TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้ ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด อันตรายไหมคะหมอ

บทความ 3 นาที
ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้ ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด อันตรายไหมคะหมอ

แม่ตกใจ ลูกแรกเกิด คลอดปุ๊บมีฟันงอกออกมาเลย แม่ควรทำยังไง ปล่อยไว้ หรือให้หมอถอนฟันทิ้ง แล้วลูกจะเป็นอันตรายอะไรหรือเปล่า

ฟันทารกแรกเกิด ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด

ฟันทารกแรกเกิด …โดยทั่วไปทารกแรกเกิดจะยังไม่มีฟันโผล่ขึ้นมา จนกว่าจะมีการพัฒนาของฟันที่ต่อเนื่องไปอีกจนฟันแข็งแรงจึงเริ่มโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งสาเหตุของฟันโผล่ที่แท้จริงยังไม่ทราบ อาจจากที่มีฮอร์โมนมากระตุ้น การสัมผัสกับสารพิษบางอย่าง การติดเชื้อ การขาดสารอาหารบางอย่าง เป็นต้น

 

พบอุบัติการณ์ประมาณ 1: 2,000 ถึง 1: 3,500 ของการคลอด

อุบัติการณ์นี้จะแปรเปลี่ยนไปตามเชื้อชาติอีกด้วยโดยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับเพศของทารก เรามักพบบ่อยบริเวณฟันกัดของขากรรไกรล่างและขึ้นเป็นคู่สมมาตรกัน ที่พบรองลงมาได้แก่ฟันกัดด้านขากรรไกรบน และฟันกรามด้านล่างตามลำดับ

 

การที่มีฟันของทารกโผล่ขึ้นมาเร็วเกินไป

  • ส่งผลให้มีปัญหาในการดูดนมแม่ได้
  • ทารกอาจมีอาการเจ็บเหงือกขณะดูดนม
  • เกิดแผลที่ใต้ลิ้นจนทำให้ไม่อยากดูดนมจากเต้าได้
  • ทั้งยังมีโอกาสสำลักนมได้มากขึ้น
  • แม่เองอาจมีอาการเจ็บหัวนมได้
  • เด็กทารกเองจะเข้าเต้าได้ยาก ทำให้ดูดนมได้น้อย ขาดการสื่อสารสัมพันธ์แม่-ลูก
  • และอาจส่งผลให้ลิ้นทารกผิดรูปได้

 

ทารกอาจขาดสารน้ำหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจนทารกเติบโตช้าและตัวเล็กได้ ที่สำคัญอีกประการคือต้องปรึกษากุมารแพทย์เพื่อให้ตรวจหาความผิดปกติแต่กำเนิดอื่นๆ ที่อาจแฝงอยู่ได้ เนื่องจากภาวะที่มีฟันโผล่ขึ้นมาก่อนนี้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการโรคพันธุกรรมของเด็กบางชนิดด้วย เช่น Pierre- Robin syndrome , ปากแหว่ง-เพดานโหว่ , และกลุ่มอาการเด็กดาวน์ซินโดรมด้วย

 

ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้

อาการแสดงฟันทารกแรกเกิด

มักพบเป็นฟันสีเหลืองหรือขาว มีขนาดเล็กหรือขนาดเท่าฟันปกติก็ได้ รูปร่างต่างๆ กันไปขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของตัวฟัน โดยที่อาจจะมีรากฟันที่ไม่แข็งแรงส่งผลให้ฟันโยกได้ง่าย จึงมีความเสี่ยงที่ทารกจะกลืนฟัน หรือสำลักเข้าหลอดลมได้

แพทย์มักจะส่งเอกซเรย์ฟันเพื่อแยกว่าเป็นฟันน้ำนมที่ขึ้นเร็ว (พบได้ร้อยละ 90) หรือฟันที่เกินมาซึ่งพบเป็นส่วนน้อยเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น เราสามารถจำแนกประเภทของฟันที่โผล่มาได้หลายแบบ เช่น ตามความลึกของการฝังตัวในเหงือก การปรากฏของรากฟัน และการขยับของตัวฟัน เป็นต้น บางรายอาจแค่คลำพบว่ามีฟันนูนอยู่ใต้เหงือกโดยที่ไม่เห็นโผล่พ้นเหงือกออกมา

 

การรักษาฟันทารกแรกเกิด

เราจำเป็นต้องถอนฟันดังกล่าวทิ้งโดยเฉพาะถ้ามีฟันโยกได้เกิน 2 มิลลิเมตร โดยทันตแพทย์มักจะนัดมาถอนฟันออกหลังจากทารกเกิดแล้วได้ 8- 10 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ทารกได้มีโอกาสรับเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้ที่มีประโยชน์เพื่อช่วยในการสร้างวิตามิน K ซึ่งจำเป็นและเป็นปัจจัยหลักในการแข็งตัวของเลือดเสียก่อน เนื่องจากการถอนฟันดังกล่าวอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือเลือดออกจากเหงือกได้นั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คลิปในห้องคลอดหมอกระแทกท้องแม่ ทั้งกดทั้งดัน อยากรู้ไหมทำไปเพราะอะไร?

สิ่งที่หมอสูติอยากให้แม่รู้ก่อน ดูแลทารกแรกเกิด และการดูแลทารกแรกคลอดในห้องคลอด

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการเด็ก ทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี

 

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้ ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด อันตรายไหมคะหมอ
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว