TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

บทความ 5 นาที
ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง ลูกตาเหลือง (Jaundice) ปกติแล้วจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุ 3 – 6 สัปดาห์ขึ้นไป ในทารกน้อยบางคนอาจจะมีอาการตาเหลืองมากจนถูกเรียกว่า อาการดีซ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณแม่กังวลกับลูกที่เพิ่งเกิดมา ดังนั้นแนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงให้นมลูกสัก 24 – 48 ชั่วโมง เพื่อรอดูอาการที่แน่ชัดให้แน่ใจว่าทารกตัวเหลืองเพราะดื่มนมแม่หรือไม่

 

ภาวะตัวเหลือง ลูกตัวเหลือง ตาเหลืองเกิดจากอะไร

ทารกตัวเหลืองเกิดจากอะไร ลูกตาเหลือง อาการตัวเหลืองของทารกมีหลายสาเหตุ ทารกบางคนตัวเหลืองจากการกินนมแม่ บางคนตัวเหลืองจากการได้รับนมแม่ไม่พอ ซึ่งเกิดจากสาร “บิลิรูบิน” (Bilirubin) หรือสารเหลืองที่อยู่ในกระแสเลือดไหลเวียนเข้าไปสู่ตับ แต่เนื่องจากการทำงานของตับในทารกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงทำให้พวกเขามีอาการตัวเหลือง

ทั้งนี้การที่จะทราบว่าอาการตัวเหลืองนั้นเกิดจากอะไร จึงต้องเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะต้องตรวจคัดกรองหาสาเหตุก่อนเป็นอันดับแรก หากวินิจฉัยแล้วเกิดจากการทำงานของตับ คุณหมอจะใช้สารบิลิรูบิเพื่อดูว่ามีปัญหาจากทางเดินท่อน้ำดี ที่เกิดจากการอุดตัน จึงทำให้ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

ลูกตัวเหลือง ลูกตาเหลือง

 

วิธีสังเกตภาวะตัวเหลือง ของลูกน้อย

ทารกบางคนจะเห็นได้ชัดเจนว่าตัวเหลือง ตาเหลือง แต่บางคนอาจไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน ซึ่งมีวิธีการสังเกตอย่างง่าย ๆ ดังนี้

  • ลองย้ายทารกไปอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างพอ
  • คุณแม่ลองใช้นิ้วมือกดลงบนผิวหนังของลูก หรือใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดที่ผิวหนังพร้อมกับแยกออกจากกัน (ลักษณะนิ้วคล้ายทำกว้าง-หุบ) เพื่อรีดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยบริเวณที่จะตรวจ
  • คุณแม่สังเกตสีปากของลูก ถ้าปกติจะเห็นเป็นสีขาว แต่ถ้าเห็นเป็นสีเหลืองลงเรื่อยไปถึงท้องควรรีบพบแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง: ทารกตัวเหลือง พาออกไปรับแดดอ่อนตอนเช้าได้ไหม?

 

สาเหตุของเด็กตัวเหลือง ลูกตาเหลือง

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ (Physiologic Jaundice)

ภาวะนี้เกิดจากทารกตอนอยู่ในครรภ์ มีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงมากกว่า และเม็ดเลือดแดงนั้นมีอายุสั้นกว่าของผู้ใหญ่ เมื่อเม็ดเลือดแดงของทารกแตกสลายเป็นบิลิรูบินจนเกินกว่าที่ร่างกายต้องกำจัด เนื่องจากตับของทารกยังทำงานไม่เต็มที่ส่งผลให้การกำจัดบิลิรูบินด้วยตับยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งถ้าทารกไม่มีอาการแทรกซ้อน ก็จะสามารถหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์

 

2. ความผิดปกติจากมีพยาธิสภาพ (Pathologic Jaundice)

  • กรุ๊ปเลือดมารดาและทารกไม่เข้ากันส่วนใหญ่พบในคุณแม่หมู่เลือดโอกับลูกหมู่เลือดเอหรือบี หรือคุณแม่มีหมู่เลือด Rh – และลูกมี Rh +
  • เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงในร่างกายของทารกหรือภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
  • ทารกมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติโดยเฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
  • อาการตัวเหลืองมีความสัมพันธ์กับการกินนมแม่พบว่าทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียวมักจะได้รับนมไม่เพียงพอ เช่น การให้ลูกดูดนมจากเต้าไม่ถูกต้อง หรือสืบเนื่องมาจากปัจจัยอื่นๆ อย่างทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติด ทำให้ดูดนมแม่ได้ไม่ดี
  • ทารกมีภาวะตับอักเสบ โรคท่อน้ำดีตีบ ทำให้มีอาการตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีด ส่งผลให้ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย

 

3. เกิดการดูดซึมสารเหลืองในลำไส้

ภาวะนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากการดูดนมแม่ ซึ่งเกิดจากการดูดซึมสารเหลืองในลำไส้กลับเข้าสู่ร่างกายมากขึ้นกรณีนี้ที่พบบ่อย คือ ทารกได้นมน้อยเกินไป ทำให้มีอุจจาระออกมาปริมาณน้อย ส่งผลให้สารเหลืองที่ค้างอยู่ลำไส้ถูกขับออกมาน้อยตามไปด้วย นอกจากนี้การดื่มนมแม่น้อย ขับถ่ายน้อย ทำให้สารเหลืองถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ร่างกายของทารกจึงมีสารเหลืองเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้มีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองนั่นเอง

 

ลูกตัวเหลืองแบบไหน อาการน่าเป็นห่วง

ปกติแล้วทารกที่คลอดครบกําหนด มีสุขภาพแข็งแรง ประมาณ 80% อาจมีภาวะตัวเหลืองเล็กน้อยมาก พอผ่านไป 3-4 วัน ก็จะหายจากอาการตัวเหลืองไปเอง แต่หากทารกมีอาการตัวเหลืองผิดปกติ ซึ่งตัวเหลืองมากที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และพบเพียงแค่กว่า 1% คือ มีระดับสารสีเหลืองสูงกว่าปกติ ลองสังเกตอาการตัวเหลืองของลูกน้อยและเฝ้าระวังค่ะ

  • ลูกตัวเหลืองเร็วคือ ลูกจะตัวเหลืองให้เห็นชัดในอายุ 1-2 วันแรก
  • ภาวะเหลืองจัดคือ เหลืองเข้ม ทั้งฝ่ามือและฝ่าเท้าออกเหลืองชัดเจน
  • ลูกตัวเหลืองนานเกินไปหากทารกอายุจะเกิน 7 วันแล้ว แต่ยังมีอาการเหลืองอยู่ต้องรีบปรึกษาแพทย์
  • สังเกตสีอุจจาระว่ามีสีซีดหรือไม่ ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติหรือไม่
  • ทารกตัวเหลืองร่วมกับอาการเจ็บป่วยอย่างอื่นเช่น มีใช้ ซึม อาเจียน ถ่ายเหลว

 

ความรุนแรงจากภาวะตัวเหลือง

หากร่างกายของทารกมีระดับบิลิรูบินมากเกินไป สิ่งนี้จะผ่านเข้าสู่สมองไปจับที่เนื้อสมอง ทำให้สมองผิดปกติเรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus)

  • ระยะแรก จะเกิดอาการซึม และดูดนมไม่ดี
  • ระยะต่อมา ทารกจะซึมบวกกับมีอาการกระสับกระส่าย
  • เริ่มมีไข้ ร้องเสียงแหลม ตัวเกร็งคอแอ่นไปด้านหลัง หลังแอ่น

หากได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือดในระยะแรกๆ อาจทําให้สมองไม่ถูกทําลาย ช่วยลดความรุนแรงของความพิการทางสมองได้ แต่หากปล่อยลูกไว้จนอาการรุนแรงอาจถึงขั้น ไม่ดูดนม ชัก หยุดหายใจ เข้าขั้นโคม่าและอาจเสียชีวิตได้

 

ลูกตัวเหลือง จากนมแม่ ลูกตาเหลือง

เด็กตัวเหลือง สามารถรักษาได้ดังนี้

1. แพทย์จะใช้วิธีการส่องไฟ

อาจทำได้ในระยะแรกทันทีที่พบว่าลูกมีอาการตัวเหลือง โดยใช้หลอดไฟชนิดพิเศษให้แสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเท่านั้น ทั้งนี้ขณะส่องไฟแพทย์จะถอดเสื้อผ้าทารก ปิดตา และตรวจเลือดดูระดับบิลิรูบินเป็นระยะๆ กระทั่งมันลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ผลเสียของการส่องไฟคือ ทารกอาจเกิดภาวะขาดน้ำ น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากการส่องไฟ

 

2. แพทย์ตัดสินใจเปลี่ยนถ่ายเลือด

วิธีนี้อาจดูทารกมีอาการเข้าขั้นรุนแรง แต่อย่าเพิ่งตกใจค่ะ แพทย์จะทำการเอาเลือดทารกที่มีบิลิรูบินสูงออกจากตัวเด็กและเติมเลือดอื่นเข้าไปทดแทน คล้ายการถ่ายเลือด จะทำให้ระดับบิลิรูบินสูงมากหรือทารกเริ่มมีอาการแสดงทางสมองนั้นลดระดับบิลิรูบินอย่างรวดเร็ว ช่วยให้เด็กปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง: ทารกตัวเหลือง มีอุจจาระสีซีด ผิดปกตินะแม่! ต้องรีบพาลูกไปพบหมอแล้วล่ะ

 

ทำไมแม่บางคนไม่หยุดการให้นมลูกเป็นเวลา 48 ชั่วโมง

  • ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องยากสำหรับคุณแม่ที่จะหยุดให้นมขณะที่ลูกน้อยกำลังดูดนมแม่จากเต้า และแม่บางท่านก็รู้สึกเจ็บปวดราวนมเวลาปั๊มนมให้ลูก
  • เด็กบางคนไม่สามารถเลิกดื่มนมแม่ได้ เพราะพวกเขาไม่ชอบนมผง พอเด็กไม่ชอบก็เกิดอาการแหวะนม จนทำให้หนูน้อยบางคนอายุถึง 3 ขวบแล้วก็ยังไม่ยอมดื่มนมจากขวบสักที
  • คุณแม่มีความคิดที่ว่า “นมแม่ดีที่สุด” จึงเป็นการยากที่จะหยุดให้นมแม่แล้วหันไปใช่นมผงแทน แต่เมื่อไหร่ที่ลูกตัวเหลืองคุณแม่ควรหยุดให้นม แล้วใช้นมผงแทน
  • อาจเกิดปัญหาการให้นมแม่ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านออกมาพูดว่า พวกเขามีประสบการณ์การให้นมแม่ ซึ่งจะช่วยให้แม่ๆ เลี้ยงลูกด้วยตัวเองได้ ซึ่งอาจทำให้แม่ๆ คิดว่าการให้นมลูกจากขวดกับการให้นมแม่เหมือนกัน แต่มันไม่เป็นความจริง
  • แม่หลายคนอาจคิดว่า “นมของฉันอันตรายสำหรับลูกน้อย” หมอบางคนจะใช้ผลกระทบทางสมอง เพื่อให้คุณแม่เลิกให้นมลูกน้อย ซึ่งนั่นทำให้คุณแม่กลัวการให้นม
  • แม่บางคนเลิกให้นมลูก เพื่อไปตรวจเลือดหลายวัน แต่นั่นไม่สามารถบอกได้ว่า แม้ว่าลูกได้รับการทดสอบทั้งหมดแล้ว แต่แม่บางคนเลิกให้นมลูกไปหลายวัน แต่นั้นไม่ได้ช่วยอะไร เพราะไม่สามารถบอกระดับของบิลิรูบิ และการเปลี่ยนแปลง

 

การป้องกันอาการตัวเหลืองในเด็ก วิธีดูแลทารกตัวเหลือง

ปัจจุบันการป้องกันอาการตัวเหลือง หรือดีซ่านในทารกนั้นถือว่าเป็นไปได้ยาก ยิ่งถ้าเป็นการสืบทอดมาจากพันธุกรรมหรือมีภาวะภูมิแพ้ตนเอง ที่เป็นสาเหตุของการสะสมของบิลิรูบิน ทั้งนี้การที่หมั่นใส่ใจในการดูแลสุขภาพอยู่เสมอ และเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นก็จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เด็กแรกเกิดตัวเหลือง เด็กตัวเหลืองอันตรายไหม

โรคดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง โรคอันตรายที่มักถูกหลายคนมองข้าม!

ที่มา : ibconlin, Bangkok hospital.

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา
แชร์ :
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว