X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว ชี้โด่บ่อย ๆ ปกติหรือไม่ ไขข้อข้องใจได้ที่นี่

บทความ 5 นาที
ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว ชี้โด่บ่อย ๆ ปกติหรือไม่ ไขข้อข้องใจได้ที่นี่

ในฐานะคุณแม่มือใหม่เป็นเรื่องธรรมดา ที่อาจกังวลในครั้งแรก หลังจากที่สังเกตเห็นว่า ลูกชายวัยเตาะแตะได้ค้นพบตัวเอง และมีพฤติกรรมชอบสัมผัสกับอวัยวะเพศของตัวเอง เช่น ดึงอวัยวะเพศ หรือ ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว คุณแม่บางคนยังไม่แน่ใจ หลังจากสังเกตเห็นว่าอวัยวะเพศมีการแข็งตัว อีกทั้งยังไม่แน่ใจว่าจะตอบสนองต่อพฤติกรรมดังกล่าวอย่างไร เช่น เมื่อลูกวัยเตาะแตะจับอวัยวะเพศของพ่อแม่

สำหรับเด็กผู้ชายส่วนใหญ่ อาจมีนิสัยชอบเล่นกับอวัยวะเพศของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพฤติกรรมเหล่านี้ ไม่เป็นปัญหาทางการแพทย์ ก็ถือเป็นพฤติกรรมที่ปกติ และพ่อแม่ก็ไม่ควรกังวลมากจนเกินไป ไม่ควรดุลูก ว่าไปจับอวัยวะเพศเล่นทำไม? เพราะอาจทำให้ลูกเกิดความรู้สึกไม่ดีติดตัว สำหรับพ่อแม่บางคนที่กังวลมากจนเกินไปโปรดมั่นใจว่า ไม่มีการศึกษา หรือหลักฐานทางการแพทย์ใดที่ระบุว่าพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องผิดปกติ

 

เพศเป็นสิ่งธรรมชาติ

ด้วยการแบ่งแยกตั้งแต่กำเนิดของเพศสภาพ เพศหญิงและชาย มีการแบ่งแยกมาแล้วตั้งแต่แรกเกิด แม้บางราย จะมีความผิดปกติบางอย่างที่แยกเพศไม่ได้ทันที แต่การพัฒนาทางเพศนั้นจะมีข้อแตกต่างกันไปตามลำดับอายุของเด็ก ส่วนความหมายหรือความรู้เรื่องเพศก็แตกต่างกันไป ตามเพศ อายุ ความเข้าใจ รวมไปถึงขนบธรรมเนียม และการเลี้ยงดู ตลอดไปจนถึงความรู้สึกนึกคิด ท่าทีที่มีอยู่และการแสดงออกของเด็ก ตลอดจนบุคคลและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาทางเพศนั้น นอกจากขึ้นกับอวัยวะเพศที่ปรากฏ ยังขึ้นกับโครโมโซม ฮอร์โมน และการอบรมเลี้ยงดูแล เป็นที่ชื่อกันว่า อิทธิพลของการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญมากพอที่จะทำให้มีลักษณะบุคลิก และการยอมรับตนเองไปเป็นเพศตรงข้ามได้ เช่น เด็กชายที่ถูกชักจูงให้เล่นตุ๊กตา นุ่งกระโปรง พูดคะ ขา และถูกห้ามไม่ให้ซน ไม่ให้เล่นอะไรรุนแรง ถ้าเด็กถูกเลี้ยงดูให้ตรงข้ามกับเพศจริงนานเกินอายุ 2 ขวบครึ่งไปแล้ว มักจะเป็นการลำบากที่จะให้เด็กได้รับความรู้สึกและรับตนเป็นเพศที่แท้จริงของเขาได้ ฉะนั้น ในด้านของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลในความเป็นหญิงและชายได้ทั้ง 2 แบบ

บทความที่น่าสนใจ : วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชาย (จุ๊ดจู๋ลูกชาย)

 

Advertisement

ลูกชอบจับอวัยวะเพศตัวเอง ผิดปกติมั้ย?

ลูกชายค้นพบตนเอง จากการสัมผัสอวัยวะเพศตัวเอง โดยการสัมผัสด้วยการเกา หรือ ดึง บริเวณอวัยวะเพศ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็กผู้ชายทุกคน โดยเฉพาะในช่วงอายุ อายุ 2-5 ปี พวกเขาอาจชอบจัดแจงอวัยวะเพศของตัวเองเพื่อความสบาย หรือใช้โอกาสนี้ในการเรียนรู้ตัวเองมากขึ้น จากการเลิกผ้าอ้อม

หากลูกน้อยเรียนรู้ที่จะใช้ห้องน้ำ ในระหว่างการทำเช่นนี้ อาจตระหนักว่าการสัมผัสตัวเองในบริเวณนี้ให้ความรู้สึกเพลิดเพลิน หรือการแข็งตัวตามธรรมชาติมากขึ้น

ส่วนในกรณีที่ชอบจับอวัยวะเพศของพ่อ เด็กอาจยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่เหมาะสม เพราะฉะนั้นไม่สายเกินไปที่จะสอนลูกเรื่องความเหมาะสมในการจับอวัยวะเพศของพ่อ โดยการรอให้ลูกอายุประมาณ 5 ขวบขึ้นไปน่าจะเหมาะสมที่สุด

อายุระหว่าง 1-3 ปีเด็กวัยหัดเดินของคุณอาจมีพฤติกรรมต่อไปนี้ได้ :

  • สัมผัสอวัยวะเพศของตัวเองบ่อย
  • แสดงอวัยวะเพศให้คนอื่นเห็น
  • มองหรือสัมผัสอวัยวะเพศของคนคุ้นเคยอย่างสนุกสนาน
  • สนุกกับการเปลือยเปล่า
  • แสดงความสนใจในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 

ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว

 

วิธีการตอบสนองเมื่อ ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว

หากลูกของคุณเล่นกับอวัยวะเพศตัวเองตลอดเวลา หรือไม่ต้องการให้ลูกทำพฤติกรรมนี้ในที่สาธารณะ แม้ว่าคุณแม่และคุณพ่อจะโอเคกับพฤติกรรมนี้ก็ตาม ดังนั้นวิธีการตอบสนอง อาจขึ้นอยู่กับค่านิยมของคุณ แต่เคยมีผู้เชี่ยวชาญอธิบายถึงเรื่องดังกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องใจเย็น และพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของลูกจากพฤติกรรมนั้น โดยเปลี่ยนความสนใจไปที่สิ่งอื่นที่จะดึงดูดความสนใจของลูกได้แทน อาทิ คุณพ่อคุณแม่อาจจะขอให้ลูกใช้มือในการทำอย่างอื่นแทน เช่น ชวนคุยเรื่องความสูงตัวเอง หรือ ของที่เขาสนใจด้วยประโยคที่ว่า

  • “ลูกสูงเท่าไหร่นะ?”
  • “ไหนบอกแม่สิว่าโดราเอม่อนตัวใหญ่แค่ไหน”

ที่สำคัญยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการพูดคุยกับลูกให้เข้าใจได้เช่นกัน โดยสามารถอธิบายและให้การเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น โดยไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ส่วนตัว, ความแตกต่างระหว่างเพศสภาพของชายหญิง รวมไปถึงการสัมผัสการพูดเรื่องร่างกาย โดยที่อีกฝ่ายอาจจะไม่ยินยอม โดยใช้การพูดคุยและตอบคำถามอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา แต่ในระดับที่เขาเข้าใจได้ด้วย

นอกจากนี้ควรใช้คำที่เหมาะสมกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงการเรียกอวัยวะเพศที่เหมาะสม โดยคำนึงว่าสิ่งที่กำลังสอนเหล่านี้ จะช่วยให้ลูกของคุณ เรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของเขาได้ไวขึ้น เพื่อที่เขาจะได้ถามคุณ เกี่ยวกับคำถามหรือข้อกังวลที่เขามี

และในเมื่อช่วงที่ลูกของคุณถึงวัยเลิกผ้าอ้อม หรือในจังหวะที่สังเกตได้ว่าลูกมีการจับหรือสัมผัสอวัยวะเพศ จนลูกอวัยวะเพศแข็งตัว จนเหมือนเป็นกิจกรรมผ่อนคลายตัวเอง คุณอาจต้องเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูก เริ่มพูดถึงเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมในการสัมผัสส่วนนั้นของร่างกาย แม้การเล่นอวัยวะเพศในเด็กเล็กจะเป็นเรื่องปกติ แต่อย่างไรก็ดี ต้องสอนลูกว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำส่วนตัว

 

ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว ชี้โด่บ่อยปกติหรือไม่

คุณแม่หลายคน ค่อนข้างเป็นกังวลกับอาการที่เกิดขึ้นว่าปกติหรือไม่ แต่อาการจุ๊ดจู๋ลูกน้อยชี้โด่เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับลูกน้อย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ตอนอาบน้ำ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม

การที่จุ๊ดจู๋ลูกน้อยแข็งตัว อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ลูกน้อยของคุณมีพัฒนาการตอบสนองด้านระบบประสาทที่ดี และหากจุ๊ดจู๋ลูกน้อยแข็งตัวแล้วก็หดตัวลงอย่างรวดเร็ว อย่าเพิ่งเป็นกังวลใจไป เพราะเป็นอาการปกติทั่วไปของเด็กทารก แต่หากจุ๊ดจู๋ของลูกน้อยมีการแข็งตัวเกินกว่า 1 ชั่วโมง และมีอาการบวมแดง หรือมีผื่นขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที

คุณ Anita Sethi นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า หากลูกน้อยของคุณชอบจับจุ๊ดจู๋เล่นจนแข็งตัวอยู่บ่อย ๆ ก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะเป็นอาการปกติของลูกน้อยและอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อลูกน้อยโตขึ้นครับ

 ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว

 

อาการอื่น ๆ ของลูกน้อยเพศชายที่ต้องระวัง

อวัยวะเพศชายอักเสบ

การอักเสบของอวัยวะเพศชายเกิดจากการติดเชื้อส่วนปลายอวัยวะเพศ อาจเป็นผลมาจากผื่นผ้าอ้อม และยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการทำความสะอาดที่มากหรือน้อยเกินไป และไม่ได้มีการเช็ดให้แห้งอีกด้วย โดยจะมีอาการ ปัสสาวะลำบาก อวัยวะเพศแดง บวม เจ็บ คัน และมีกลิ่นผิดปกติ

ทำอย่างไร เมื่ออวัยวะเพศชายของลูกน้อยอักเสบ

หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ในขณะที่มีการอักเสบ ใช้น้ำอุ่นทำความสะอาด แล้วซับเบา ๆให้แห้ง ถลกหนังหุ้มปลายลงเพื่อล้างด้านในอย่างนุ่มนวลทุกครั้งที่อาบน้ำ และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง อีกทั้งคุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการอับชื้น และหากอาการรุนแรงขึ้นควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ครับ

หากคุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติของจุ๊ดจู๋ลูกน้อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความมั่นใจ และรับคำแนะนำในการดูแลรักษาอย่างถูกต้องครับ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ผ้าเช็ดตัว แหล่งเชื้อโรคสู่ลูกน้อยที่คุณไม่คาดคิด

วิธีทำความสะอาดสะดือลูกน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่

ลูกชอบเล่นอวัยวะเพศ บ่งบอกอะไร ต้องพาไปหาหมอหรือไม่?

ที่มา : thebump , livestrong , doctor

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกอวัยวะเพศแข็งตัว ชี้โด่บ่อย ๆ ปกติหรือไม่ ไขข้อข้องใจได้ที่นี่
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว