การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชายของลูกน้อยสำคัญแค่ไหน เพราะสมัยก่อน พ่อแม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก แต่ปัจจุบัน การขลิบหนังหุ้มปลาย ของลูกชายเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะของลูกน้อย และว่ากันว่า สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในอนาคตอีกด้วย เรื่องนี้จริงหรือไม่ ต้องไปหาคำตอบกัน
การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชาย คืออะไร?
ในอดีตเราเข้าใจกันว่า การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชาย (Circumcision) คือความเชื่อทางศาสนา แต่ในปัจจุบัน การขลิบสามารถทำได้ในเด็กทารกแรกเกิดอายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ เนื่องจาก
- ดูแลรักษาง่ายกว่า ทำความสะอาดสะดวกกว่าเนื่องจากลูกยังเล็ก
- ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ได้
- ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะเพศชาย
- ขลิบตอนทารกนั้นสะดวกและปลอดภัยกว่าไปเริ่มทำตอนโต
ทำไมจึงต้องแก้ปัญหาหนังหุ้มปลาย
ในเด็กแรกเกิดส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่อง หนังหุ้มปลายอวัยวะไม่เปิด ซึ่งจะเกิดปัญหาเรื่องสุขอนามัยรวมไปถึงการเสี่ยงต่อโรคต่างๆ มากขึ้นตามอายุ โดยทั่วไป ปลายอวัยวะเพศชายจะมีหนังหุ้ม และค่อยๆ แยกเปิดออกเมื่อเด็กเริ่มเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เช่น เมื่อเด็กอายุ 5 ขวบก็จะเห็นรูอย่างชัดเจน แต่สำหรับเด็กชายที่มีปัญหาเรื่องนี้ หนังหุ้มปลายจะปิดแน่น ไม่สามารถรูดเปิดได้ พออายุสัก 10 ปีขึ้นไป ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้ลูกของตนนั้นขลิบออก ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะตามมา
“การขลิบ” จึงช่วยลดโรคทางเดินปัสสาวะ
นอกจากความเชื่อทางศาสนาแล้ว ยังมีเรื่องสุขอนามัยเข้ามาเกี่ยวข้อง สังเกตดูว่า อวัยวะเพศเด็กชายนั้น จะมีปัญหาบริเวณหนังหุ้มปลายที่เปิดไม่เต็มที่ ซึ่งต้องอาศัยการขลิบหนังหุ้มปลายเปิดออกเพื่อความสะดวก เช่น
- เพื่อสุขอนามัย ทำให้เด็กทารกปัสสาวะง่ายขึ้น
- ลดความเสี่ยงต่อการหมักหมมของคราบปัสสาวะ
- คราบปัสสาวะจะหมักหมมเป็นก้อนคั่งค้างที่เรียกว่า “ขี้เปียก”
- คราบ และก้อนที่ถูกสะสมจะก่อเชื้อโรคและเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
- เกิดการติดเชื้อภายในส่วนของหุ้มปลายอวัยวะเพศได้ง่าย เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
ข้อเสียของการขลิบหนังหุ้มปลาย
นอกจากข้อดีด้านสุขอนามัยจากการขลิบหนังหุ้มปลายแล้ว ยังมีข้อเสียที่ควรระวังดังนี้
- การขลิบหนังหุ้มปลายของลูกน้อย อาจทำให้เขาเสียเลือดมากระหว่างขลิบได้
- หลังจากขลิบแล้ว เมื่อเกิดแผลอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- หากตัดตอนแรกเกิด อาจไม่สามารถบาดแผลแล้วทำให้แผลไม่สวยจนเกิดเป็นปมด้อยได้
- ปลายอาจดึงรั้งมากเกินไป หากอวัยวะเพศแข็งตัว จะทำให้ทารกเจ็บปวดและบวมแดงได้
การขลิบหนังหุ้มปลาย มีขั้นตอนอย่างไร
คุณพ่อคุณแม่สามารถตัดสินใจขลิบให้ลูกได้ตั้งแต่เขาเป็นทารกแรกเกิด โดยมีขั้นตอนดังนี้
- แพทย์จะขลิบให้เด็กทารกอายุตั้งแต่ 1-10 วัน โดยคุณหมอจะให้ลูกน้อยได้รับนมจากมารดาก่อนกระทำการและอธิบายถึงข้อดีข้อเสีย ข้อควรระวังต่างๆ
- แพทย์จะรัดแขน ขาทารกไว้เพื่อความสะดวกและทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกชาย
- ทำการฉีดยาชาหรือทายาชา จากนั้น จะทำการหนีบและยืดหนังหุ้มปลายของทารก และขลิบปลายออก
- สุดท้ายแพทย์จะทา ปิโตรเลี่ยม เจลลี่ และพันแผลอย่างระมัดระวัง โดยเวลาทั้งหมดจะใช้ไม่เกิน 10 นาที
หลังจากขลิบหนังหุ้มปลาย ดูแลอย่างไร
- ทารกจะใช้เวลาดูแลแผล 7-10 วันให้การฟื้นฟูแผลด้วยตนเอง
- คุณแม่สามารถทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าอ้อมตามปกติ
- ทาปิโตรเลี่ยมเจลลี่ เพื่อไม่ให้แผลติดผ้าอ้อม
- เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ และใส่ผ้าอ้อมแบบหลวมๆ
- เมื่อแผลหายแล้ว ดูแลความสะอาดด้วยสบู่เด็กตามปกติ
บุคคลใดบ้างที่ควรขลิบหนังหุ้มปลาย
ไม่ใช่ว่าผู้ชายทุกคนที่ควรขลิบหนังหุ้มปลาย ซึ่งอย่างที่กล่าวไป การขลิบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างข้อเสียหากเลือดไหลไม่หยุดก็อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ แต่ในขณะที่ผู้ชายบางคน เด็กผู้ชายบางกลุ่ม อาจจะต้องขลิบเนื่องจาก
เด็กผู้ชายวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่
- เกิดภาวะปัสสาวะลำบาก บริเวณหนังหุ้มปลายโป่งพอง ขณะปัสสาวะและเกิดความเจ็บปวด
- หากผู้ชายคนนั้นเกิดภาวะปัสสาวะอักเสบ
- หากคนนั้นมีอาการอักเสบเรื้อรัง บริเวณอวัยวะเพศ
- เข้าสู่วัยรุ่นแล้ว หนังหุ้มปลายยังปิด ยากต่อการทำความสะอาด
- เกิดอาการปวดและบวมเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัว
เด็กผู้ชายวัยแรกเข้าอนุบาลไปจนถึงวัยรุ่น
- หากเด็กน้อยมีปัญหาเรื่องท่อปัสสาวะที่เปิดน้อยกว่าปกติ หมายถึง ท่อปัสสาวะปิดหรือเปิดผิวบริเวณอย่างที่ควรจะเป็น เช่น ไม่เปิดตรงปลายที่อวัยวะเพศ
- อาจเป็นเด็กที่ยังไม่ปรากฏเพศอย่างชัดเจน ว่า หญิงหรือชาย ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพ่อแม่
- เด็กมีอวัยวะเพศหลบใน หมายถึง หัวไม่โผล่ออกมาจากปลาย จนต้องขลิบหนังออก
- ปัญหาเรื่องอวัยวะเพศคดงอ ไม่ยื่นตรงตามธรรมชาติ
ที่สำคัญ การขลิบ ไม่ควรกระทำการกับคนที่ปัญหาเรื่องการไหลเวียนเลือด เช่น เลือดไม่แข็งตัว และไม่เหมาะกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ก่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง: วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)
บุคคลใดบ้างที่ไม่ควรขลิบ
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศนั้น โดยทั่วไปแล้วมีความปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ในบางกรณี การขลิบอาจไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในเด็กกลุ่ม ดังต่อไปนี้
1. ทารกที่มีท่อปัสสาวะเปิดผิดที่
ทารกเหล่านี้อาจมีปัญหาในการปัสสาวะ การขลิบหนังหุ้มปลายอาจทำให้การรักษาสภาพนี้ยุ่งยากขึ้น
2. ทารกที่มีภาวะกำกวมเพศ
ทารกเหล่านี้ยังไม่มีเพศที่ชัดเจน การขลิบหนังหุ้มปลายควรพิจารณาหลังจากทารกมีเพศที่ชัดเจนแล้ว
3. ทารกที่มีอวัยวะเพศชายไม่โผล่ออกมา
ทารกที่มีภาวะ ท่อปัสสาวะเปิดออกที่โคนอวัยวะเพศ การขลิบหนังหุ้มปลายอาจทำให้การผ่าตัดแก้ไขภาวะนี้ยุ่งยากขึ้นได้ค่ะ
4. ทารกที่มีอวัยวะเพศคดงอ
การขลิบหนังหุ้มปลายอาจทำให้การแก้ไขความคดของอวัยวะเพศยุ่งยากขึ้น
ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศให้กับเด็กกลุ่มนี้หรือไม่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย ความเสี่ยง และประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
ดูแลอวัยวะเพศชายของลูกน้อยอย่างไร
เนื่องจากทุกคนไม่สามารถขลิบหนังหุ้มปลายได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอวัยวะเพศอย่างไรให้ถูกวิธีและถูกสุขอนามัย
1. หากไม่เคยขลิบหนังหุ้มปลาย
หากลูกชายอยู่ในกลุ่มที่ไม่สามารถขลิบอวัยวะเพศชายได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกดูแลด้วยตัวเอง เช่น
- คุณแม่ล้างอวัยวะเพศลูกชายให้สะอาดระหว่างอาบน้ำทุกครั้ง
- ค่อยๆ รูดหนังหุ้มปลาย ตึงพอประมาณระหว่างชำระล้าง
- สังเกตและตรวจดูจนแน่ใจว่าไม่มีเศษปัสสาวะตกค้าง
- ระวังสิ่งตกค้างและไม่ควรทาแป้งบริเวณอวัยวะเพศ เพราะจะเกิดการสะสม
2. หากเคยขลิบหนังหุ้มปลาย
หากทำการขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่แรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอวัยวะเพศลูกน้อย ดังนี้
- ทำความสะอาดอย่างเบามือ โดยใช้สำลีชุบน้ำสะอาดมาแตะหัวอวัยวะเพศเบาๆ
- หากไม่มีเลือดแล้ว ใช้ผ้าก๊อซแทนผ้าอ้อมได้ แต่ต้องให้คุณหมอสอนวิธีใช้
- เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ อย่าหมักหมมปัสสาวะหรืออุจจาระ
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของลูกชายนั้น เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องตัดสินใจให้ดี ควรปรึกษาแพทย์ว่า ทำได้หรือไม่ เพราะทารกแต่ละคนนั้น มีสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน แม้จะศึกษาด้วยตนเองถึงข้อดีมาอย่างถี่ถ้วนแล้ว อย่าลืมว่า ระหว่างทำการขลิบ อาจก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงต่ออันตรายตามมา เช่น เสียเลือดมาก ติดเชื้อหลังขลิบ หรือ แผลอาจจะไม่สวยเมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นหนุ่ม ตรงนี้พ่อแม่ต้องรับความเสี่ยง แต่สำหรับคนที่เสี่ยงสุดก็คือ ลูกชายเรานั่นเองค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
พ่อแม่รู้ไหม การขลิบเป็นอันตรายได้ การขลิบมีผลต่อ การติดเชื้อเริมในทารกแรกเกิด
อุทาหรณ์! พ่อแม่ ขลิบจู๋ ให้ลูกวัยเพียง 5 เดือน สุดท้ายลูกหัวใจหยุดเต้นเสียชีวิต!
ทำไมต้องขลิบจุ๊ดจู๋ลูกด้วย ?
ที่มา: Paolo Hospital , Mood of the Motherhood, หมอชาวบ้าน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!