X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เหรียญติดคอลูก อย่าให้เด็กเล่นของชิ้นเล็ก อันตราย! เสี่ยงอุดตันทางเดินอาหาร

บทความ 3 นาที
เหรียญติดคอลูก อย่าให้เด็กเล่นของชิ้นเล็ก อันตราย! เสี่ยงอุดตันทางเดินอาหาร

อย่าให้เด็กเล่นของชิ้นเล็ก เช่น เหรียญ เพราะอาจเกิดสิ่งแปลกปลอมอุดตันในทางเดินอาหารได้

คลิปสยองสำหรับพ่อแม่ เหรียญติดคอลูก

เหรียญติดคอลูก คลิปสยองสำหรับพ่อแม่ เหรียญอันนิดเดียว กลายเป็นเรื่องใหญ่ อันตรายกับลูกน้อยมากกว่าที่คิด

 

คลิกชมคลิปเหรียญติดคอลูก https://www.facebook.com/USharesa

 

สิ่งแปลกปลอมอุดตันในทางเดินอาหาร มักเกิดได้บ่อย เด็กเล็ก ที่เริ่มเอาของเข้าปาก จนถึงวัยที่ชอบลองสำรวจและเคลื่อนไหวไปหยิบสิ่งของเองได้ โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 เดือนถึง 6 ปี เพราะเมือเด็กเอาสิ่งของชิ้นเล็กเข้าปาก ก็อาจหลุดลงไปทำให้เกิดภาวะอุดกั้นของทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจได้ โดยอาการต่างๆจะขึ้นอยู่กับขนาดสิ่งของ และตำแหน่งที่ไปอุดตัน

 

อย่าให้เด็กเล่นของชิ้นเล็ก เช่น เหรียญ

เพราะเหตุใดจึงเกิดสิ่งแปลกปลอมอุดตันในทางเดินอาหารของเด็ก?

จากประวัติที่ได้จากผู้ป่วย มักพบว่า ในเด็กเล็กที่มีสิ่งแปลกปลอมหลุดอุดตันในทางเดินอาหาร นั้นมักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก หยิบใส่ปาก โดยอาจหยิบเองเมื่อพ้นจากสายตาผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่บางคนให้เด็กถือเหรียญเล่น แล้วเด็กเอาเข้าปาก ขอร้องว่าบ้านไหนให้ลูกเล่นเหรียญ เลิกเถิดค่ะ หมอเคยเจอกรณีแบบนี้จริงๆ สงสารเด็กมาก ส่วนในเด็กโตมักเกิดจากความประมาท คือเอามาอมเล่นๆ แล้วเผลอทำหลุดเข้าปากไป

 

อาการของสิ่งแปลกปลอมหลุดอุดตันในทางเดินอาหารของเด็กเป็นอย่างไร?

เมื่อเด็กกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไป อาจจะมีอาการหรือไม่มีเลยก็ได้ทั้งนี้ ขึ้นกับตำแหน่งของเหรียญที่เข้าไปสู่ทางเดินอาหาร สำหรับเด็กเล็กซึ่งหลอดอาหารมีขนาดเล็ก สิ่งของ เช่น เหรียญ ไม่สามารถผ่านลงต่อไปสู่กระเพาะได้ ทำให้เกิดติดค้างอยู่ในหลอดอาหาร จึงเกิดอาการได้แก่ ไม่สามารถกลืนน้ำลายหรืออาหารได้ มีน้ำลายไหลออกจากปาก พูดลำบาก สำหรับเด็กโตหรือสิ่งของมีขนาดเล็กกว่าหลอดอาหารมาก สิ่งของนั้นก็จะหลุดเข้ากระเพาะอาหารลงไปได้ง่าย เด็กจึงไม่มีอาการแสดงผิดปกติใด การวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติจากเด็กเอง ผู้พบเห็นเหตุการณ์ หรือการสังเกตว่ามีสิ่งของชิ้นเล็ก เช่น เหรียญ หายไป

 

การรักษาสิ่งแปลกปลอมหลุดอุดตันในทางเดินอาหารของเด็กทำได้อย่างไร?

คุณหมอจะพิจารณาความเร่งด่วนในการรักษาขึ้นอยู่กับ อาการ อายุผู้ป่วย วัตถุแหลมคมหรือไม่ ขนาดของวัตถุ ตำแหน่งที่อุดตัน และระยะเวลา เช่น ถ้ามีอาการอุดกั้นทางเดินอาหารชัด เช่น กลืนไม่ได้เลย เจ็บหน้าอก หายใจอุดกั้นมีเสียงผิดปกติ หรือเป็นวัตถุที่แหลมคมหรือแบตเตอรีติดค้างในหลอดอาหาร ต้องรีบรักษาโดยด่วนที่สุด

Advertisement

 

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างกรณีของเหรียญเพราะพบได้บ่อยที่สุดนะคะ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาเมื่อเด็กกลืนเหรียญคือทราบตำแหน่งของเหรียญที่กลืนลงไป โดยคุณหมอจะขอตรวจเอ็กซเรย์เพื่อดูตำแหน่งของเหรียญ หากพบว่าติดในหลอดอาหาร โดยไม่มีอาการใด ๆ ก็อาจสังเกตอาการได้ 12-24 ชั่วโมง โดยเอ็กซเรย์ดูตำแหน่งซ้ำ เพราะเหรียญอาจหลุดผ่านหลอดอาหารมายังกระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะหากอยู่ที่ส่วนปลายๆของหลอดอาหาร แต่หากไม่หลุดออกมาเอง คุณหมอทำการส่องกล้องแล้วเอาเหรียญออกมา โดยไม่ปล่อยทิ้งไว้นานเพราะหากเหรียญไปกดหลอดอาหารนานเกินไปอาจทำให้หลอดอาการส่วนนั้นเกิดการขาดเลือดและทะลุ

ในกรณีที่เอ็กซเรย์พบว่าเหรียญผ่านหลอดอาหารหลุดเข้าไปในกระเพาะอาหารหรือลำไส้แล้ว หากเด็กไม่มีอาการผิดปกติ ก็เพียงรอเวลาการทำงานของลำไส้ โดยคอยเฝ้าดูเหรียญที่ปนมากับอุจจาระเด็ก เพราะเหรียญจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวตามการบีบตัวของลำไส้แล้วถ่ายออกมาทางทวารหนักได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่องกล้องเพื่อนำเหรียญออกมา

 

***หากเด็กกลืนสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องรีบไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วน

  • แบตเตอรี ถ่านนาฬิกา เพราะสารเคมีต่างๆ ในนั้นอาจรั่วออกมา ทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ทำให้เกิดการทะลุเป็นอันตรายได้
  • วัตถุปลายแหลม เพราะอาจทำให้เกิดการทะลุของทางเดินอาหาร เกิดแผลติดเชื้อ หรือทางเดินอาหารทะลุได้

 

การป้องกันสิ่งแปลกปลอมหลุดอุดตันในทางเดินอาหารของเด็กทำได้อย่างไร?

หากเราทราบถึงสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ก็ควรป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งแปลกปลอมหลุดอุดตันในทางเดินอาหารของลูกได้ดังนี้ค่ะ

  1. ไม่ทิ้งเด็กเล็กไว้ตามลำพัง ต้องอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ตลอด
  2. เก็บของชิ้นเล็กทุกอย่าง ให้มิดชิด พ้นจากมือเด็กเสมอ
  3. ไม่ให้ลูกเล่นเหรียญไม่ว่ากรณีใด ๆ
  4. ย้ำกับเด็กโตว่า ห้ามเอาสิ่งที่ทานไม่ได้มาอมเล่นโดยเด็ดขาด

 

ทั้งนี้ หากสงสัยหรือทราบว่าลูกกลืนสิ่งแปลกปลอมลงไป ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ ก็ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจประเมินอาการ อย่าปล่อยไว้นานเพราะอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้ ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด อันตรายไหมคะหมอ

ลูกแพ้ยุง แพ้น้ำลายยุง ยุงกัดลูกแล้วบวมปูด แม่เห็นแล้วคันแทน สงสารลูกจับใจ

Top 3 มะเร็งในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ภาวนาไม่อยากให้เป็นลูกเรา

สังเกตให้ดี 5 อาการแบบนี้ ต้องพาลูกไปหาหมอโดยเร็ว

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เหรียญติดคอลูก อย่าให้เด็กเล่นของชิ้นเล็ก อันตราย! เสี่ยงอุดตันทางเดินอาหาร
แชร์ :
  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • 5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

    5 เพลงคลาสสิก พัฒนาสมองลูก พร้อมเคล็ดลับให้เพลงพัฒนาสมองลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว