ให้นมลูกอยู่แต่น้ำนมไหลน้อยลง ผิดปกติไหม แม่ให้นมคงกังวลเป็นอย่างมาก อาการเหล่านี้ผิดปกติไหม แล้วแม่ลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูกควรทำอย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ
น้ำนมแม่ผลิตอย่างไร
เมื่อร่างกายเริ่มทำการหลั่งน้ำนมออกมา สิ่งหนึ่งที่คุณแม่รู้สึกได้คือ อาการจี๊ดๆ ที่เต้านมก่อนน้ำนมพุ่งออกมา หรือก่อนที่ลูกจะดูดน้ำจากเต้านมแม่ การหลั่งน้ำนมเป็นสิ่งสำคัญในการปั๊มน้ำนมนมของคุณแม่ หากกลไกการหลั่งชะงักไปก็จะทำให้น้ำนมแม่ไม่ไหล หรือไหลได้น้อยลงได้
การผลิตน้ำนมแม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำน้ำนมออกจากร่างกายแม่ แต่เป็นการผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่องหรืออย่างสม่ำเสมอ ทั้งจากการดูด การบีบ หรือการปั๊ม
ทำไมหลังจากคลอดลูกแล้วน้ำนมแม่ถึงน้อยลง
ปกติแล้วคุณแม่หลังคลอดใหม่ๆ จะมีฮอร์โมนโปรแล็คตินสูงมาก ซึ่งโปรตีนชนิดนี้จะช่วยกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมแม่ได้มาก ทำให้นมแม่ไหลได้ดี โดยปกติแล้วในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก แม่ส่วนใหญ่จะมีน้ำนมมากเกินกว่าความต้องการของลูก ดูได้จากการคัดเต้านมบ่อยๆ ของแม่ๆ หรือแม้แต่อาการน้ำนมไหลตลิดเวลา แม้กระทั่งเวลาที่ลูกดูดจากเต้าก็ตาม
หลังจากนั้น ประมาณ 6 สัปดาห์ – 3 เดือนแรก ปริมาณฮอร์โมนโปรแล็คติน จะค่อยๆ เริ่มลดต่ำลงกลับสู่ภาวะปกติ อาการคัดตึงที่เต้านมก็จะไม่ค่อยมี น้ำนมที่ไหลซึมก็ลดน้อยลง หรือไม่ก็ไม่มีเลย ทำให้คุณแม่ปั๊มน้ำนมได้น้อยลง แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้ถือว่าเป็นปกติดี ไม่ได้หมายความว่าปริมาณน้ำนมของคุณแม่ลดน้อยลงแต่อย่างใด เว้นแต่ว่าเกิดจากที่แม่ๆ ไม่ได้ปั๊มนม บีบน้ำ หรือให้ลูกดูดนมจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ร่างกายของคุณแม่จะได้ผลิตน้ำนมให้กับลูกให้เพพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยได้ตามที่ต้องการ
ให้นมลูกอยู่แต่น้ำนมไหลน้อยลง
นอกจากนี้ แม่ๆ บางคนยังรู้สึกว่าปั๊มนมได้ลดลง ทั้งๆ ที่มีรอบปั๊มเหมือนเดิม สาเหตุก็เป็นเพราะลูกๆ เริ่มกินนมห่างขึ้น ทำให้ปั๊มได้น้อยลง ซึ่งเป็นไปตามวัยของลูก ซึ่งคุณแม่สามารถดูได้จากตารางด้านล่างค่ะ
- อายุ 0-6 เดือน: ช่วงนี้ลูกดูดเต้าถี่มาก แม่ๆ สามารถปั๊มนมได้ 3-4 รอบ ทำให้นมแม่เพิ่มขี้นได้ไว เพราะมีการเอานมออกจากเต้าที่ถี่มากๆ
- ลูกอายุ 6-12 เดือน: เด็กๆ วัยนี้จะเริ่มอาหารเสริมกัน ทำให้กินนมเริ่มห่างขึ้น แม่ก็จะปั๊มนม 3-4 รอบเหมือนเดิม แต่นมแม่จะเพิ่มช้าลง สมมติว่จะเพิ่มนมจาก 1 ออนซ์ เป็น 2 ออนซ์ ก็ใช้เวลาหลายวัน มากกว่าเมื่อก่อน แต่แม่ๆ ไม่ต้องตกใจนมไม่ได้แห้งค่ะ
- ลูกอายุ 1 ขวบขึ้นไป: สำหรับคนที่ยังให้ลูกกืนนมแม่อยู่ และได้ให้ลูกกินนมแม่ 3 มื้อ ซึ่งมีการปั๊มนม 3-4 รอบเหมือนเดิม แต่กลับพบว่าน้ำนมจะลดลง เพิ่มยาก และใช้เวลานานหลายวันกว่าเดิมไปอีก แต่นมแม่ก็ไม่ได้แห้งเช่นเดียวกัน
น้ำนมไหลน้อยลง
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้น้ำนมแม่ลด
- ทานยาบางกลุ่ม เช่น ยาแก้แพ้ จำพวก CPM (คลอเฟนิรามีน) หรือ Pseudoephedrine ต่อเนื่องหลายวัน จะทำให้น้ำนมลดได้ค่ะ แต่หลังจากงดยาแล้ว น้ำนมก็สามารถกลับมาเหมือนเดิมค่ะ
- มีประจำเดือน คุณแม่บางคนเข้าใจว่า พอมีประจำเดือนแล้วน้ำนมจะหมด เพราะปั๊มได้น้อยลง จริง ๆ คือเมื่อพ้นช่วงที่มีประจำเดือน น้ำนมแม่ก็สามารถกลับมาอยู่ปริมาณปกติได้ค่ะ เนื่องจากช่วงมีประจำเดือน ร่างกายอ่อนเพลีย เลือดจาง น้ำนมก็ลดลงได้ อาจพิจารณาทานเหล็กเพิ่มเติมนะคะ
- ความเครียด เวลาที่คุณแม่เครียด จะทำให้น้ำนมแม่ลดลง แต่บางทีคุณแม่อาจไม่รู้ว่าความคิดโน่นนี่ อาจนำไปสู่ภาวะเครียดอย่างไม่รู้ตัว
- เครื่องปั๊มนมที่ใช้ไม่ได้คุณภาพ กรณีของคุณแม่ที่ปั๊มนมเป็นหลัก คุณแม่ควรตรวจสอบอะไหล่เครื่องปั๊มนม อยู่ตลอดเวลาว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ปกติได้หรือไม่ เพราะถ้าอะไหล่เสื่อม ชำรุด ประสิทธิภาพการปั๊มก็ลดลง แปลว่า ปั๊มนมได้น้อยลงนั่นเองค่ะ
แม่น้ำนมน้อย
วิธีกระตุ้นน้ำนมแม่
- ให้ลูกน้อยดูดนมจากเต้า วิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นได้ยอดเยี่ยมที่สุด ซึ่งข้างไหนที่น้ำนมน้อยก็ให้ลูกช่วยดูดกระตุ้น ส่วนอีกข้างก็อาจใช้เครื่องปั๊มนมปั๊มออกพร้อมกันเลยก็ได้ โดยใช้กฎตามนี้ค่ะ
- ดูดเร็ว: คือเมื่อลูกคลอดออกมาภายใน 15-30 นาที ควรให้ลูกดูดนมเลย เพื่อกระตุ้นน้ำนมครั้งแรก
- ดูดบ่อย: คือให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ประมาณวันละ 8-12 ครั้ง หรือตามที่ลูกต้องการ ถ้าลูกร้องงอแงหรือหิวก็ให้ดูดทันที
- ดูดนาน: คือในแต่ละครั้งที่ลูกดูดนม ให้ดูดนานๆ ประมาณข้างละ 15 นาที หรือดูดจนกว่าลูกจะเลิกดูดไปเอง
- ใช้กรวยครอบเต้านมให้น้ำนมไหล สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่ชำนาญ แนะนำให้ใช้มือนวดคลึงหัวนมเบาๆ ก่อน ระหว่างที่ปั๊มนมก็พยายามอย่าเครียดต้องทำให้ตัวเองผ่อนคลายมากเข้าไว้
- ใช้การประคบอุ่น หรือเครื่องดื่มอุ่นๆ เพื่อช่วยกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมแม่มากขึ้น
- ดื่มน้ำให้มากๆ เนื่องจากน้ำนมแม่มีส่งนประกอบของน้ำถึง 90% ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมลูกจึงต้องดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไปหลังจากให้นม
- ทานอาหารกระตุ้นน้ำนมแม่ แม่ที่น้ำนมไหลน้อย อยากให้น้ำนมไหลเยอะ หรือต้องการเพิ่มน้ำนมด่วนๆ อาหารช่วยได้ เช่น อินทผลัม กะเพรา ใบแมงลัก ใบกุยช่าย ใบตำลึง กานพลู พริกไทย หัวปลี มะละกอ ฟักทอง และเมล็ดขนุน
ที่มา: breastfeedingthai, Ardo Thailand, mamykiddy
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
งงไปหมด! น้ำนมแม่หลากสีที่ปั๊มออกมา ลูกจะกินได้ไหม บางวันสีเขียว บางวันสีแดง
ภาพแม่ให้นม ไม่ต้องพูดให้มากความ แค่เห็นภาพก็ขำก๊าก! เพราะมันใช่เลย
อาหารที่แม่ให้นมควรเลี่ยง 7 อย่าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!