X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ เคยสัมผัสได้หรือไม่คะว่า ลูกน้อยในครรภ์ของคุณ ก็สามารถสะอึกได้เหมือนกันนะ ทารกในครรภ์สะอึก เป็นอาการที่อาจทำให้แม่ท้องหลาย ๆ คนเกิดความกังวลใจ การที่ลูกสะอึกในท้องแม่นั้นจะเป็นอันตรายหรือไม่ เราไปหาคำตอบกัน

 

ทำไม ลูกในครรภ์สะอึก ?

ลูกในครรภ์สะอึก เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญของทารกในครรภ์ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกในครรภ์สะอึกนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากประสาทส่วนกลางของทารกมีความสมบูรณ์ และระบบประสาทส่วนกลางนี้เองที่ทำให้ทารกมีความสามารถหายใจในน้ำคร่ำได้  ดังนั้น  การสะอึกจึงเกิดจากการที่ของเหลวไหลเข้า และออกจากปอดของทารก ส่งผลให้กล้ามเนื้อกะบังลมมีการหดตัวอย่างรวดเร็ว

 

ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

 

จะรู้สึกอย่างไรเมื่อ ลูกในครรภ์สะอึก

อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาการสะอึกของลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงการกระตุกเป็นจังหวะ หรืออาการเกร็งเล็กน้อยที่ท้อง  อาการเหล่านั้น อาจจะไม่ใช่การเตะ กลิ้ง หรือสะกิดของเจ้าตัวเล็กในท้องค่ะ เพราะมันอาจจะเป็นอาการสะอึกก็ได้เช่นกัน การสะอึกของทารกในครรภ์นั้นจะเกิดขึ้นไม่แน่นอน  ทารกอาจสะอึกทุกวัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์  อาจจะวันละครั้งหรือหลายครั้งก็ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ทารกในครรภ์สะอึกนั้น ไม่ถือว่าเป็นการดิ้นของทารกนะครับ แม้ว่าอาจจะดูเหมือนการดิ้นก็ตาม

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

Advertisement

 

ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

 

ลูกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม?

การที่ลูกในครรภ์สะอึกนั้น ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทารกในครรภ์ทุกคน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ไปจนถึงช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งการสะอึกของทารกนั้น เกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านระบบการหายใจเนื่องจากทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และเกิดอาการสำลัก ทำให้เกิดอาการสะอึก

แม่ท้องหลายท่านอาจจะคิดว่าการที่ทารกในครรภ์สะอึกอาจเป็นอันตราย แต่การสะอึกกลับมีผลดีในแง่ของการควบคุมการเต้นของหัวใจของทารกในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ทำให้การเต้นของหัวใจมีการเต้นเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการที่ดี และไม่เป็นอันตรายค่ะ

แต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 32 แล้ว อาการสะอึกของทารกจะเริ่มลดน้อยลงเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่ถ้าคุณสังเกตว่า ทารกในครรภ์ยังคงสะอึกทุกวัน โดยมีอาการนานกว่า 15 นาทีต่อครั้ง หรือหากเจ้าตัวน้อย มีอาการสะอึกมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปในหนึ่งวัน คุณอาจจะต้องติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที เพื่อทำการตรวจความผิดปกติในครรภ์ค่ะ

 

ทารกในครรภ์สะอึก

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้ทารกสะอึก

แน่นอนว่าอาการสะอึกของทารกในครรภ์นั้น จะต้องมีสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งของรก ซึ่งหากเป็นเพราะสาเหตุนี้ อาจจะส่งผลให้ทารกมีอาการสะอึกได้อย่างต่อเนื่อง และบ่อยครั้ง และน้ำหนักของคุณแม่ ก็อาจจะมีผลทำให้เกิดอาการสะอึกของทารกได้ด้วยเช่นกัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : แจกเคล็ดลับ สุขภาพดีทั้งกายใจสำหรับคุณแม่และลูกในครรภ์

 

ทารกในครรภ์สะอึก บ่อยสุดเมื่อไหร่ ?

ปกติคุณแม่ท้องอย่างเรา มักจะคอยจดจ่อ เฝ้ารอนับความเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่ เราจะเริ่มรู้สึกว่าทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 16 – 20 หรือบางคนจะเริ่มรู้สึกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 27 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติค่ะ

เมื่อทารกในครรภ์เริ่มดิ้น เราจะเริ่มแยกแยะความเคลื่อนไหวไปตามจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นการเตะ การม้วนตัว พลิกตัว การกระทุ้ง แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าก็ตาม ซึ่งรวมถึงอาการสะอึกของทารกในครรภ์อีกด้วย

สันนิษฐานว่า ทารกในครรภ์จะเริ่มมีอาการสะอึกได้ เมื่อครรภ์เข้าสู่ไตรมาส 2 หรือ 3 ซึ่งตัวคุณแม่อาจจะรู้สึก หรือบางคน ก็ไม่รู้สึกถึงอาการดังกล่าวเลยก็ได้เช่นกัน

 

ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?

 

วิธีหยุดอาการสะอึกของทารกในครรภ์

การสะอึกของทารกในครรภ์ แม้ผลวิจัยจะบอกว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเด็กสะอึกติดต่อกันเกิน 15 นาที ก็คงไม่ใช่สัญญาณที่ดีอีกต่อไป รวมถึงอาการกระตุกจากการสะอึกนั้น ยังส่งผลให้ตัวคุณแม่เอง รู้สึกเป็นกังวล และส่งผลให้เกิดความเครียดได้ ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการดังกล่าว ลองทำวิธีดังต่อไปนี้ดูซิคะ

  • นอนตะแคงซ้าย : ให้ใช้หมอนรอง เพื่อรองรับแรงกระแทก รวมถึงบรรเทาแรงกดจากกระดูกสันหลัง การนอนแบบนี้ จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เลือดสามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ง่ายขึ้น เมื่อร่างกายเกิดความผ่อนคลาย อาการสะอึกของทารก ก็จะลดลงไปด้วย
  • รับประทานอาหารหลากหลาย : ใช้ประโยชน์จากคุณค่าทางโภชนาการให้เหมาะสม ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงวิตามินต่าง ๆ ที่คุณแม่ และทารกในครรภ์ ต้องการ
  • ออกกำลังกายระดับปานกลาง : การออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อได้ทำงาน มีความยืดหยุ่น และกระตุ้นฮอร์โมน มีการสูบฉีดของเลือด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ : การดื่มน้ำให้เพียงพอ เป็นส่วนที่สำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะส่งผลที่ดีกับตัวคุณแม่แล้ว ตัวทารกในครรภ์ก็ยังแฮปปี้อีกด้วย
  • นอน และงีบกลางวันเป็นประจำ : การได้งีบหลับพักผ่อนในช่วงกลางวัน เพียงเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายรู้สึกกระชุ่มกระชวย และส่งผล ให้ตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์ ผ่อนคลายอีกด้วย

 

และหากแม่ท้องท่านใดมีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการดิ้นของลูก ก็สามารถติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับการนับลูกดิ้นได้จาก link ด้านล่างนี้เลยนะครับ

>> วิธีการนับลูกดิ้นพร้อมบันทึกการนับดิ้น <<


 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

เมื่อ ทารกไวต่อการสัมผัส ทารกไวต่อแสง ทารกไวต่อกลิ่น จะทำอย่างไร

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

ที่มา : momjunction , medicalnewstoday

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ทารกในครรภ์สะอึก อันตรายไหม แม่ท้องต้องทำอย่างไร ?
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว