X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

บ้านไหน ลูกชายชอบจับจุ๊ดจู๋ไม่เลิก เชิญทางนี้

บทความ 3 นาที
บ้านไหน ลูกชายชอบจับจุ๊ดจู๋ไม่เลิก เชิญทางนี้

เร่เข้ามา เร่เข้ามา บ้านไหนมีลูกชายชอบจับจุ๊ดจู๋เป็นประจำ ห้ามเท่าไรไม่ฟัง ขอเชิญทางนี้เลยค่ะ

คุณแม่บ้านไหนมีลูกชายแล้วเจอปัญหาลูกชายชอบโชว์ชอบจับจุ๊ดจู๋กันบ้างคะ … ถ้าคุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่ละก็ มาไขข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้กัน

ลูกชาย ชอบจับจุ๊ดจู๋

คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า การที่ลูกชายของเราชอบจับชอบเล่นจุ๊ดจู๋ของตัวเองไม่เลิกนั้น เป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กในแต่ละวัย อาจจะมีบ้างที่คุณพ่อคุณแม่มองว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และตะคอกหรือต่อว่าลูกว่า ลูกเป็นโรคจิตหรือหมกมุ่น ซึ่งการต่อว่าลูกเช่นนี้ เป็นผลเสียเป็นอย่างมากเลยละค่ะ เพราะจะทำให้พวกเขาคิดว่า เรื่องเพศเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ และพวกเขาจะรู้สึกกลัวเมื่อพวกเขาโตขึ้น

ตามหลักแล้ว การเล่นอวัยวะเพศของเด็กนั้น ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจกับอวัยวะต่าง ๆ บนร่างกาย จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่พวกเราจะนิ่งนอนใจและปล่อยให้ลูกทำพฤติกรรมดังกล่าวไปเรื่อย ๆ โดยไม่สืบหาสาเหตุ เนื่องจากมีผลการวิจัยพบว่า ปัญหาพฤติกรรมทางเพศกับการคุกคามทางเพศนั้นมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยหลาย ๆ อย่างไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ลักษณะของครอบครัว สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมทางเพศของเด็ก เป็นต้น

เราสามารถแบ่งลักษณะของเด็กที่ชอบเล่นจุ๊ดจู๋ของตัวเองได้ตามแต่ละช่วงวัย ดังนี้

Advertisement
  1. วัยแรกเกิดถึงสามขวบ เด็กที่อยู่ในวัยนี้ ชอบที่จะเรียนรู้และสัมผัสอวัยวะต่าง ๆ บนร่างกาย จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นพวกเขาชอบที่จะจับจุ๊ดจู๋เล่นในระหว่างที่เรากำลังเปลี่ยนผ้าอ้อม จนในบางครั้งทำให้อวัยวะเพศของเขาแข็งตัวบ่อยกว่าปกติ
  2. วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้เริ่มสังเกตเห็นถึงความแตกต่างทางเพศระหว่างเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายแล้ว และแน่นอนเริ่มรับรู้ว่าตัวเองเป็นเพศอะไร ถ้าสังเกตให้ดี เด็กวัยนี้จะชอบสัมผัสจุ๊ดจู๋ของตัวเองในบ้านหรือในที่สาธาณะอีกด้วย
  3. วัยหกปีถึงแปดปี เด็กวัยนี้จะเริ่มเล่นอวัยวะเพศของตัวเองน้อยลง แต่จะเริ่มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ปกครอง หรือญาติที่มีเพศเดียวกันกับคน และเริ่มให้ความสนใจในเรื่องของบทบาททางเพศ

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ!

เพราะคุณพ่อคุณแม่คือ บุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่เขาเกิด จึงไม่แปลกที่จะสามารถรับรู้ถึงปัญหาดังกล่าวได้ดี  ดังนั้น ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าวละก็ วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

  • ในเบื้องต้น ควรหลีกเลี่ยงการสร้างอคติต่อเรื่องเพศว่า เป็นสิ่งสกปรกและไม่เหมาะสม แม้ในขณะที่ลูกมีพฤติกรรมเล่นอวัยวะเพศ
  • สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติเวลาเห็นเด็กเล่นอวัยวะเพศ คือ ชักสีหน้าโกรธ ตกใจ หรือพูดต่อว่าลูกที่ชอบเล่นอวัยวะเพศ
  • ควรเตรียมตัวรับมือกับคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศจากเด็กเล็ก โดยเปิดใจกว้างที่จะรับฟังคำถามของเด็ก และพยายามแสดงให้เด็กเห็นว่าคำถามของพวกเขาไม่ใช่เรื่องผิด
  • ช่วยเหลือเด็กเรียนรู้เกี่ยวกับอวัยวะของพวกเขาภายในขอบเขตที่เหมาะสม เช่น สอนให้เด็กรู้ว่า ที่ไหนคือพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะ และควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ทำไมการสัมผัสอวัยวะเพศไม่ควรทำเวลาอยู่ในที่สาธารณะ เพราะอวัยวะเพศเป็นส่วนที่ควรได้รับการดูแลที่เหมาะสมในที่ลับตาคน และเป็นของหวงที่ไม่ควรให้ใครดู เป็นต้น
  • สอนให้เด็กรู้จักชื่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่ายกายบนร่างกายที่ถูกต้องรวมไปถึงอวัยวะเพศด้วย
  • สอนเด็กให้รู้จักหน้าที่ของแต่ละอวัยวะ
  • สอนเรื่องความแตกต่างทางร่างกายระหว่างเด็กผู้ชายกับเด็กผู้หญิง
  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกลอกเลียนแบบพฤติกรรมทางเพศที่ผิด อาทิพ่อแม่ไม่ควรเล่นมุข พูดคุยกันด้วยเรื่องใต้สะดือต่อหน้าเด็ก เนื่องจากเด็กขาดความรู้เรื่องศัพท์ทางเพศ เป็นต้น

ที่มา: Taamkru

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

จุ๊ดจู๋ลูกน้อยชี้โด่บ่อย ๆ ปกติหรือไม่นะ

จุ๊ดจู๋ลูกชาย ขลิบดี ไม่ขลิบดี

parenttown

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • บ้านไหน ลูกชายชอบจับจุ๊ดจู๋ไม่เลิก เชิญทางนี้
แชร์ :
  • เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

    เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

  • พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

    พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  • เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

    เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

  • พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

    พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว