X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ

บทความ 5 นาที
ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ควรทำอย่างไรดี เด็กวัยแรกเกิดบางคนอาจจะถ่ายวันละหลาย ๆ รอบ ในขณะที่เด็กบางคนไม่ถ่ายนาน 3-4 วัน หรือมากกว่านั้น การขับถ่ายปกติของทารกเป็นอย่างไร ทารกไม่ถ่ายนานแค่ไหน จึงจะเรียกว่าท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรทำอย่างไร วันนี้ theAsianparent จะพามาหาคำตอบ

 

สุขภาพและการขับถ่ายของเด็กแรกเกิด

การดูแลสุขภาพของทารกแรกเกิด สิ่งหนึ่งที่สามารถประเมินได้ว่าสุขภาพของลูกน้อยสมบูรณ์ดีหรือมีความผิดปกติหรือไม่ นั่นก็คือการสังเกตจากผ้าอ้อมของลูก ลูกปัสสาวะ หรืออุจจาระกี่ครั้งต่อวัน ของเสียที่ขับออกมาบนผ้าอ้อมมีสีอะไร เป็นปกติหรือไม่ ซึ่งความถี่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมก็สามารถบ่งชี้ถึงภาวะขาดน้ำ อาการท้องผูก สีของอุจจาระก็เป็นตัวชี้วัดโรค และความผิดปกติภายในของทารกได้ด้วย

ความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระของทารกแรกเกิดในสัปดาห์แรกไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับนมที่ทารกดื่มเข้าไป โดยทั่วไป เด็กทารกที่ดื่มนมแม่ จะมีการขยับตัวของลำไส้ที่มากกว่า ทำให้มีความถี่ในการขับถ่ายอุจจาระที่มากกว่าเด็กทารกที่ดื่มนมผง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนจากการดื่มนมแม่ ไปเป็นนมผสม หรือนมผง ลักษณะของอุจจาระ ความถี่ในการขับถ่าย และเปลี่ยนผ้าอ้อมก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

การขับถ่ายอุจจาระครั้งแรกของทารกแรกเกิด

การขับถ่ายครั้งแรกของทารกแรกเกิดจะมีดำ หรือเขียวเข้ม มีลักษณะเหนียวหนืดเหมือนดินน้ำมัน และไม่มีกลิ่น เกิดจากสสารที่ถูกย่อยระหว่างที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ อุจจาระสีดำนี้ จะถูกขับถ่ายออกมาในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกของชีวิตทารก เรียกว่า “ขี้เทา” (Meconium) ไม่ว่าจะได้รับนมแม่หรือไม่ การขับถ่ายช่วง 1-3 วันแรก ก็จะเหมือนกัน โดยมีดำ หรือเขียวเข้มก่อน จากนั้นจึงค่อยขับถ่ายออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลือง หรือสีเขียวเหลือง ในช่วงประมาณวันที่ 4 หลังคลอด จากการที่ร่างกายมีการย่อยน้ำนม

 

ทารกท้องผูก

 

Advertisement

ทารกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน เกิดจากอะไร

อาการท้องผูกในทารกเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่สำหรับทารกแรกเกิดไปจนถึง 6 เดือนนั้น ลูกอาจมีความเสี่ยงที่จะท้องผูกจากหลาย ๆ อย่าง เช่น การแพ้โปรตีนในน้ำนมจากอาหารที่คุณแม่รับประทานและส่งต่อผ่านน้ำนมไปยังลูกน้อย หรือการคลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารของลูกยังเจริญไม่เต็มที่และย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์ รวมไปถึงภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นได้

สำหรับเด็กทารกที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป อาจมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น การรับประทานอาหารที่ทำให้ท้องผูก การขาดน้ำที่ทำให้อุจจาระแข็ง การแพ้อาหารบางชนิด รวมถึงการมีปัญหาทางสุขภาพ เช่น ภาวะไฮโปไทรอยด์ หรือโรคเกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร และการดื่มนมชงเพียงอย่างเดียว

โดยปกติแล้ว นมวัวมีส่วนประกอบที่เป็นน้ำน้อยกว่านมแม่ และมีโปรตีนที่มีโมเลกุลใหญ่ จึงทำให้ระบบการขับถ่ายของเด็กทำงานหนักและยากกว่าเด็กที่กินนมแม่ ที่สำคัญเด็กเล็กยังมีระบบย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์มากนัก จึงทำให้ไม่สามารถย่อยโปรตีนจากนมวัวที่มีโมเลกุลใหญ่ได้ดี ซึ่งหากไม่ถ่ายหลายวัน หรือถ่ายน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คุณแม่ต้องเริ่มสังเกตลักษณะอุจจาระของลูกว่าเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือลูกต้องออกแรงเบ่งไหม เพราะหากเข้าข่ายนี้แสดงว่าลูกอาจมีอาการท้องผูกและถ่ายไม่ออก

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ได้กี่วัน

  • ทารกนมแม่ ปกติแล้วทารกที่กินนมแม่จะถ่ายหลายรอบต่อวัน อาจมากกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน จนแม่เข้าใจผิดคิดว่าลูกท้องเสีย ลูกจะถ่ายบ่อยช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ทารกจะถ่ายน้อยลง บางคนไม่ถ่ายนานถึง 2 สัปดาห์ ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนลักษณะอึของทารกนมแม่ จะนิ่มและมีสีเหลือง
  • ทารกนมผง ทารกที่กินนมผสมอึจะแข็งกว่าและถ่ายไม่บ่อย 3-4 วันถ่ายที ลักษณะอึของทารกนมผง จะออกมาเป็นลำยาว ๆ นิ่ม และมีสีเขียวเทา

 

ทารกไม่อุจจาระ ไม่ถ่าย อาการแบบไหนเรียกท้องผูก

โดยปกติแล้ว เด็กทารกที่ยังกินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักจะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก แต่อาการท้องผูกอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงที่เริ่มเปลี่ยนไปทานอาหารเสริม ซึ่งอาการที่อาจจะบ่งบอกได้ว่าลูกท้องผูก นอกจากการที่ลูกไม่ถ่ายแล้ว เด็กบางคนอาจจะทำหน้าเหมือนเบ่งอุจจาระแต่ไม่ถ่าย ทารกไม่อุจจาระ เด็กบางคนก็อาจจะร้องไห้ เหมือนเจ็บก้น และรู้สึกไม่สบายตัว ส่วนอาการอื่น ๆ ที่บอกว่าทารกกำลังท้องผูก มีดังนี้

  • ท้องแข็ง
  • กินน้อยลง
  • ไม่ค่อยถ่าย ถ่ายน้อยกว่าปกติ
  • ลูกทำท่าเหมือนปวดท้อง ท้องอืด
  • มีเลือดออก ติดมากับก้อนอุจจาระ
  • ปวดท้อง แต่หายปวดหลังขับถ่าย
  • อุจจาระเป็นก้อนแข็งมีลักษณะคล้ายกระสุน

 

ทารกท้องผูก

 

ทารกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน รับมืออย่างไรดี

เมื่อทารกมีอาการท้องผูก ก็จะทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว และเสี่ยงเป็นโรคบางชนิดในอนาคตได้ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการท้องผูก ควรรีบแก้ไขทันที ซึ่งวิธีการรักษาอาการท้องผูกในทารกนั้น มีดังนี้

  • เลือกโภชนาการย่อยง่ายให้ลูกน้อย

สาเหตุที่ลูกน้อยท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการที่ระบบย่อยอาหารของลูกยังเจริญไม่เต็มที่และยังย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายอย่างนมแม่ จึงมีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องผูก และอุจจาระไม่ออกของทารกได้ เพราะนมแม่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นนมย่อยง่าย เหมาะสมกับระบบลำไส้ของลูก อีกทั้งนมแม่ยังมี MFGM และ DHA ที่ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท ทำให้พัฒนาการสมองของลูกดียิ่งขึ้น

ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก โดยแพทย์อาจจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย

 

  • เปลี่ยนอาหารของคุณแม่

ทารกแรกเกิดจนที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว อาจมีอาการท้องผูกจากอาหารที่คุณแม่รับประทาน เพราะอาหารที่คุณแม่กินเข้าไปนั้น ก็จะส่งผ่านไปยังน้ำนมที่ลูกกินด้วย ดังนั้น คุณแม่ควรเปลี่ยนเมนูอาหาร ไม่กินอาหารจำเจ เน้นการกินอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์มากขึ้น

 

  • ผสมน้ำผลไม้ลงในนม

ทารกที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่สามารถผสมน้ำผลไม้ที่มีซอร์บิทอลลงในนม เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบายธรรมชาติ เช่น น้ำแอปเปิล น้ำลูกแพร์ หรือน้ำลูกพรุนเป็นต้น หรือไม่ก็ผสมลงในอาหารของลูกก็ได้ ประมาณ 30-60 มิลลิลิตรต่อมื้ออาหาร เพื่อช่วยบรรเทาอาการถ่ายไม่ออกของลูก

 

ทารกท้องผูก

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

 

  • เพิ่มผักผลไม้ในอาหาร

อย่างที่รู้กันว่าผักผลไม้ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ หากลูกสามารถกินอาหารได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถผสมผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารลงในอาหารของลูก เช่น บรอกโคลี แอปเปิล ลูกพรุน มะละกอสุก หรือลูกแพร์เพื่อให้ลูกกินเพิ่ม และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ลูกท้องผูก เช่น กล้วยห่าม ๆ หรือข้าวขาว เป็นต้น

 

  • ให้ลูกเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น

การที่คุณพ่อคุณแม่ชอบอุ้มลูกนาน ๆ หรือปล่อยให้ลูกอยู่นิ่ง อาจทำให้ลำไส้ของเด็กไม่มีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้ลำไส้ไม่บีบตัวหรือถ่ายไม่ออก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกเคลื่อนไหวและขยับตัวมากขึ้น หรืออาจช่วยลูกออกกำลังกายด้วยการยกขาลูกไปมา คล้ายกับการปั่นจักรยานอากาศ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกออกกำลังกายมากขึ้น

 

  • นวดท้องกระตุ้นลำไส้

การนวดแก้ท้องผูกของเด็ก จะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ลูกขับถ่ายง่ายขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้มือกดนวดเบา ๆ บริเวณท้องส่วนล่าง ใต้สะดือลงไปประมาณ 3 นิ้วมือ โดยใช้ปลายนิ้วกดลงไปเบา ๆ สัก 2-3 นาที นวดวันละหลายครั้ง จับลูกทำท่าถีบจักรยานอากาศ โดยท่านี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้ลูกถ่ายออกมาได้เร็วขึ้น หรืออาจใช้เบบี้ออยล์นวดด้วยก็ได้จนกว่าลูกจะมีอาการดีขึ้น

 

  • อาบน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่นสามารถกระตุ้นการขับถ่ายของทารกได้ เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว และยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องของลูกผ่อนคลายได้ด้วย ทำให้ลดอาการท้องผูกได้นั่นเอง

 

ทารกท้องผูก

 

ทารกไม่อุจจาระ ทารกไม่ถ่าย ควรพบแพทย์หรือไม่

อาการท้องผูกไม่ใช่สาเหตุเดียวที่คุณพ่อคุณแม่กังวล แม้ว่าลูกจะขับถ่าย เป็นประจำ แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตความผิดปกติของสี หรือลักษณะของเสียที่ลูกขับถ่ายออกมา ก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์เช่นกัน โดยสามารถสังเกตได้จากลักษณะเหล่านี้

  • อุจจาระมีสีขาว หรือสีเทา
  • ลูกขับถ่ายบ่อยเกินกว่าเด็กทารกทั่วไป
  • อุจจาระมีสีดำ แม้ว่าจะผ่านช่วงขี้เทาไปแล้ว
  • อุจจาระมีสีแดงเข้ม หรือมีเลือดติดออกมาด้วย
  • ทารกที่ดื่มนมแม่ มีอุจจาระมีสีเขียวอ่อน อาจเกิดจากสารอาหารในนมแม่ หรืออาหารที่แม่บริโภคเข้าไป
  • อุจจาระของลูกมีของเหลว หรือเมือกปะปนมาก ลูกอาจมีอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วง 2 – 3 เดือนแรก เนื่องจากติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ภาวะขาดน้ำ หรือการติดเชื้อทางเดินอาหาร เป็นต้น

 

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการเช่นนี้ ไม่ควรแก้ปัญหาหรือรักษาด้วยตัวเอง เนื่องจากร่างกายของทารกยังบอบบางมาก อีกทั้งยังไม่ให้สามารถรับประทานอาหารอื่น ๆ ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำจะเป็นการดีที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษาข้อมูลของอาการท้องผูกในทารกมากขึ้น สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คลอดก่อนกําหนด อันตรายไหม ส่งผลต่อลูกอย่างไร

ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง อาหาร 6 อย่าง บรรเทาอาการทารกท้องเสีย

ลูกมีอุจจาระผิดปกติ สีอุจจาระแต่ละสีบอกอะไรบ้าง แบบไหนที่ผิดปกติกับลูก

ที่มา :  Pobpad, punnita.com, punnita.com, Enfababy

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ทารกท้องผูก ทารกไม่อุจจาระ ลูกอึไม่ออก ทำอย่างไรให้ขับถ่ายเป็นปกติ
แชร์ :
  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว