X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องหมดกังวล ง่าย ๆ หายได้ด้วยตัวเอง

บทความ 5 นาที
ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องหมดกังวล ง่าย ๆ หายได้ด้วยตัวเอง

สำหรับอาการปวดอุ้งเชิงกรานตอนท้อง คือ อาการปวดที่อยู่บริเวณอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณท้องน้อย เพราะภายในบริเวณนี้มีอวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลายอย่างทั้งกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ มดลูก รังไข่ รวมไปจนถึงกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ อีกด้วย โดยอาการส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพยาธิสภาพที่อวัยวะใดก็ตาม สามารถทำให้มีอาการ ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ ได้ทั้งหมดเลยค่ะ

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร?

อาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติของการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางกรณีที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์

สาเหตุที่พบได้บ่อย:

  • การขยายตัวของมดลูก: ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ มดลูกจะเริ่มขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดหน่วงๆ หรือตึงบริเวณอุ้งเชิงกรานได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้ข้อต่อและเส้นเอ็นบริเวณอุ้งเชิงกรานคลายตัว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดได้
  • อาการปวดเอ็นยึด: เส้นเอ็นที่พยุงมดลูกจะยืดออกและตึงขึ้นเมื่อมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดแปลบๆ หรือปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยหรือขาหนีบ มักเป็นในช่วงไตรมาสที่สอง
  • แรงกดทับ: เมื่อครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น จะกดทับอวัยวะต่างๆ ในอุ้งเชิงกราน เช่น กระเพาะปัสสาวะ ทำให้รู้สึกไม่สบายหรือปวดได้
  • ท้องผูก: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกและปวดท้องน้อยได้

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม ?

ปวดอุ้งเชิงกราน  มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงหลังคลอด โดยอาการปวดกระดูกเชิงกรานมักไม่ได้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในท้อง แต่อาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่บ้างในบางครั้งหากมีอาการปวดอย่างรุนแรงเกิดขึ้น ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามอาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

 

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

อาการปวดอุ้งเชิงกรานที่ไม่เป็นอันตราย

Advertisement
  • ปวดหน่วงๆ ตึงๆ บริเวณท้องน้อย
  • ปวดแปลบๆ ที่ขาหนีบ (อาการปวดเอ็นยึด)
  • อาการปวดไม่รุนแรงและค่อยๆ ดีขึ้น
  • ไม่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด คลื่นไส้ อาเจียน

อาการปวดอุ้งเชิงกรานที่อาจเป็นอันตรายและควรไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดท้องน้อยรุนแรง: ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือปวดตลอดเวลา
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด: เลือดออกมาก เลือดสด หรือมีลิ่มเลือด
  • ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งอย่างรุนแรง: อาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • มีอาการอื่นร่วมด้วย:
    • ไข้ หนาวสั่น
    • ปัสสาวะแสบขัด หรือปัสสาวะบ่อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • หน้ามืด วิงเวียน
    • มดลูกแข็งตัวเป็นพักๆ ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ (อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด)
    • น้ำเดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุ้งเชิงกรานแคบ กระดูกอุ้งเชิงกรานแคบ คนท้องคลอดเองได้ไหม

 

 

อะไรทำให้แม่ท้องปวดเชิงกรานมากขึ้น

  • การเดินนาน ๆ
  • การเดินเร็ว ๆ
  • การขึ้นลงรถ หรือเตียง
  • การพลิกตัวบนที่นอน
  • การนอนราบ
  • การนั่งยอง ๆ
  • การขึ้น-ลงบันได
  • การยืนขาเดียว (เช่น เวลาแต่งตัว ใส่กางเกง)
  • การเปลี่ยนท่าทางจากนั่งเป็นยืน
  • การวิ่ง และกระโดด

 

ทำอย่างไรให้หายปวดเชิงกราน

  • ใช้ไอซ์แพ็กประคบบริเวณที่ปวดประมาณ 20 นาทีทุก 2-3 ชั่วโมง ควรห่อไอซ์แพ็กก่อน เพื่อไม่ให้น้ำแข็งสัมผัสผิวหนังโดยตรง
  • ยืนตัวตรง นั่งหลังตรง
  • ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์
  • นั่งรถเข็นแทนการเดินไกล ๆ
  • จัดท่าทางที่ช่วยลดอาการปวดเชิงกราน จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้น

 

ปวดอุ้งเชิงกราน ตั้งครรภ์

 

ทำอย่างไรไม่ให้ปวดเชิงกรานมากขึ้น

  • เวลาเดินให้เดินก้าวสั้น ๆ และเดินเพียงใกล้ ๆ
  • หลีกเลี่ยงงานบ้านที่ต้องใช้แรงเยอะ
  • แบ่งงานใหญ่ ๆ ให้เป็นกิจกรรมย่อย ๆ
  • ทำไปพักไป อย่าหักโหม
  • เวลาพลิกตัวบนที่นอนควรรวบเข่าให้ชิดกัน
  • นอนตะแคงข้างโดยใช้หมอนหนุนขาไว้
  • นอนพักให้ถูกท่า
  • เมื่อท้องโตแล้วให้ใช้หมอนช่วยเสริม

 

ใครมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดกระดูกเชิงกรานบ้าง

จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 5 ของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ มักจะมีอาการปวดกระดูกเชิงกราน (PGP) แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน จึงส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์แค่เพียงบางคนเท่านั้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจเชื่อมโยงกับปัญหาหลายประการ เช่น ความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นกับกระดูกเชิงกราน หรือข้อต่ออุ้งเชิงกรานมีการเคลื่อนไหวไม่สม่ำเสมอ รวมถึงตำแหน่งของทารกในครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปวดอุ้งเชิงกราน ขณะตั้งครรภ์ เจ็บท้องน้อย ปวดจี๊ด จะเป็นอันตรายหรือไม่

 

เมื่อไหร่ควรรับการรักษาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์?

การได้รับการวินิจฉัยเร็วจะสามารถช่วยรักษาอาการปวดให้เหลือน้อยลงได้ โดยเฉพาะการรักษาเมื่อขยับข้อต่อไม่ได้ เพราะได้รับผลกระทบที่รุนแรง หากคุณแม่รู้สึกปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ควรแจ้งให้คุณหมอทราบโดยตรง เพราะปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะไม่หายขาด จนกระทั่งคลอด และการรักษาจะช่วยบรรเทาอาการได้ค่ะ

 

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องหมดกังวล ง่าย ๆ หายได้ด้วยตัวเอง

 

การรักษาอาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

เมื่อเกิดอาการปวดอุ้งเชิงกรานในระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ สามารถทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวดได้เลยค่ะ เพื่อเป็นการปรับปรุงการทำงานกล้ามเนื้อ แถมยังช่วยให้ข้อต่ออุ้งเชิงกรานอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องอีกด้วย

  • ทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยให้ข้อต่อของกระดูกเชิงกราน สะโพก และกระดูกสันหลัง กลับมาเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
  • พยายามออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หน้าท้อง หลัง และกล้ามเนื้อสะโพกอยู่เสมอ
  • ออกกำลังกายในน้ำเพื่อให้อาการปวดบรรเทาลง
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยไม่ว่าจะเป็นไม้ค้ำ หรือเข็มขัดพยุงกระดูกเชิงกรานก็ทำให้คุณแม่ปวดน้อยลง
  • การบรรเทาอาการปวดด้วยการใช้ยารักษา

 

วิธีรับมือกับอาการปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

ส่วนใหญ่นักกายภาพบำบัดมักจะแนะนำให้ใช้เข็มขัดพยุงกระดูกเชิงกรานเป็นตัวช่วยด้วย เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด หรือไม่ก็ใช้ไม้ค้ำ เพื่อช่วยให้คุณแม่เดินได้สะดวก แต่สำหรับคุณหมอบางท่านก็อาจจะมีคำแนะนำเสริมอีก ได้แก่

 

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
  • ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น
  • พยายามสวมรองเท้าแบน และมีการรองรับแรงกระแทกได้ดี
  • ให้คุณแม่หนีบหัวเข่าเข้าด้วยกัน ขณะเข้าและออกจากรถค่ะ
  • นอนท่าที่สบาย โดยมีหมอนรองระหว่างขาด้วยค่ะ โดยเฉพาะท่านอนตะแคง
  • ให้หาวิธีพลิกตัวตอนอยู่บนเตียงด้วยวิธีต่าง ๆ กัน เช่น ให้ใช้เข่าทั้ง 2 ข้าง และกระเถิบก้นเพื่อเคลื่อนที่
  • ก้าวขึ้นบันไดทีละก้าว หรือจะใช้วิธีถอยหลังขึ้นบันไดแทนก็ได้ค่ะ
  • ห้ามยืนบนขาข้างเดียวในขณะแต่งตัว
  • พยายามเลี่ยงการอุ้มทารกไว้บนสะโพกข้างเดียว
  • ให้เลี่ยงการนั่งไขว้ขา
  • ไม่ยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป

 

ปวดอุ้งเชิงกรานคลอดธรรมชาติได้ไหม ?

คุณแม่ที่มีอาการปวดอุ้งเชิงกรานในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติได้ แต่อาจจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับแผนการคลอดบุตรกับคุณพ่อหรือคุณหมอไว้ก่อนค่ะ และที่สำคัญก็เพื่อลดอาการปวดของคุณแม่ลงด้วยนั่นเอง หากปล่อยทิ้งไว้นานตอนคลอดจะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดมาก ๆ เลยค่ะ

 

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางราย ความเจ็บปวดนี้บางครั้งมันยังสามารถปวดไปจนถึงต้นขา และทำให้ได้ยินเสียงคลิก หรือรู้สึกขัด ๆ บ้างในบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการได้อย่างชัดเจนเวลาเดินขึ้นบันได หรือขณะพลิกตัวอยู่บนเตียง หากมีอาการปวดมากเกินไปจนรู้สึกใช้ชีวิตยากขึ้น คุณแม่ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันทีนะคะ เพราะอาการนี้จะไม่หายไป จนกว่าจะคลอดลูกเลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ภาวะคลอดยาก cpd คือ อะไร อุ้งเชิงกรานแม่แคบ ลูกหัวโต ต้องผ่าคลอดเท่านั้น

การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์สำคัญอย่างไร

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 81 คนท้อง กับ ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน

ที่มา : mali, agnoshealth

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Weerati

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ แม่ท้องหมดกังวล ง่าย ๆ หายได้ด้วยตัวเอง
แชร์ :
  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว