ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไหร่ กระตุ้นการได้ยินของลูกอย่างไร พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ และการได้ยินของทารกหลังคลอดเป็นอย่างไร
การได้ยินของทารกแรกเกิด ทารกได้ยินตอนไหน
ถ้าจะตอบคำถามที่ว่า ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไหร่ ก็อาจจะต้องย้อนไปถึงตอนที่เจ้าตัวน้อยยังนอนคุดคู้อยู่ในท้องแม่ เพราะทารกนั้น เริ่มได้ยินเสียงตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ โดยเสียงส่วนใหญ่ที่ได้ยินก็มักจะเป็นเสียงของคุณแม่เสียเป็นส่วนใหญ่ และเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้นว่าทารกได้ยินตอนไหน เรามาทำความเข้าใจถึงพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์กันเลย
พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์
-
พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4-5
ในช่วงนี้เซลล์ภายในตัวอ่อน เริ่มพัฒนาไปเป็น ใบหน้า สมอง จมูก หู และตาของทารก
-
พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 9
จะมีรอยเว้าเล็ก ๆ ปรากฏที่ด้านข้างของลำคอทารก เพื่อพัฒนาเป็นหูทั้งด้านในและด้านนอก จากนั้นค่อยๆ เลื่อนขึ้นด้านบน และกลายเป็นขดหูเล็กๆ
โดยในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของการตั้งครรภ์นั้น หูของทารกยังคงมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง โดยหูชั้นในจะเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทในสมอง ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลเสียง และกระดูกเล็ก ๆ ของหูชั้นกลาง ซึ่งทำหน้าที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง
-
พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 18
ในช่วงนี้เอง ที่ทารกในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียงเป็นครั้งแรก
-
พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 24
หูของทารกจะมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทารกจะมีความไวต่อเสียงมากขึ้น โดยเสียงที่ทารกได้ยินในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงภายในตัวของคุณแม่ เช่น เสียงหัวใจของคุณแม่ เสียงอากาศที่เข้า และออกจากปอด เสียงท้องร้องโครกครากของคุณแม่ หรือแม้แต่เสียงเลือดไหลเวียนผ่านสายรก
-
พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25-26
เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ทารกสามารถตอบสนองต่อเสียงโดยหันศีรษะหาเสียงได้แล้ว แต่ลูกจะได้ยินเสียงจากภายนอกยังไม่ชัด เนื่องจากถูกล้อมรอบด้วยน้ำคร่ำและชั้นของร่างกาย แต่เสียงที่ทารกได้ยินชัดที่สุดคือเสียงของแม่ อีกทั้งลูกน้อยยังสามารถจดจำเสียงของคุณแม่ได้แล้ว เมื่อได้ยินเสียงของแม่ อัตราการเต้นของหัวใจลูกจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ลูกตื่นตัวมากขึ้นเมื่อคุณแม่กำลังพูด
ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกหลังคลอดเป็นอย่างไร
ทารกเริ่มได้ยินเสียงได้ตั้งแต่แรกคลอด จนเมื่อทารกมีอายุได้ประมาณ 1 เดือน พัฒนาการการได้ยินของทารกก็จะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทารกจะสามารถได้ยินเสียงได้แล้ว แต่ทารกก็อาจจะยังไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงได้ ยังหาต้นตอของเสียงไม่ได้ ซึ่งก็อาจจะต้องใช้เวลาสักพัก จนเมื่อทารกมีอายุได้ 9 เดือน เด็กก็จะสามารถหันหาเสียงได้ทุกทิศทาง และมีพัฒนาการการได้ยินอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นพื้นฐานต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ต่อไป
วิธีเสริมพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์
- คุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ รวมถึงการร้องเพลง หรืออ่านหนังสือ ก็จะเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
- เปิดเพลงให้ลูกฟัง ไม่จำกัดว่าจะเป็นเพลงแนวไหน แค่ขอให้เป็นเพลงที่ฟังสบาย ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกถึงจังหวะ ซึ่งจะไปกระตุ้นพัฒนาการได้ยิน พัฒนาการทางอารมณ์ และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก หรือดังซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เนื่องจากเสียงรบกวนอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูก และอาจทำให้ลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตสูญเสียการได้ยิน
วิธีเสริมพัฒนาการการได้ยินของทารกหลังคลอด
- พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ร้องเพลงกล่อมก่อนเข้านอน หรือเปิดเพลงให้ฟัง
- หาของเล่นที่มีเสียงให้ลูกเล่น
- สลับให้ลูกนอนในห้องเงียบ ๆ บ้าง เพื่อหัดให้แยกแยะความแตกต่าง ระหว่างการมีเสียงและความเงียบ แต่อย่ากระตุ้นลูกด้วยเสียงดังครึกโครม เช่น การเปิดทีวี หรือวิทยุตลอดเวลา เพราะเป็นการกระตุ้นลูกที่ไม่ถูกต้อง
ทราบกันไปแล้วว่า การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไหร่ และจะกระตุ้นการได้ยินของลูกได้อย่างไร ดังนั้น ก็อย่าพลาดโอกาสทองในการกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินของทารกกันนะครับ
นอกจากจะมีการพัฒนาการทางด้านได้ยิน จะมีการพัฒนาอะไรอีกบ้าง
พัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก
- เมื่อแรกเกิดทารกจะมองภาพต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน จนอายุครบ 1 เดือน จึงจะเริ่มเห็นหน้าคุณพ่อคุณแม่และภาพต่าง ๆ เป็นขาวดำ โดยจะสามารถเห็นหน้าคนชัดเจนที่อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง
- เมื่ออายุ 2-3 เดือนจึงจะเริ่มเห็นวัตถุชัดขึ้นและเริ่มมองตามได้
- อายุ 5 ถึง 7 เดือนจึงจะสามารถเห็นสีได้ชัดเจนและมองระยะไกลได้มากขึ้น
- เมื่อทารกอายุ 7-11 เดือนจะสามารถจ้องวัตถุขนาดเล็กได้
- จนอายุ 11-12 เดือนจึงจะสามารถมองวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วได้
พัฒนาการด้านการพูดและการใช้ภาษาของทารก
- เมื่ออายุครบ 2 เดือนทารกจะเริ่มทำเสียงในลำคอ เช่น “อู” หรือ “ออ” ได้อย่างชัดเจน
- อายุ 3-4 เดือนจะเริ่มเปล่งเสียงแสดงความรู้สึกได้
- เมื่ออายุ 5-6 เดือนทารกจะเริ่มเลียนเสียงง่ายๆได้เช่น “โอ” “บาบา” และเลียนแบบการทำเสียงต่าง ๆ ของผู้ใหญ่ได้
- อายุ 7-9 เดือนทารกจะเริ่มทำเสียงอ้อแอ้มากขึ้น เลียนเสียงคำต่างๆที่มีความหมาย และออกเสียงสระผสมกับพยัญชนะต่างๆได้
- เมื่ออายุ 10 ถึง 12 เดือนทารกจะสามารถแสดงความต้องการโดยการเปล่งเสียงและทำท่าทาง และสามารถพูดคำแรกได้ที่อายุประมาณ 12 เดือน ทั้งนี้ มักจะเริ่มจากคำที่ได้เรียนรู้บ่อย ๆ และคุ้นเคยก่อน เช่น แม่ ป๊า เป็นต้นค่ะ
จะเห็นได้ว่าในแต่ละช่วงวัยทารกมีพัฒนาการทางด้านการมองเห็น การได้ยิน และการพูดเพิ่มขึ้นตามลำดับ คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูควรหมั่นสังเกตว่าทารกมีพัฒนาการที่ปกติตามวัยหรือไม่ และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกให้เหมาะสมกับวัย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
การมองเห็นของทารก ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน จะกระตุ้นพัฒนาการมองเห็นได้อย่างไร
อาบน้ำทารกแรกเกิด จำเป็นต้องอาบทุกวันไหม ต้องอาบอย่างไรไม่ให้ลูกป่วย
ทารกร้องไห้ไม่หยุด เกิดอะไรขึ้น ทำอย่างไรดี ไปฟังคุณหมอแนะนำ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : theAsianparent
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินของลูกแรกเกิด ได้ที่นี่!
การได้ยินของลูกแรกเกิด จะเริ่มได้ยินตอนไหนคะ แล้วจะรู้ได้ไวว่าลูกได้ยินรึเปล่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!