TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การขลิบหนังหุ้มปลาย จำเป็นต่อทารกหรือไม่? ขลิบให้ลูกชายดีไหม?

บทความ 5 นาที
การขลิบหนังหุ้มปลาย จำเป็นต่อทารกหรือไม่? ขลิบให้ลูกชายดีไหม?

พ่อแม่เคยสงสัยไหมว่า ควรขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศลูกชายตั้งแต่เมื่อไหร่ดี จริงๆ แล้วสามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่ต้องขึ้นอยู่กับสุขภาพและการรับความเสี่ยงหลายอย่าง อะไรที่ควรระวังบ้าง?

การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชายของลูกน้อยสำคัญแค่ไหน เพราะสมัยก่อน พ่อแม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก แต่ปัจจุบัน การขลิบหนังหุ้มปลาย ของลูกชายเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะของลูกน้อย และว่ากันว่า สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในอนาคตอีกด้วย เรื่องนี้จริงหรือไม่ ต้องไปหาคำตอบกัน

 

การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชาย คืออะไร?

ในอดีตเราเข้าใจกันว่า การขลิบหนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชาย (Circumcision) คือความเชื่อทางศาสนา แต่ในปัจจุบัน การขลิบสามารถทำได้ในเด็กทารกแรกเกิดอายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ เนื่องจาก

  • ดูแลรักษาง่ายกว่า ทำความสะอาดสะดวกกว่าเนื่องจากลูกยังเล็ก
  • ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ได้
  • ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะเพศชาย
  • ขลิบตอนทารกนั้นสะดวกและปลอดภัยกว่าไปเริ่มทำตอนโต

การขลิบหนังหุ้มปลาย

ทำไมจึงต้องแก้ปัญหาหนังหุ้มปลาย

ในเด็กแรกเกิดส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่อง หนังหุ้มปลายอวัยวะไม่เปิด ซึ่งจะเกิดปัญหาเรื่องสุขอนามัยรวมไปถึงการเสี่ยงต่อโรคต่างๆ มากขึ้นตามอายุ โดยทั่วไป ปลายอวัยวะเพศชายจะมีหนังหุ้ม และค่อยๆ แยกเปิดออกเมื่อเด็กเริ่มเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เช่น เมื่อเด็กอายุ 5 ขวบก็จะเห็นรูอย่างชัดเจน แต่สำหรับเด็กชายที่มีปัญหาเรื่องนี้ หนังหุ้มปลายจะปิดแน่น ไม่สามารถรูดเปิดได้ พออายุสัก 10 ปีขึ้นไป ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้ลูกของตนนั้นขลิบออก ซึ่งจะช่วยลดการเกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะตามมา

 

“การขลิบ” จึงช่วยลดโรคทางเดินปัสสาวะ

นอกจากความเชื่อทางศาสนาแล้ว ยังมีเรื่องสุขอนามัยเข้ามาเกี่ยวข้อง สังเกตดูว่า อวัยวะเพศเด็กชายนั้น จะมีปัญหาบริเวณหนังหุ้มปลายที่เปิดไม่เต็มที่ ซึ่งต้องอาศัยการขลิบหนังหุ้มปลายเปิดออกเพื่อความสะดวก เช่น

  • เพื่อสุขอนามัย ทำให้เด็กทารกปัสสาวะง่ายขึ้น
  • ลดความเสี่ยงต่อการหมักหมมของคราบปัสสาวะ
  • คราบปัสสาวะจะหมักหมมเป็นก้อนคั่งค้างที่เรียกว่า “ขี้เปียก”
  • คราบ และก้อนที่ถูกสะสมจะก่อเชื้อโรคและเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
  • เกิดการติดเชื้อภายในส่วนของหุ้มปลายอวัยวะเพศได้ง่าย เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

 

ข้อเสียของการขลิบหนังหุ้มปลาย

นอกจากข้อดีด้านสุขอนามัยจากการขลิบหนังหุ้มปลายแล้ว ยังมีข้อเสียที่ควรระวังดังนี้

  • การขลิบหนังหุ้มปลายของลูกน้อย อาจทำให้เขาเสียเลือดมากระหว่างขลิบได้
  • หลังจากขลิบแล้ว เมื่อเกิดแผลอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  • หากตัดตอนแรกเกิด อาจไม่สามารถบาดแผลแล้วทำให้แผลไม่สวยจนเกิดเป็นปมด้อยได้
  • ปลายอาจดึงรั้งมากเกินไป หากอวัยวะเพศแข็งตัว จะทำให้ทารกเจ็บปวดและบวมแดงได้

 

การขลิบหนังหุ้มปลาย มีขั้นตอนอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถตัดสินใจขลิบให้ลูกได้ตั้งแต่เขาเป็นทารกแรกเกิด โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • แพทย์จะขลิบให้เด็กทารกอายุตั้งแต่ 1-10 วัน โดยคุณหมอจะให้ลูกน้อยได้รับนมจากมารดาก่อนกระทำการและอธิบายถึงข้อดีข้อเสีย ข้อควรระวังต่างๆ
  • แพทย์จะรัดแขน ขาทารกไว้เพื่อความสะดวกและทำความสะอาดอวัยวะเพศลูกชาย
  • ทำการฉีดยาชาหรือทายาชา จากนั้น จะทำการหนีบและยืดหนังหุ้มปลายของทารก และขลิบปลายออก
  • สุดท้ายแพทย์จะทา ปิโตรเลี่ยม เจลลี่ และพันแผลอย่างระมัดระวัง โดยเวลาทั้งหมดจะใช้ไม่เกิน 10 นาที

การขลิบหนังหุ้มปลาย

หลังจากขลิบหนังหุ้มปลาย ดูแลอย่างไร

  • ทารกจะใช้เวลาดูแลแผล 7-10 วันให้การฟื้นฟูแผลด้วยตนเอง
  • คุณแม่สามารถทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าอ้อมตามปกติ
  • ทาปิโตรเลี่ยมเจลลี่ เพื่อไม่ให้แผลติดผ้าอ้อม
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ และใส่ผ้าอ้อมแบบหลวมๆ
  • เมื่อแผลหายแล้ว ดูแลความสะอาดด้วยสบู่เด็กตามปกติ

 

บุคคลใดบ้างที่ควรขลิบหนังหุ้มปลาย

ไม่ใช่ว่าผู้ชายทุกคนที่ควรขลิบหนังหุ้มปลาย ซึ่งอย่างที่กล่าวไป การขลิบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างข้อเสียหากเลือดไหลไม่หยุดก็อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ แต่ในขณะที่ผู้ชายบางคน เด็กผู้ชายบางกลุ่ม อาจจะต้องขลิบเนื่องจาก

 

เด็กผู้ชายวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่

  • เกิดภาวะปัสสาวะลำบาก บริเวณหนังหุ้มปลายโป่งพอง ขณะปัสสาวะและเกิดความเจ็บปวด
  • หากผู้ชายคนนั้นเกิดภาวะปัสสาวะอักเสบ
  • หากคนนั้นมีอาการอักเสบเรื้อรัง บริเวณอวัยวะเพศ
  • เข้าสู่วัยรุ่นแล้ว หนังหุ้มปลายยังปิด ยากต่อการทำความสะอาด
  • เกิดอาการปวดและบวมเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัว

 

เด็กผู้ชายวัยแรกเข้าอนุบาลไปจนถึงวัยรุ่น

  • หากเด็กน้อยมีปัญหาเรื่องท่อปัสสาวะที่เปิดน้อยกว่าปกติ หมายถึง ท่อปัสสาวะปิดหรือเปิดผิวบริเวณอย่างที่ควรจะเป็น เช่น ไม่เปิดตรงปลายที่อวัยวะเพศ
  • อาจเป็นเด็กที่ยังไม่ปรากฏเพศอย่างชัดเจน ว่า หญิงหรือชาย ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพ่อแม่
  • เด็กมีอวัยวะเพศหลบใน หมายถึง หัวไม่โผล่ออกมาจากปลาย จนต้องขลิบหนังออก
  • ปัญหาเรื่องอวัยวะเพศคดงอ ไม่ยื่นตรงตามธรรมชาติ

ที่สำคัญ การขลิบ ไม่ควรกระทำการกับคนที่ปัญหาเรื่องการไหลเวียนเลือด เช่น เลือดไม่แข็งตัว และไม่เหมาะกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ก่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง: วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)

บุคคลใดบ้างที่ไม่ควรขลิบ

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศนั้น โดยทั่วไปแล้วมีความปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ในบางกรณี การขลิบอาจไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในเด็กกลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. ทารกที่มีท่อปัสสาวะเปิดผิดที่

ทารกเหล่านี้อาจมีปัญหาในการปัสสาวะ การขลิบหนังหุ้มปลายอาจทำให้การรักษาสภาพนี้ยุ่งยากขึ้น

2. ทารกที่มีภาวะกำกวมเพศ

ทารกเหล่านี้ยังไม่มีเพศที่ชัดเจน การขลิบหนังหุ้มปลายควรพิจารณาหลังจากทารกมีเพศที่ชัดเจนแล้ว

3. ทารกที่มีอวัยวะเพศชายไม่โผล่ออกมา

ทารกที่มีภาวะ ท่อปัสสาวะเปิดออกที่โคนอวัยวะเพศ การขลิบหนังหุ้มปลายอาจทำให้การผ่าตัดแก้ไขภาวะนี้ยุ่งยากขึ้นได้ค่ะ

4. ทารกที่มีอวัยวะเพศคดงอ

การขลิบหนังหุ้มปลายอาจทำให้การแก้ไขความคดของอวัยวะเพศยุ่งยากขึ้น

ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศให้กับเด็กกลุ่มนี้หรือไม่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย ความเสี่ยง และประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น

ดูแลอวัยวะเพศชายของลูกน้อยอย่างไร

เนื่องจากทุกคนไม่สามารถขลิบหนังหุ้มปลายได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอวัยวะเพศอย่างไรให้ถูกวิธีและถูกสุขอนามัย

 

1. หากไม่เคยขลิบหนังหุ้มปลาย

หากลูกชายอยู่ในกลุ่มที่ไม่สามารถขลิบอวัยวะเพศชายได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกดูแลด้วยตัวเอง เช่น

  • คุณแม่ล้างอวัยวะเพศลูกชายให้สะอาดระหว่างอาบน้ำทุกครั้ง
  • ค่อยๆ รูดหนังหุ้มปลาย ตึงพอประมาณระหว่างชำระล้าง
  • สังเกตและตรวจดูจนแน่ใจว่าไม่มีเศษปัสสาวะตกค้าง
  • ระวังสิ่งตกค้างและไม่ควรทาแป้งบริเวณอวัยวะเพศ เพราะจะเกิดการสะสม

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

2. หากเคยขลิบหนังหุ้มปลาย

หากทำการขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่แรกเกิด คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอวัยวะเพศลูกน้อย ดังนี้

  • ทำความสะอาดอย่างเบามือ โดยใช้สำลีชุบน้ำสะอาดมาแตะหัวอวัยวะเพศเบาๆ
  • หากไม่มีเลือดแล้ว ใช้ผ้าก๊อซแทนผ้าอ้อมได้ แต่ต้องให้คุณหมอสอนวิธีใช้
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยๆ อย่าหมักหมมปัสสาวะหรืออุจจาระ

 

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของลูกชายนั้น เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องตัดสินใจให้ดี ควรปรึกษาแพทย์ว่า ทำได้หรือไม่ เพราะทารกแต่ละคนนั้น มีสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน แม้จะศึกษาด้วยตนเองถึงข้อดีมาอย่างถี่ถ้วนแล้ว อย่าลืมว่า ระหว่างทำการขลิบ อาจก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงต่ออันตรายตามมา เช่น เสียเลือดมาก ติดเชื้อหลังขลิบ หรือ แผลอาจจะไม่สวยเมื่อเขาเติบโตขึ้นเป็นหนุ่ม ตรงนี้พ่อแม่ต้องรับความเสี่ยง แต่สำหรับคนที่เสี่ยงสุดก็คือ ลูกชายเรานั่นเองค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ

พ่อแม่รู้ไหม การขลิบเป็นอันตรายได้ การขลิบมีผลต่อ การติดเชื้อเริมในทารกแรกเกิด

อุทาหรณ์! พ่อแม่ ขลิบจู๋ ให้ลูกวัยเพียง 5 เดือน สุดท้ายลูกหัวใจหยุดเต้นเสียชีวิต!

ทำไมต้องขลิบจุ๊ดจู๋ลูกด้วย ?

ที่มา: Paolo Hospital , Mood of the Motherhood, หมอชาวบ้าน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • การขลิบหนังหุ้มปลาย จำเป็นต่อทารกหรือไม่? ขลิบให้ลูกชายดีไหม?
แชร์ :
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

powered by
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว