศัพท์มือถือแล้ว นอกจากการควบคุมเวลาในการเล่น และการควบคุมสื่อแล้ว การคอยส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้กับลูกรักก็เป็นวิธีที่ไม่ควรมองข้าม หากกินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการทางสมอง และสายตา คุณแม่ก็สามารถเบาใจได้ว่า ลูกจะสามารถใช้สื่อผ่านจอมือถือ โดยที่พัฒนาการยังคงไม่ล่าช้า หรือถดถอยลงไป

 

สารอาหารที่คุณแม่จะต้องให้ความสำคัญมีอยู่หลายชนิด แต่สารอาหารที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง และส่งผลต่อสายตา คือ MFGM ที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น แกงกลิโอไซต์ ฟอสโฟไลปิด สปิงโกไมอิลีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกน้อยจึงเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น และช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อยให้เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ซึ่ง MFGM จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับควบคู่กับ DHA ที่ถูกนำไปเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา ในปริมาณที่เพียงพอ 

 

นอกจากนี้ยังมีสารอาหารชนิดอื่น ๆ ที่มีบทบาทต่อสมอง เช่น วิตามิน B, วิตามิน C และวิตามิน E ส่วนสารอาหารที่มีผลดีต่อระบบสายตายังมีเบตาแคโรทีน, โอเมก้า-3, วิตามิน A และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น ซึ่งหาได้ในมื้ออาหาร หากเน้นการทานให้ครบ 5 หมู่ จะช่วยให้ลูกไม่ขาดสารอาหารเหล่านี้แน่นอน หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเสริมโภชนาการ MFGM สามารถไป ที่นี่   

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีทําให้ลูกฉลาด 30 วิธีง่ายๆ ช่วยลูกสมองดี หัวไวตั้งแต่ยังแบเบาะ

8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

10 อาหารบำรุงสมองใน 1,000 วันแรก ให้ลูกกินอะไร แล้วลูกฉลาด พัฒนาการสมองไว

พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

ที่มา : sikarin,thestandard , bangkokinternationalhospital

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ลูกติดมือถือแก้ยังไง วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ก่อนจะสายเกินไป
แชร์ :
  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว