คุณแม่มือใหม่หลายคน คงเจอปัญหา ลูกไม่ยอม ดูดนม ทำอย่างไรก็ไม่เข้าเต้าสักที วันนี้ เราได้รวบรวมเทคนิค และวิธีการให้ลูก ดูดนม เข้าเต้าคุณแม่อย่างถูกวิธีมาฝากค่ะ
ลูกดูดเต้าไม่เป็น ดูดนม วิธีดูดนม ไม่ยอมอ้าปากเข้าเต้าทำอย่างไรดี
วิธีดูดนม ลูกดูดนมไม่เป็น ชอบดูดแต่หัวนมหรือจุกนม ปัญหาใหญ่ของคุณแม่ให้นมลูก เพราะการที่ลูกงับนมไม่ถูกจุดจะทำให้แม่เจ็บหัวนมมากๆ เวลาจะให้นมลูกก็จะยิ่งเจ็บเต้านมยิ่งขึ้นไปอีก แล้วคุณแม่ต้องทำอย่างไรให้ลูกสามารถดูดนมให้ถูกวิธี ไม่ให้แม่เจ็บเต้านม
วิธีให้ลูกดูดเต้า ลูกดูดเต้าไม่เป็นทำอย่างไร
เด็กทารกบางคนก็ไม่สามารถดูดนมได้อย่าถูกต้องโดยทันที คุณแม่ต้องให้เวลาลูกน้อยได้เรียนรู้การดูดนมอย่างถูกวิธี สำหรับระยะเวลามากน้อยนั้นขึ้นอยู่ความพร้อมของเด็กแต่ละคน และความพยายามของคุณแม่ค่ะ คุณแม่ต้องใจเย็นๆ คอยฝึกลูกถึงแม้ว่าจะเจ็บเต้านมจากการที่ลูกดูดนมผิดวิธีก็ตาม ในช่วงแรกๆ อาจลูกอาจใช้เวลาในการเข้าเต้านานหน่อย แต่พอฝึกไปเรื่อยๆ ลูกก็จะใช้เวลาในการเข้าเต้าลดน้อยลง และทำให้ดูดนมได้ดีขึ้นค่ะ
ขั้นตอนให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธี
ขั้นตอนที่ 1
- อุ้มลูก ดูดนม ให้ใกล้กับลำตัวของคุณแม่ ในตำแหน่งที่หัวของลูกตรงกับลำตัว ให้หน้าท้องได้สัมผัสกับลูก อาจจะวางลูกไว้บนหมอนรองให้นมหรือจะอุ้มไว้บนลำตัวก็ได้
- ประคองศีรษะลูกให้แหงนไปด้านหลังเล็กน้อย พยายามให้คางชิดเต้านม โดยที่มืออีกข้างอาจจับเต้านมไว้ใกล้ๆ กับขอบลานนม แล้วใช้นิ้วบีบลงให้นำเข้าปากลูกได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 2
- เมื่อลูกอ้าปากกว้างให้เคลื่อนลูกเข้าหาเต้านมแม่อย่างรวดเร็วและต้องนุ่มนวล พยายามให้ลูกอมเต้านมให้ลึกถึงลานนม หรืออาจจะใช้การจับเต้านมเข้าปากลูกอย่างรสดเร็ว
- หากปากของลูกน้อยไม่เปิดให้กระตุ้นด้วยการนำหัวนมลูบที่ริมฝีปากบนของลูกเบาๆ แล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าไปลึกเรื่อยๆ จนกว่าปากลูกจะเปิดกว้าง
ขั้นตอนที่ 3
- ให้ปากลูกอมให้สนิทกับลานนม จากนั้นให้แม่กดลานนมแล้วรีดน้ำนมออกจากท่อ วิธีนี้จะทำให้ลูกดูดนมได้ดี และไม่ไม่ต้องเจ็บหัวนม
- วิธีที่ถูกต้องคือ ลิ้นกับริมฝีปากล้างต้องสัมผัสเต้านมของคุณแม่ก่อน
เต้านมเป็นแผล ลูกดูดนม อย่างไร
ก่อนให้นมลูก
- ให้นมลูกข้างที่ไม่เจ็บเต้านมก่อน เนื่องจากถ้าลูกยังดูดนมไม่เป็นก็จะยิ่งทำให้เกิดบาดแผลขึ้นได้
- ลองเปลี่ยนท่าอุ้มให้นมลูกเป็นท่าอื่น เพราะจะทำให้มุมให้นมเปลี่ยนไปด้วย จะได้เป็นการหลีกเลี่ยงแผลจุดเดิม
หลังให้นมลูก
- เมื่อลูกอิ่มแล้วแต่ยังไม่ยอมคายปาก ให้แม่เอานิ้วสอดเข้าไปยังมุมปาก โดยให้นิ้วอยู่ระหว่างเหงือกของลูก เพื่อลดแรงดูดลูกลงแล้วค่อยๆ ถอนหัวนมลูกออกมา
- บีบน้ำนม 2-3 หยดเอามาทาบริเวณหัวนม จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งโดยไม่ต้องทายา
- หากเจ็บแผลที่หัวนมมาก ให้ใช้ประทุมแก้วครอบหัวนมเพื่อป้องกันการระคายเคืองจากการสัมผัสกับเสื้อชั้นใน
- บีบน้ำนมออกทุก ๆ 3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเต้านมคัด
บทความที่เกี่ยวข้อง หัวนมแตกป้องกันได้ ครีมทาหัวนมแตก ครีมทาแก้หัวนมแตก
น้ำนมเยอะ ทำให้ลูกสำลักได้ไหม ?
คุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะ เวลาที่ลูกดูดแล้วกลืนไม่ทัน หรือน้ำนมพุ่งไปที่คอหอย อาจทำให้ลูก เกิดการสำลัก สัญญาณบอกว่าคุณแม่มีนมเยอะนั้น ดูได้จากการดูดนมของลูกน้อย ว่าดูดนมทันหรือไม่ ดังนี้
- ดิ้นทุรนทุราย ระหว่างดื่มนม เพราะอาจจะเกิดจากการที่ กลืนไม่ทัน เกิดการสำลัก หลังจากดูดแล้ว ให้สังเกตที่หัวนม ถ้ามีสีซีด หัวนมเป็นรอยพับ แสดงว่าน้ำนมเยอะ ทำให้ลูกเอาลิ้นดันเอาไว้ เพราะกลืนนมแม่ไม่ทัน
หากคุณแม่น้ำนมเยอะ คุณแม่สามารถบีบเก็บไว้ได้ หรือปั๊มนม เก็บไว้ให้ลูกกิน เพื่อให้น้ำนมเหลืออยู่ในเต้าไม่เยอะตนเกินไป ป้องกันการสำลักนมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง : สารอาหารในน้ำนมแม่ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 47
เต้านมคัด คุณแม่ควรทำอย่างไร
อาการคัดเต้านม เกิดขึ้นได้บ่อย มีสาเหตุมาจาก ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี หรืออ้าปากไม่กว้าง ไม่งับลานนม ทำให้น้ำนมไม่ออก พอน้ำนมไม่ออก เมื่อมีน้ำนมที่ผลิตมาใหม่ แต่ของเดิมยังคงอยู่ จะทำให้คุณแม่ เกิดอาการคัดเต้านมได้ คุณแม่บางคนเคร่งต่อ การกำหนดเวลาในการให้นมมากเกินไป เช่น ลูกต้องกินเป็นเวลานี้ ๆ ๆ ทุก 3 ชั่วโมง แม้ลูกจะหิว แต่ถ้ายังไม่ถึงก็ไม่ให้ ซึ่งอาจจะเป็นเวลาที่น้ำนมมีการผลิต พอไม่ได้มีการดูดออก เต้านมก็คัดตึง
ดังนั้น คุณแม่ควรให้นมตามความต้องการของลูก ลูกอยากกินตอนไหนก็ให้ตอนนั้น การปล่อยให้ลูกหิว อาจทำให้ลูกไม่มีแรงดูด พอจะให้ดูด กลายเป็นว่า ลูกไม่อยากดูดนม เกิดการปฏิเสธเต้า ไม่ยอมดูดนมได้ ในช่วง 6 เดือนแรก ควรให้ลูกกินนมตามที่ต้องการ อย่ากังวลเรื่อง วินยัของการกิน ควรฝึก หลัง 6 เดือน ไปแล้ว หรือเมื่อลูกหิวก็ให้เป็นอาหารเสริม
ที่มา: breastfedbabies, พญ.ปิยาภรณ์ บวรกีรติขจร
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
อุ้มลูกให้นมแบบไหน ลูกยอมเข้าเต้าง่าย ดูดจ๊วบๆ น้ำนมไหลสบาย แม่ไม่เหนื่อยล้า
แจกฟรี!! ตารางความถี่ให้นมลูก ตั้งแต่แรกเกิด – 12 เดือน
ให้นมลูกอยู่แต่น้ำนมไหลน้อยลง ผิดปกติไหม แม่ให้นมต้องทำยังไง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!