คนท้องทำฟันได้หรือเปล่า คนท้องจัดฟันได้ไหม คนท้องอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูนแล้วอันตรายหรือไม่ สำหรับแม่บางคนที่จัดฟันอยู่แต่ยังไม่ครบกำหนดให้ถอดออก ก็สงสัยกันว่า สามารถทำได้หรือเปล่า วันนี้คุณหมอรวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลช่องปาก และการทำฟันมาให้คุณแม่แล้วนะคะ
คนท้องจัดฟันได้ไหม คนท้องทำฟันได้ไหม
คนท้องสามารถทำฟันหรือจัดฟันได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ ช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการทำฟันคือ “ช่วงก่อนวางแผนการตั้งครรภ์” หลายคนมักตรวจสุขภาพกายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แต่ละเลยสุขภาพฟันที่สำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้ว ฮอร์โมนจะทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ ทำให้คนท้องมักมีเลือดออกขณะแปรงฟัน และส่งผลให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากเกิดฟันผุก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคสู่ทารกได้ค่ะ
แต่ในระหว่างที่ท้อง หากมีนัดตรวจฟันและต้องทำฟัน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือนเพราะเป็นช่วงที่เริ่มชินกับการตั้งครรภ์ และท้องไม่ใหญ่จนเกินไป สามารถนอนบนเตียงหมอฟันได้โดยไม่อึดอัดมาก
อย่างไรก็ตามอาการปวดฟันไม่ใช่อาการที่จะวางแผนกันได้ ถ้าคนไข้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ว่าในช่วงไหน เกิดมีอาการ ปวดฟันตอนท้อง เสียวฟัน หรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวกับฟันขึ้นมา ก็ไม่ต้องกังวลใจ ทางที่ดีควรมาพบหมอฟันเพื่อประเมินการรักษาก่อน ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเกินไปค่ะ
คนท้องอุดฟัน ถอนฟัน จัดฟันขูดหินปูนได้ไหม
คนท้องสามารถที่จะอุดฟัน ถอนฟัน และ ขูดหินปูนได้ ไม่เกี่ยวกับว่าอายุครรภ์จะมากหรือน้อย แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณหมอมักจะนัดให้คุณแม่มาทำฟันในช่วง 4 – 6 เดือน มากกว่า เพราะในช่วงของไตรมาสแรก คุณแม่จะมีความเสี่ยงในเรื่องของการแท้งลูก แต่สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 6 เดือน ก็จะนอนหงายลำบากนั่นเองค่ะ
บทความที่น่าสนใจ : เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!
อะไรที่คนท้องไม่ควรทำเกี่ยวกับฟัน
เนื่องจากเป็นการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้คนท้องเกิดภาวะเครียดได้ หากไม่มีความจำเป็น หรือปวดไม่มาก คุณหมอแนะนำให้รักษาหลังคลอดจะดีกว่า คุณหมอยังเสริมอีกว่า ถ้ารู้ว่าตัวเองมีฟันคุดให้รีบรักษาให้เรียบร้อย ก่อนที่จะตั้งครรภ์
เช่นเดียวกับการผ่าฟันคุดที่ต้องรอรักษาหลังคลอดน้องแล้ว เพราะว่าการรักษารากฟันเป็นการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยการรักษาแต่ละครั้งจะใช้เวลานาน ซึ่งแม่ ๆ อาจเกิดความเครียดระหว่างทำฟันได้นะ หากมีความจำเป็นจริง ๆ ลองปรึกษาคุณหมอเพื่อรับยารักษาตามอาการไปก่อน
เป็นสิ่งที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพราะการที่คุณแม่ติดลวด และ เหล็กที่ฟัน จากคนที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ อันดับแรกจะทำให้ฟันคุณแม่ล้มลงได้ สองเวลาที่คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอด จะมีอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเหล็กอาจทำหน้าที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า จนทำให้เกิดการไหม้ที่ช่องปากได้
เอ็กซเรย์ฟัน ฉีดยาชา ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม
จาก American College of Radiology ได้ให้ข้อมูลว่า ปริมาณรังสีที่ใช้จากการ เอ็กซเรย์ฟันแต่ละครั้งน้อยมาก ซึ่งมันจะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ ยังไงก็แล้วแต่ คนท้องก็ไม่ควรรับรังสีนี้บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น หากจำเป็นจริง คุณหมอจะให้คุณแม่ใส่ Shield ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นตะกั่วนำมาคลุมท้องให้คุณแม่อีกชั้นหนึ่ง
สำหรับยาชา เป็นยาชาที่ใช้เฉพาะที่จำพวก Xylocaine หรือ Lidocaine ซึ่งเป็นยากลุ่ม บี ( Category B ) ที่คนท้องสามารถใช้ได้ และ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่า ยาชาที่คนท้องได้รับจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพียงแค่แนะนำว่าให้คนท้องใช้ให้น้อยที่สุดอย่างเดียวค่ะ
เมื่อไหร่ควรไปทำฟัน
ในไตรมาสที่แรก คุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอยู่บ่อย ๆ เวลาจะอ้าปากนาน ๆ หรือได้กลิ่นอะไรแปลกก็ทำให้อยากจะอาเจียนอยู่บ่อย ๆ ช่วงนี้แม่หลายคนไม่สะดวกที่จะทำฟันจริง ๆ สำหรับคนที่ไม่แพ้ท้องก็สามารถทำฟันได้ แต่อย่าลืมแจ้งคุณหมอกับพยาบาลก่อนนะ เพื่อความปลอดภัย
ไตรมาสที่สอง เป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การทำฟันมากที่สุด เพราะคุณแม่ผ่านพ้นช่วงแพ้ท้องมาแล้ว สภาวะทางด้านจิตใจเริ่มที่จะเข้าที่ ไม่ค่อยแปรปรวน ส่วนไตรมาสสุดท้าย ท้องคุณแม่ใหญ่ขึ้น จะนั่งจะนอนก็ลำบาก คนท้องบางคนนอนหงายนาน ๆ ก็หายใจไม่ออก เพราะฉะนั้นถ้าคิดจะทำฟันที่ใช้เวลานาน ๆ ควรเป็นช่วงไตรมาสที่สอง
ส่วนที่ว่าทำไมแม่ท้องฟันผุต้องรีบไปรักษาโดยด่วน เพราะว่าเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากฟันผุนั้น เป็นเชื้อที่สามารถติดจากแม่สู่ลูกได้ อีกทั้งการที่คนท้องมีฟันผุที่รุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะเครียดของร่างกาย เมื่อร่างกายรับรู้ว่าเครียดปุ๊บ จึงเกิดการบีบตัวของมดลูก ซึ่งอาจทำให้คุณแม่แท้งหรือเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้
คนท้องฟันผุง่าย เหงือกอักเสบบ่อย เพราะลูกดูดแคลเซียมจริงหรือ?
คนท้องฟันผุง่าย เพราะลูกหรือเพราะแม่กันแน่? ซึ่งจากรายงานวิจัยผลการตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ของสำนักทันตสาธารณสุข พบว่า แม่ท้องฟันผุถึงร้อยละ 90.3 โดยมีค่าเฉลี่ยในการถอน/อุดฟันผุถึง 6.37 ซี่ต่อคน สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนท้องฟันผุมาจากปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของว่าที่คุณแม่ที่สูง ไม่เพียงแค่นั้น แม่ท้องที่มีอาการของฟันผุ จะทำให้ลูกในท้องเกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคฟันผุไปด้วย เนื่องจากการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งคุณหมอบอกว่า จากที่ได้พูดคุยกับคนไข้หลาย ๆ ท่าน พบว่าคนไข้ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าที่ตนเองฟันผุนั้น เป็นเพราะว่าคุณลูกในท้องดูดแคลเซียมไปใช้ในการเจริญเติบโต จริง ๆ แล้วความเชื่อนี้ผิด เพราะสาเหตุที่ทำให้แม่ท้องฟันผุมาจากสาเหตุอื่นมากกว่า
สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ฟันผุคืออะไร ?
1. การแพ้ท้องของคุณแม่
อาการแพ้ท้องของว่าที่คุณแม่นี่แหละ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ เพราะว่าเวลาที่เกิดการอาเจียน จะทำให้เศษอาหาร และ กรดในกระเพาะต่าง ๆ ขึ้นมาติดค้างในบริเวณช่องปาก และ ฟัน โดยพวกกรดเหล่านี้มันจะทำลายผิวฟันของคุณแม่ และ ส่งผลให้เหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้น ยิ่งเวลาแพ้ท้องบ่อย ๆ คุณแม่บางคนยิ่งไม่อยากแปรงฟันหนักไปอีก เพราะเวลาแปรงฟันจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ และอยากอาเจียนร่วมด้วย แม่ที่มีอาการแพ้จึงฟันผุได้ง่าย
2. กินอาหารจุบจิบ
อย่างที่รู้กันเวลาที่ผู้หญิงตั้งครรภ์จะทำให้เกิดความอยากอาหารอยู่ตลอดเวลากินจุบจิบมากขึ้น คนภายนอกอาจมองว่าเพิ่งจะกินไปเองทำไมกินอีกแล้วล่ะ การกินไม่หยุดแบบนี้ ทำให้ว่าที่คุณแม่มีอาหารอยู่ภายในช่องปากตลอดเวลา แน่นอนว่าทุกครั้งที่กินจึงมีเศษเข้าไปติดอยู่ตามซอกฟันบ้าง เกิดกรดทำลายฟันบ้าง จึงทำให้คนท้องฟันผุได้ง่ายนั่นเอง
3. ฮอร์โมนเปลี่ยนระหว่างตั้งครรภ์
นอกจากการตั้งครรภ์จะทำให้ฟันผุได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้เหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้นด้วย เนื่องจากภาวะการตั้งครรภ์จะทำให้ว่าที่คุณแม่ตกอยู่ในช่วงฮอร์โมนอันว้าวุ่นอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหล่านี้ ส่งผลให้ผนังเส้นเลือดฝอยในเหงือก และ เนื้อเยื่อในช่องปากเปลี่ยนแปลง นำไปสู่อาการเหงือกอักเสบ บวม แดง หรือมีเลือดออกได้ง่าย และ หากมีคราบอาหาร คราบจุลินทรีย์ หรือหินปูนเกาะที่ฟันมาก ก็ยิ่งทำให้เหงือกอักเสบง่ายขึ้น จะทำให้เหงือกร่น และ ฟันโยกได้
คนท้องต้องรับประทานอาหารเพื่อ บำรุงฟัน เป็นพิเศษหรือไม่
คุณแม่ท้องจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอต่อการเสริมสร้างร่างกายของลูกน้อย โดยเฉพาะการนำไปสร้างฟัน ดังนั้น ระหว่างตั้งครรภ์แม่ท้องควรเพิ่มอาหารพวก โปรตีน จาก เนื้อสัตว์ นม ไข่ เพิ่ม ผักและถั่ว ลดขนมหวาน ทานผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้แทน เพื่อให้ได้รับโปรตีน และแร่ธาตุครบถ้วน ซึ่งหากได้รับไม่เพียงพอ อาจจะทำให้หน่อฟันของลูกไม่แข็งแรง โดยพบว่า ถ้าระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน หรือลูกน้อยมีอาการขาดสารอาหาร จะทำให้ฟันขึ้นช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ คุณแม่ท้องและแม่ที่ให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มเตตร้าซัยคลิน เพราะจะทำให้ฟันของลูกน้อยเป็นสีน้ำตาล ขัดไม่ออก
การดูแลช่องปากและฟันสำหรับคนท้อง
คุณหมอได้แนะนำให้ว่าที่คุณแม่แปรงฟันตามสูตร 222 หมายถึง การแปรงฟันนานครั้งละ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง หลังแปรงฟันควรงดขนมหวาน น้ำอัดลม 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ และ เศษอาหารต่าง ๆ การแปรงฟันนาน 2 นาทีนั้น เป็นเวลาที่ฟลูออไรด์กระจายตัวได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพในการดูแลสูงที่สุด จนหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้ตั้งเป็นกฎที่ต้องทำกันขึ้นมาเลยทีเดียว
และที่สำคัญแม่ท้องต้องไม่ลืมเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจสุขภาพช่องปาก และ ฟันและ เหงือก โดยเข้ารับการตรวจฟันได้ตามปกติ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำฟัน คือ เดือนที่ 4 – 6 ของการตั้งครรภ์ ไม่จำเป็นต้องรอหลังคลอดก็ได้ เนื่องจากระยะเวลาที่ยาวนานอาจทำให้สุขภาพฟันย่ำแย่จนแก้ยากก็เป็นได้อย่างไรก็ควรพบทันตแพทย์ก่อนนะคะ
ฟันที่ผุในระยะเริ่มต้นนั้นง่ายต่อการรักษาดูแล แต่ถ้าปล่อยให้ผุมาก ๆ โดยเฉพาะถ้ามีฟันผุ รากฟันเป็นหนอง เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และ ต้นกำเนิดเชื้อที่จะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย ซึ่งจะอันตรายมาก โดยเฉพาะในระยะการคลอดและหลังคลอด อย่าปล่อยให้ฟันผุจนถึงกับต้องถอนเลยนะคะ
ทพญ.อารยา เทียนก้อน ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
7 น้ำยาบ้วนปากสำหรับคนท้อง ช่วยให้ฟันขาวสะอาด ไร้คราบหินปูน
ทำอย่างไรดี เมื่อมีกลิ่นปากช่วงตั้งท้อง
แปรงฟันยังไงให้ถูกวิธี และการเลือก ยาสีฟันสำหรับเด็ก ควรพิจารณาอะไรบ้าง ?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!