เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอบการเขียน เหตุผลคืออะไร มาดูข้อมูลกัน
เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอบการเขียน จริงหรือไม่ที่เด็กไทยยุคใหม่ ไม่ชอบ การอ่าน การเขียน เราจะต้องมาดูข้อมูลกันว่า สถิตินี้ บอกอะไรเราได้บ้าง? และ ทำไมเด็กไทย ยุคใหม่เหล่านี้ ถึง ไม่ชอบเขียนกันหลายต่อหลายคน จนต้องมีงานวิจัยออกมา
เด็กไทยยุคใหม่ทำไมไม่ชอบการเขียน
เด็กไทยติด Social Media มากขนาดนั้นเลยหรือ?
เด็กไทยยุ คใหม่ไม่ชอบการเขียน
– สิ่งแรกที่เด็กไทยร้อยละ 51.1 ทำอย่างแรกหลังจากตื่นนอนคือการเช็คโทรศัพท์มือถือ
– สิ่งสุดท้ายที่เด็กไทยร้อยละ 35 ทำก่อนนอนคือการเล่น Facebook และ LINE
– เด็กไทยมีตัวเลขการใช้โทรศัพท์มือถือสูงขึ้น 2-3 เท่าในหนึ่งปี
– เด็กไทยร้อยละ 75.7 เล่น Social Network บ่อยจนไปถึงประจำ
– เด็กนักเรียนหญิงเล่น Social Network มากกว่านักเรียนชาย
– เด็กไทยร้อยละ 20.3 มีการใช้มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ
– เด็กไทยร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์
– เด็กไทยร้อยละ 28.7 ระบุว่าถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันบน Social Media
นอกจากนี้ผลวิจัยจากบริษัทมือถือแห่งหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นไทยมีมือถือและใช้มือถืออันดับหนึ่งของเอเชีย ทั้งทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่ง แถมวัยรุ่นไทยมีเพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับหนึ่ง สถิติการมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของเด็กไทยยังสูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย ร้อยละ 23 ของวัยรุ่นไทยบอกอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ =_=!
สถิตินี้กำลังบอกอะไรกับเราอยู่? กำลังบอกว่าลูกหลานของเรามีเพื่อนเป็น “โทรศัพท์มือถือ” กันอยู่ใช่หรือไม่? หรือกำลังบอกไปถึงสาเหตุของอะไรบางอย่างที่เรากำลังค้นหาเหตุผล เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กไทย ที่ส่งผลให้ปัจจุบันนักบำบัดและจิตแพทย์เด็กต้องมาทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาให้กับเด็กที่เกิดมามี “ภาวะปกติ” มากกว่าเด็กที่มีภาวะพิเศษแบบต่าง ๆ กันอยู่ค่ะ
เปลี่ยนผู้ร้าย IT ให้เป็นพระเอกตัวจริง
เราจะฝึกลูกให้พัฒนาสมองได้อย่างไร?
เด็กไทยยุคให ม่ไม่ชอบการเขียน
กล้ามเนื้อมือ เป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ในการพัฒนาสมองของลูกค่ะ เพราะนิ้วมือแต่ละนิ้วของลูกมีความสัมพันธ์กับสมองในแต่ละส่วนและการพัฒนาด้านต่าง
– นิ้วโป้ง สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหน้าซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านจิตใจ
– นิ้วชี้ สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหลังซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความคิด
– นิ้วกลาง สัมพันธ์กับสมองกลีบข้างขม่อมซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย
– นิ้วนาง สัมพันธ์กับสมองกลีบขมับซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการฟัง
– นิ้วก้อย สัมพันธ์กับสมองกลีบท้ายทอยซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการมอง
เด็กควรได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำมาก ๆ
นักการศึกษาหลายท่านจึงมุ่งเน้นการพัฒนาเด็ก ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะได้ฝึกกำลังของกล้ามเนื้อมือแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญานไปพัฒนาสมองส่วนต่าง ๆ ของเด็กได้อีกด้วย ความลับของสมองอีกข้อหนึ่ง คือการปฏิวัติตนเองแบบอัตโนมัติทุก ๆ 7 ปี ไปสู่การพัฒนาในขั้นที่สูงขึ้น
เด็กหลายคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะใดใดมาก็อาจจะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้ไปถึงขั้นสูงสุดของศักยภาพสมอง เพราะในช่วงสำคัญ 0-7 ปี มีโอกาสในการได้ใช้นิ้วมือทั้ง 5 เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส อาทิ ทราย แป้งปั้น น้ำ ฯลฯ น้อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ เมื่อกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสนี้มีข้อมูลที่น้อย
การนำความจำเดิมที่เป็นประโยชน์ตอนที่สมองปฏิวัติตนเองก็เลยไปไม่ถึงจุดสูงสุด เมื่อเด็กโตขึ้นจนเลยวัยสำคัญ ปัญหาของการใช้ “นิ้วมือ” ที่น้อยก็จะไปส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กไทย ดังที่เห็นในงานวิจัยค่ะ
การใช้โทรศัพท์ สัมพันธ์กับการเขียน
เด็กไทยยุคใหม่ไ ม่ชอบการเขียน
แล้วเกี่ยวอย่างไรกับการเขียน? ปัญหาเรื่องลายมือ ปัญหาเรื่องการเขียนกลับด้าน ปัญหาเรื่องการมีความพยายามต่ำ ฯลฯ เป็นปัญหาที่มีจุดเริ่มต้นมาจากวิถีชีวิตในปัจจุบันทั้งสิ้นค่ะ การออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราซึ่งเป็นแม่บ้านในยุคใหม่
สามารถเลี้ยงลูกได้อย่างสะดวกสบายขึ้น กลายมาเป็นตัวขวางการพัฒนาการของข้อมือของเด็กในช่วงที่ถึงวัยต้องจับปากกาดินสอ ก็เพราะว่า “ที่พยุงเด็กฝึกเดิน” ไปทำให้โอกาสในการคลานของเด็ก ๆ “ลดลง” แบบที่เราก็ไม่เคยคาดคิดค่ะ
เมื่อข้อต่อบริเวณข้อมือไม่ได้ฝึกรับน้ำหนักมาตั้งแต่วัยหัดคลาน พอถึงวัยหัดเขียนคุณพ่อคุณแม่หรือแม่กระทั่งคุณครู ต้องมาเห็นบรรยากาศการวาดรูปด้วยน้ำตาของลูกแทนที่จะเป็นการปลดปล่อยจินตนาการ
นักบำบัดจึงเข้ามามีบทบาทในการฝึกคลาน หรือฝึกทำท่าไถนา (ให้เด็กใช้มือตั้งศอกตรงวางลงบนพื้นและผู้ฝึกยกขาให้เด็กเดินไปข้างหน้าเหมือนไถนา) นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เครื่องอำนวยความสะดวกเข้ามาทำหน้าที่จนทำให้เราเสียโอกาสในการพัฒนาลูกแบบที่หลายครอบครัวคงคิดไม่ถึงนะคะ
ทำให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน
การสอนต้องมาพร้อมกับความสนุก
เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอ บการเขียน
ทั้งนี้เมื่อรวมเข้ากับวิธีการใช้ชีวิต ของ คุณพ่อ คุณแม่ Generation Y อย่าง พวกเราแล้วละก็ ยังมีอีก หลายข้อ ที่ ความสะดวกรวดเร็ว กำลังกลับมาเป็นปัญหา ที่ต้องมา แก้เมื่อ ลูกถึงวัยที่ควรจะ พัฒนาได้ค่ะ จาก ปัญหาการไม่อยากขีด ๆ เขียน ๆ มาประกอบ กับ การแทนที่ ของเครื่องมือ ลาก ๆ จิ้ม ๆ ที่ง่าย สำหรับการใช้งาน เเถมยังสนุก เพราะเป็น
การกระตุ้นสมองด้านเดียว คือ ด้านความคิด (ส่วนใหญ่ใช้นิ้วชี้) เด็ก ๆ จึงสนุกคิด แต่ไม่สนุกทำ ความสามารถในการคิดฝันจิตนาการ project ต่าง ๆ สูงลิ่ว แต่ความสามารถในการลงมือทำต่ำแบบสวนทางกันค่ะ
จึงไม่น่าแปลกใจที่วัยประถมศึกษา จะเป็นวัยที่พบว่าเด็กมีปัญหาในการเรียนสูงมากขึ้น ๆ เมื่อถึงวัยมัธยมก็ได้กลายไปเป็นเด็กหลังห้องให้คุณครูและผู้ปกครองตามแก้กันอย่างน่าปวดหัวค่ะ
การเขียนของเด็กในวันนี้สะท้อนภาพอะไรที่มากมาย เราลองกลับมาให้เครื่องมือง่าย ๆ เช่น กะบะทราย ดินสอ สี กระดาษ ใบไม้ใบหญ้า หรือดินเหนียวกับลูก ๆ ให้ลูกได้เรียนรู้จากสัมผัสที่มากพอเพื่อเป็นประสบการณ์ของสมองที่สมดุลย์ ก่อนที่จะต้องกลับมาซ่อมแซมและสร้างสมดุลย์ที่เสียไปกันดีไหมค่ะทุกท่าน ^_^
โดย ครูป๋วย
Source : nytimes
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
15 นิทานอีสป นิทานสอนเด็ก คติสอนใจ อ่านสนุกสาระเน้น ๆ
7 วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
วิธีดูเพศลูกในใบซาวด์ อ่านผลอัลตร้าซาวด์ยังไง ซาวด์ตอนไหนเห็นเพศชัดสุด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!