อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เป็นการที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นทารกในครรภ์ครั้งแรกอย่างชัด ๆ แต่การอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นควรทำได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่เท่าไหร่ ต้องอัลตร้าซาวด์กี่ครั้ง ถึงจะทราบความผิดปกติของทารก และจะปลอดภัยกับทารกในครรภ์หรือไม่ ไปดูกันค่ะ
อัลตร้าซาวด์แต่ละสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เป็นอย่างไรบ้าง
ส่วนใหญ่แล้วการอัลตร้าซาวด์นั้นจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้ง โดยแพทย์จะทำการอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาทิ ติดตามการเจริญเติบโต ตรวจจับความผิดปกติ คาดการณ์กำหนดคลอด ตรวจเช็กตำแหน่งของรก พิจารณาความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ และระบุเพศของทารก โดยในแต่ละสัปดาห์ที่มีการอัลตร้าซาวด์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6-8
การอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 6-8 ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่ใช่ว่าคุณแม่ทุกคนจะได้ทำการสแกนนี้ แต่คุณแม่ที่จะได้รับการสแกนนั้นจะเป็นคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงบางอย่าง อาทิ มีเลือดออก ปวดท้อง และมีประวัติมีทารกที่พิการตั้งแต่กำเนิด หรือการแท้งบุตร โดยในช่วงของสัปดาห์ที่ 6-8 นี้ คุณแม่จะสามารถมองเห็นการเต้นของหัวใจของทารกได้ นอกจากนี้ยังเป็นการกำหนดวันคลอด แจ้งจำนวนทารกในครรภ์ และตรวจเช็กว่าคุณแม่นั้นตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือไม่อีกด้วย
-
อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10-13
การอัลตร้าซาวด์ในสัปดาห์ที่ 10-13 ของการตั้งครรภ์นั้นเป็นการตรวจสอบเหมือนกับคุณแม่ที่ตรวจช่วงสัปดาห์ที่ 6-8 เหมือนกันเป็นการเก็บตกคุณแม่ที่ไม่ได้เข้ารับการตรวจ หรือเพิ่งทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ โดยในช่วงนี้แพทย์จะแจ้งเรื่องของกำหนดวันคลอด จำนวนทารก อัตราการเต้นของหัวใจทารก และทำการวัดขนาดของทารกในครรภ์ ซึ่งจะวัดตั้งแต่หัวจนถึงก้นกบ เพื่อให้ทราบถึงอายุครรภ์ที่แท้จริง และตรวจสอบพัฒนาการของทารกในครรภ์
-
อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14-20
ในช่วงของการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14-20 คุณแม่อาจได้รับการตรวจคัดกรองดาวน์ หรือ Nuchal Translucency (NT) เพื่อตรวจหากลุ่มอาการดาวน์ หัวใจบกพร่อง หรือความผิดปกติของโครโมโซมอื่น ๆ ของทารกในครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะพบว่ามักจะเกิดขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติของทารกแต่กำเนิดมาก่อน ซึ่งในการอัลตร้าซาวด์ แพทย์จะวัดความหนาที่ด้านหลังคอของทารก หากคอที่มีความหนานั้นอาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่ทารกจะพิการตั้งแต่กำเนิดที่เกิดจากดาวน์ซินโดรม และไทรโซมี 18 มากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจดาวน์ซินโดรม ต้องตรวจตอนอายุครรภ์เท่าไหร่? ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
-
อัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18-20
การอัลตร้าซาวด์ในสัปดาห์ที่ 18-20 หรือในช่วงของไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์จะเป็นตรวจแบบละเอียด ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าปกติประมาณ 20-45 นาที ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจร่างกายที่ละเอียดมากที่สุดก่อนที่จะคลอดเลยก็ว่าได้ โดยแพทย์จะทำการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ และมองหาความผิดปกติของสมอง หัวใจ ไต และตับของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการนับจำนวนนิ้วมือและนิ้วเท้า เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายนอก รวมถึงมีการตรวจหาความผิดปกติของรก และวัดระดับของน้ำคร่ำอีกด้วย และที่น่าตื่นเต้นที่สุดของการตรวจครั้งนี้คือคุณจะสามารถทราบเพศของทารกในครรภ์ได้แล้ว
-
อัลตร้าซาวด์ในไตรมาสสุดท้าย หรือตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป
ช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 นั้นคุณแม่บางท่านอาจไม่ต้องการอัลตร้าซาวด์ แต่ถ้าหากการตั้งครรภ์ของคุณแม่นั้นมีความเสี่ยงสูง อาทิ ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก ระดับน้ำคร่ำต่ำ มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรืออายุของคุณแม่มากกว่า 35 ปีขึ้นไป แพทย์อาจทำการอัลตร้าซาวด์ให้คุณแม่อีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าทารกในครรภ์นั้นยังปลอดภัยดี และสามารถอยู่ในครรภ์ได้จนกว่าจะครบกำหนดคลอด ทั้งนี้หากคุณแม่ได้ทำการอัลตร้าซาวด์ในช่วงสัปดาห์ที่ 20 จะได้รับการแจ้งเรื่องของการปกคลุมของรกที่จะครอบคลุมปากมดลูกด้วย แต่ถ้าหากมีความปกติอย่างรกเกาะต่ำจะต้องทำการแก้ไขและติดตามผลกันต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : หมอนัดตรวจครรภ์ เดือนละกี่ครั้ง จำเป็นต้องไปตรวจครรภ์ทุกครั้งไหม?
อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ คืออะไร?
การอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ (Ultrasounds 3D) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการรับสัญญาณเพื่อสร้างภาพเนื้อเยื่อ อวัยวะ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทารกที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งการทำงานของการอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นจะเหมือนกันการอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ แต่จะให้ภาพที่คมชัด และสามารถสังเกตเห็นร่างกายของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สมจริงมากยิ่งขึ้นเหมือนกับได้เห็นทารกตัวจริง ๆ จากจอภาพที่แสดงผลการอัลตร้าซาวด์
ประโยชน์ของการ อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ คืออะไร?
เนื่องจากภาพอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นมีความคมชัดมากกว่าการอัลตร้าซาวด์ 2 มิติที่เป็นสีขาวดำ และสามารถหมุนมุมภาพได้แค่จามการขยับของหัวสแกน ดังนั้นจึงสามารถเป็นตัวช่วยที่ทำให้แพทย์เข้าใจ และเห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้มากขึ้น ซึ่งทำให้แพทย์นั้นสามารถทำการรักษา หรือแจ้งปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางร่างกายของทารกให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ทราบก่อนล่วงหน้า โดยส่วนใหญ่แล้วที่แพทย์มักพบอาการผิดปกติของทารกเป็นอาการผิดปกติดังต่อไปนี้
- ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft Lip, Cleft Palate)
- ความพิการแต่กำเนิด (Congenital Anomalies)
- กะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ(Craniosynostosis)
- ความบกพร่องของท่อประสาท (Neural Tube Defects)
- ภาวะกระดูกสันหลังโหว่ (Spina Bifida)
- ปัญหาโครงสร้างกระดูกผิด (Skeletal Malformations)
สามารถอัลตร้าซาวด์ 3 มิติได้ตอนอายุครรภ์เท่าไหร่ ?
สำหรับการอัลตร้าซาวด์ 3 มิตินั้นคุณแม่คุณพ่อสามารถยื่นความประสงค์ให้กับคุณหมอได้ตลอดการตั้งครรภ์ โดยอาจเป็นการอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ สลับกับอัลตร้าซาวด์ 2 มิติแบบเดิมก็ได้ แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นในการนัดพบแพทย์ แต่ถ้าเป็นการแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ แพทย์จะแนะนำให้ทำในช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24 ถึงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์ เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่สามารถเห็นพัฒนาการทางร่างกายของทารกได้อย่างชัดเจนแล้ว และยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าที่น้ำคร่ำ หรือตำแหน่งของกระดูกเชิงกรานจะปิดบังร่างกายของทารกจนมองอะไรไม่เห็น
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำน้อย น้ำคร่ำมาก อันตรายไหม แม่ท้องมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง
การอัลตร้าซาวด์ปลอดภัยสำหรับทารกหรือไม่
คลื่นอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ถ่ายภาพทารกที่อยู่ในครรภ์นั้น ทำให้ทารกได้รับพลังงานจากการอัลตร้าซาวด์ในรูปแบบของความร้อน ในบางกรณี ความร้อนอาจทำให้ทารกในครรภ์นั้นพิการตั้งแต่กำเนิดได้ ดังนั้นในการอัลตร้าซาวด์ครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์จะต้องยึดหลักการ ALARA : As Low As Reasonably Achievable หรือ หลัก 3 ประการในการป้องกันอันตรายจากรังสี และเลือกใช้ปริมาณรังสีให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ในทางการแพทย์ และจำกัดระยะเวลาที่ใช้ในการอัลตร้าซาวด์ให้น้อยที่สุด แต่ได้ข้อมูลครบถ้วน ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ทารกในครรภ์ที่กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับพลังงานจากภายนอกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สำหรับการอัลตร้าซาวด์นั้นถือว่าไม่ได้เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์มากจนเกินไป แต่จะต้องเป็นการการอัลตร้าซาวด์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์ดูแลครรภ์เท่านั้น ไม่สามารถทำเองได้ ดังนั้นการไปพบแพทย์ในทุกครั้งที่แพทย์นัดจึงมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะได้เห็นเจ้าตัวน้อยแล้ว ยังได้ทราบถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในช่วงตั้งครรภ์ก็เป็นได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของทารกได้หรือไม่ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 63
เจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรบ้าง? บอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้หรือ?
หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน เดือนนี้หมอนัดแล้วไม่ไปได้ไหม ไปเดือนหน้าได้ไหม
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอัลตร้าซาวด์ 3 สามมิติ ได้ที่นี่!
อัลตร้าซาวด์ 3 มิติ เป็นอย่างไรคะ อันตรายรึเปล่าคะ
ที่มา : parents, utswmed, parents
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!