X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย

บทความ 3 นาที
อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย

ได้ยินมานานแล้วว่า อย่าป้อนน้ำผึ้งให้กับทารก โดยเฉพาะทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี เพราะจะทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเป็นโรคโบทูลิซึม

ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย!

การป้อนน้ำผึ้งในทารกอายุน้อยกว่า 1 ขวบนั้น เพิ่มอันตรายจากความเสี่ยงโรคโบทูลิซึม แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่ขาดความรู้ในเรื่องนี้ จนกลายเป็นอุทาหรณ์ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย! เช่นเดียวกับทารกน้อยวัย 6 เดือนรายนี้ ที่ต้องจบชีวิตลง

 

ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย! ทารกกินน้ำผึ้ง เสี่ยงโรคโบทูลิซึม อาการป่วยจากพิษโบทูลินั่ม อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้

ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย! ทารกกินน้ำผึ้ง เสี่ยงโรคโบทูลิซึม อาการป่วยจากพิษโบทูลินั่ม อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน

 

ป้อนน้ำผึ้งให้ทารกกิน เสี่ยงเสียชีวิต!

จากข่าวของ The Japan Times รายงานว่า ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากภาวะโบทูลิซึมในเด็กทารก (Infant botulism) เหตุจากครอบครัวป้อนทารกด้วยน้ำผึ้ง โดยนำน้ำผึ้งผสมกับน้ำผลไม้ ป้อนทารกน้อยวัย 6 เดือนเป็นประจำ วันละ 2 ครั้ง ให้ทารกกินน้ำผึ้งแบบนี้มาเป็นเดือนแล้ว

ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ได้พรากชีวิตน้อย ๆ จากโลกนี้ไป

หนึ่งในสมาชิกของครอบครัวนี้เล่าว่า พวกเราผสมน้ำผึ้งให้เข้ากับน้ำผลไม้ เพื่อป้อนทารกน้อยวัย 6 เดือน เพราะเราคิดกันว่า มันดีต่อร่างกายของทารก

ในวันที่เหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น ทารกเกิดอาการชัก ต้องทรมานจากภาวะหายใจล้มเหลว เนื่องจากกินน้ำผึ้งที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Clostridium botulinum จากนั้น 1 เดือน ทารกน้อยก็ต้องเสียชีวิตลง

 

Advertisement

อันตรายลูกกินน้ำผึ้งแล้วตายได้

ภาวะโบทูลิซึมจากอาหารคืออะไร

ผศ.นพ. สัมมน โฉมฉาย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า ภาวะโบทูลิซึม เป็นภาวะอาหารเป็นพิษชนิดหนึ่ง ภาวะนี้พบไม่บ่อยแต่อาจก่ออาการที่รุนแรงจนเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ภาวะโบทูลิสมจากอาหารเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษโบทูลิสม (botulism toxin) โดยสารพิษโบทูลิสมเกิดจากการมีเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ปนเปื้อนในอาหารและสร้างสารพิษชนิดนี้ขึ้น สารพิษโบทูลิสมเป็นสารพิษที่รุนแรงมาก การรับประทานสารพิษชนิดนี้ในขนาดน้อยมากเพียง 0.1 ไมโครกรัม (เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสิบล้าน ของน้ำหนักหนึ่งกรัม) ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

เชื้อโรค Clostridium botulinum คืออะไร

เชื้อโรค Clostridium botulinum เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบมากในดิน เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อยเช่นในกระป๋องบรรจุอาหารในขวดที่ปิดสนิท หรือในปี๊บ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแก่การเจริญเชื้อนี้จะหลบอยู่ในสภาพสปอร์ซึ่งคงทนในสภาพแวดล้อมได้ดีมาก และรอจนกว่าจะพบสภาพที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโตและสร้างสารพิษในสภาวะที่มีการเจริญเติบโตนั้น

 

พ่อแม่ต้องระวัง ไม่ให้ทารกกินน้ำผึ้ง

โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism)

เกิดจากการสร้างโคโลนีของเชื้อในทางเดินอาหารของทารก มักเกิดในเด็กอายุตํ่ากว่า 12 เดือน ส่วนใหญ่พบในเด็กทารกอายุระหว่าง 6 สัปดาห์ – 6 เดือน อาการที่พบในเด็กทารกเริ่มด้วย

  • ท้องผูก
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย
  • ดูดกลืนลําบาก
  • ร้องไห้เสียงเบา
  • คออ่อนพับ
  • ไม่มีแรง
  • ซึม
  • กระสับกระส่าย

ทั้งนี้ โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism) เด็กป่วยประมาณร้อยละ 5 มีอาการหายใจไม่ทันหรือชะงักไป หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตกระทันหัน (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS)

 

ไม่รู้เลยว่า การป้อนน้ำผึ้งคือการกำลังป้อนยาพิษให้ลูกหลาน! อุทาหรณ์ทุกครอบครัว ก่อนป้อนน้ำผึ้งทารก ต้องรู้เรื่องนี้ ลูกกินน้ำผึ้งแล้วตายได้นะ

 

ที่มา : si.mahidol.ac.th และ www.pidst.or.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเลี้ยงทารกให้ฉลาด อารมณ์ดี โดยใช้อ้อมกอดของพ่อแม่

4 เรื่องที่ห้ามทำกับทารกเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกเสียชีวิตได้

5 อาหารที่ไม่ควรกินตอนท้อง เพราะอาจทำให้ทารกพิการหรือตายได้

ใครจะจูบใครจะหอมต้องระวัง ลูกเป็นเริมเกือบตายเพราะรอยจูบ


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว