X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องทำฟันได้หรือไม่ คนท้องจัดฟันได้ไหม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
คนท้องทำฟันได้หรือไม่ คนท้องจัดฟันได้ไหม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายหรือเปล่า

คนท้องทำฟันได้หรือเปล่า คนท้องจัดฟันได้ไหม คนท้องอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูนแล้วอันตรายหรือไม่ สำหรับแม่บางคนที่จัดฟันอยู่แต่ยังไม่ครบกำหนดให้ถอดออก ก็สงสัยกันว่า สามารถทำได้หรือเปล่า วันนี้คุณหมอรวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลช่องปาก และการทำฟันมาให้คุณแม่แล้วนะคะ

 

คนท้องจัดฟันได้ไหม คนท้องทำฟันได้ไหม

คนท้องสามารถทำฟันหรือจัดฟันได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ ช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการทำฟันคือ “ช่วงก่อนวางแผนการตั้งครรภ์” หลายคนมักตรวจสุขภาพกายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แต่ละเลยสุขภาพฟันที่สำคัญไม่แพ้กันเลยทีเดียว เพราะเมื่อตั้งครรภ์แล้ว ฮอร์โมนจะทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ ทำให้คนท้องมักมีเลือดออกขณะแปรงฟัน และส่งผลให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากเกิดฟันผุก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคสู่ทารกได้ค่ะ

แต่ในระหว่างที่ท้อง หากมีนัดตรวจฟันและต้องทำฟัน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือนเพราะเป็นช่วงที่เริ่มชินกับการตั้งครรภ์ และท้องไม่ใหญ่จนเกินไป สามารถนอนบนเตียงหมอฟันได้โดยไม่อึดอัดมาก 

อย่างไรก็ตามอาการปวดฟันไม่ใช่อาการที่จะวางแผนกันได้ ถ้าคนไข้ที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ว่าในช่วงไหน เกิดมีอาการ ปวดฟันตอนท้อง เสียวฟัน หรืออุบัติเหตุที่เกี่ยวกับฟันขึ้นมา ก็ไม่ต้องกังวลใจ ทางที่ดีควรมาพบหมอฟันเพื่อประเมินการรักษาก่อน ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเกินไปค่ะ

 

คนท้องจัดฟันได้ไหม

 

คนท้องอุดฟัน ถอนฟัน จัดฟันขูดหินปูนได้ไหม

คนท้องสามารถที่จะอุดฟัน ถอนฟัน และ ขูดหินปูนได้ ไม่เกี่ยวกับว่าอายุครรภ์จะมากหรือน้อย แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณหมอมักจะนัดให้คุณแม่มาทำฟันในช่วง 4 – 6 เดือน มากกว่า เพราะในช่วงของไตรมาสแรก คุณแม่จะมีความเสี่ยงในเรื่องของการแท้งลูก แต่สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 6 เดือน ก็จะนอนหงายลำบากนั่นเองค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ : เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!

 

อะไรที่คนท้องไม่ควรทำเกี่ยวกับฟัน

  • ผ่าฟันคุด

เนื่องจากเป็นการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้คนท้องเกิดภาวะเครียดได้ หากไม่มีความจำเป็น หรือปวดไม่มาก คุณหมอแนะนำให้รักษาหลังคลอดจะดีกว่า คุณหมอยังเสริมอีกว่า ถ้ารู้ว่าตัวเองมีฟันคุดให้รีบรักษาให้เรียบร้อย ก่อนที่จะตั้งครรภ์

  • รักษารากฟัน

เช่นเดียวกับการผ่าฟันคุดที่ต้องรอรักษาหลังคลอดน้องแล้ว เพราะว่าการรักษารากฟันเป็นการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยการรักษาแต่ละครั้งจะใช้เวลานาน ซึ่งแม่ ๆ อาจเกิดความเครียดระหว่างทำฟันได้นะ หากมีความจำเป็นจริง ๆ ลองปรึกษาคุณหมอเพื่อรับยารักษาตามอาการไปก่อน

  • ดัดฟันแฟชั่น

เป็นสิ่งที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง เพราะการที่คุณแม่ติดลวด และ เหล็กที่ฟัน จากคนที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ อันดับแรกจะทำให้ฟันคุณแม่ล้มลงได้ สองเวลาที่คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอด จะมีอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเหล็กอาจทำหน้าที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า จนทำให้เกิดการไหม้ที่ช่องปากได้

 

คนท้องจัดฟันได้ไหม

 

เอ็กซเรย์ฟัน ฉีดยาชา ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม

จาก American College of Radiology ได้ให้ข้อมูลว่า ปริมาณรังสีที่ใช้จากการ เอ็กซเรย์ฟันแต่ละครั้งน้อยมาก ซึ่งมันจะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ ยังไงก็แล้วแต่ คนท้องก็ไม่ควรรับรังสีนี้บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น หากจำเป็นจริง คุณหมอจะให้คุณแม่ใส่ Shield ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นตะกั่วนำมาคลุมท้องให้คุณแม่อีกชั้นหนึ่ง

สำหรับยาชา เป็นยาชาที่ใช้เฉพาะที่จำพวก Xylocaine หรือ  Lidocaine ซึ่งเป็นยากลุ่ม บี ( Category B ) ที่คนท้องสามารถใช้ได้ และ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่า ยาชาที่คนท้องได้รับจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เพียงแค่แนะนำว่าให้คนท้องใช้ให้น้อยที่สุดอย่างเดียวค่ะ

 

เมื่อไหร่ควรไปทำฟัน

ในไตรมาสที่แรก คุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอยู่บ่อย ๆ เวลาจะอ้าปากนาน ๆ หรือได้กลิ่นอะไรแปลกก็ทำให้อยากจะอาเจียนอยู่บ่อย ๆ ช่วงนี้แม่หลายคนไม่สะดวกที่จะทำฟันจริง ๆ สำหรับคนที่ไม่แพ้ท้องก็สามารถทำฟันได้ แต่อย่าลืมแจ้งคุณหมอกับพยาบาลก่อนนะ เพื่อความปลอดภัย

ไตรมาสที่สอง เป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การทำฟันมากที่สุด เพราะคุณแม่ผ่านพ้นช่วงแพ้ท้องมาแล้ว สภาวะทางด้านจิตใจเริ่มที่จะเข้าที่ ไม่ค่อยแปรปรวน ส่วนไตรมาสสุดท้าย ท้องคุณแม่ใหญ่ขึ้น จะนั่งจะนอนก็ลำบาก คนท้องบางคนนอนหงายนาน ๆ ก็หายใจไม่ออก เพราะฉะนั้นถ้าคิดจะทำฟันที่ใช้เวลานาน ๆ ควรเป็นช่วงไตรมาสที่สอง

ส่วนที่ว่าทำไมแม่ท้องฟันผุต้องรีบไปรักษาโดยด่วน เพราะว่าเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากฟันผุนั้น เป็นเชื้อที่สามารถติดจากแม่สู่ลูกได้ อีกทั้งการที่คนท้องมีฟันผุที่รุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะเครียดของร่างกาย เมื่อร่างกายรับรู้ว่าเครียดปุ๊บ จึงเกิดการบีบตัวของมดลูก ซึ่งอาจทำให้คุณแม่แท้งหรือเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้

 

คนท้องฟันผุง่าย เหงือกอักเสบบ่อย เพราะลูกดูดแคลเซียมจริงหรือ?

คนท้องฟันผุง่าย เพราะลูกหรือเพราะแม่กันแน่? ซึ่งจากรายงานวิจัยผลการตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ของสำนักทันตสาธารณสุข พบว่า แม่ท้องฟันผุถึงร้อยละ 90.3 โดยมีค่าเฉลี่ยในการถอน/อุดฟันผุถึง 6.37 ซี่ต่อคน สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนท้องฟันผุมาจากปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของว่าที่คุณแม่ที่สูง ไม่เพียงแค่นั้น แม่ท้องที่มีอาการของฟันผุ จะทำให้ลูกในท้องเกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคฟันผุไปด้วย เนื่องจากการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งคุณหมอบอกว่า จากที่ได้พูดคุยกับคนไข้หลาย ๆ ท่าน พบว่าคนไข้ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าที่ตนเองฟันผุนั้น เป็นเพราะว่าคุณลูกในท้องดูดแคลเซียมไปใช้ในการเจริญเติบโต จริง ๆ แล้วความเชื่อนี้ผิด เพราะสาเหตุที่ทำให้แม่ท้องฟันผุมาจากสาเหตุอื่นมากกว่า

 

คนท้องจัดฟันได้ไหม

 

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ฟันผุคืออะไร ?

1. การแพ้ท้องของคุณแม่

อาการแพ้ท้องของว่าที่คุณแม่นี่แหละ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ เพราะว่าเวลาที่เกิดการอาเจียน จะทำให้เศษอาหาร และ กรดในกระเพาะต่าง ๆ ขึ้นมาติดค้างในบริเวณช่องปาก และ ฟัน โดยพวกกรดเหล่านี้มันจะทำลายผิวฟันของคุณแม่ และ ส่งผลให้เหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้น ยิ่งเวลาแพ้ท้องบ่อย ๆ คุณแม่บางคนยิ่งไม่อยากแปรงฟันหนักไปอีก เพราะเวลาแปรงฟันจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ และอยากอาเจียนร่วมด้วย แม่ที่มีอาการแพ้จึงฟันผุได้ง่าย

2. กินอาหารจุบจิบ

อย่างที่รู้กันเวลาที่ผู้หญิงตั้งครรภ์จะทำให้เกิดความอยากอาหารอยู่ตลอดเวลากินจุบจิบมากขึ้น คนภายนอกอาจมองว่าเพิ่งจะกินไปเองทำไมกินอีกแล้วล่ะ การกินไม่หยุดแบบนี้ ทำให้ว่าที่คุณแม่มีอาหารอยู่ภายในช่องปากตลอดเวลา แน่นอนว่าทุกครั้งที่กินจึงมีเศษเข้าไปติดอยู่ตามซอกฟันบ้าง เกิดกรดทำลายฟันบ้าง จึงทำให้คนท้องฟันผุได้ง่ายนั่นเอง

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

 3. ฮอร์โมนเปลี่ยนระหว่างตั้งครรภ์

นอกจากการตั้งครรภ์จะทำให้ฟันผุได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้เหงือกอักเสบได้ง่ายขึ้นด้วย เนื่องจากภาวะการตั้งครรภ์จะทำให้ว่าที่คุณแม่ตกอยู่ในช่วงฮอร์โมนอันว้าวุ่นอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหล่านี้ ส่งผลให้ผนังเส้นเลือดฝอยในเหงือก และ เนื้อเยื่อในช่องปากเปลี่ยนแปลง นำไปสู่อาการเหงือกอักเสบ บวม แดง หรือมีเลือดออกได้ง่าย และ หากมีคราบอาหาร คราบจุลินทรีย์ หรือหินปูนเกาะที่ฟันมาก ก็ยิ่งทำให้เหงือกอักเสบง่ายขึ้น จะทำให้เหงือกร่น และ ฟันโยกได้

 

คนท้องต้องรับประทานอาหารเพื่อ บำรุงฟัน เป็นพิเศษหรือไม่

คุณแม่ท้องจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอต่อการเสริมสร้างร่างกายของลูกน้อย โดยเฉพาะการนำไปสร้างฟัน ดังนั้น ระหว่างตั้งครรภ์แม่ท้องควรเพิ่มอาหารพวก โปรตีน จาก เนื้อสัตว์ นม ไข่ เพิ่ม ผักและถั่ว ลดขนมหวาน ทานผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้แทน เพื่อให้ได้รับโปรตีน และแร่ธาตุครบถ้วน ซึ่งหากได้รับไม่เพียงพอ อาจจะทำให้หน่อฟันของลูกไม่แข็งแรง โดยพบว่า ถ้าระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ขาดสารอาหารประเภทโปรตีน หรือลูกน้อยมีอาการขาดสารอาหาร จะทำให้ฟันขึ้นช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ คุณแม่ท้องและแม่ที่ให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มเตตร้าซัยคลิน เพราะจะทำให้ฟันของลูกน้อยเป็นสีน้ำตาล ขัดไม่ออก

 

การดูแลช่องปากและฟันสำหรับคนท้อง

คุณหมอได้แนะนำให้ว่าที่คุณแม่แปรงฟันตามสูตร 222 หมายถึง การแปรงฟันนานครั้งละ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง หลังแปรงฟันควรงดขนมหวาน น้ำอัดลม 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย เพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ และ เศษอาหารต่าง ๆ การแปรงฟันนาน 2 นาทีนั้น เป็นเวลาที่ฟลูออไรด์กระจายตัวได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพในการดูแลสูงที่สุด จนหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้ตั้งเป็นกฎที่ต้องทำกันขึ้นมาเลยทีเดียว 

และที่สำคัญแม่ท้องต้องไม่ลืมเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจสุขภาพช่องปาก และ ฟันและ เหงือก โดยเข้ารับการตรวจฟันได้ตามปกติ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำฟัน คือ เดือนที่ 4 – 6 ของการตั้งครรภ์ ไม่จำเป็นต้องรอหลังคลอดก็ได้ เนื่องจากระยะเวลาที่ยาวนานอาจทำให้สุขภาพฟันย่ำแย่จนแก้ยากก็เป็นได้อย่างไรก็ควรพบทันตแพทย์ก่อนนะคะ

 

ฟันที่ผุในระยะเริ่มต้นนั้นง่ายต่อการรักษาดูแล แต่ถ้าปล่อยให้ผุมาก ๆ โดยเฉพาะถ้ามีฟันผุ รากฟันเป็นหนอง เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และ ต้นกำเนิดเชื้อที่จะกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย ซึ่งจะอันตรายมาก โดยเฉพาะในระยะการคลอดและหลังคลอด อย่าปล่อยให้ฟันผุจนถึงกับต้องถอนเลยนะคะ

 

dr.ploy

ทพญ.อารยา เทียนก้อน ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 น้ำยาบ้วนปากสำหรับคนท้อง ช่วยให้ฟันขาวสะอาด ไร้คราบหินปูน

ทำอย่างไรดี เมื่อมีกลิ่นปากช่วงตั้งท้อง

แปรงฟันยังไงให้ถูกวิธี และการเลือก ยาสีฟันสำหรับเด็ก ควรพิจารณาอะไรบ้าง ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ทพญ.อารยา เทียนก้อน (หมอพลอย)

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้องทำฟันได้หรือไม่ คนท้องจัดฟันได้ไหม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายหรือเปล่า
แชร์ :
  • รีเทนเนอร์ คืออะไร มีกี่แบบ แบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา?

    รีเทนเนอร์ คืออะไร มีกี่แบบ แบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา?

  • จัดฟัน ทำไมบางคนต้องจัดฟัน ประโยชน์ของการจัดฟันมีอะไรบ้าง

    จัดฟัน ทำไมบางคนต้องจัดฟัน ประโยชน์ของการจัดฟันมีอะไรบ้าง

  • รีเทนเนอร์ คืออะไร มีกี่แบบ แบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา?

    รีเทนเนอร์ คืออะไร มีกี่แบบ แบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา?

  • จัดฟัน ทำไมบางคนต้องจัดฟัน ประโยชน์ของการจัดฟันมีอะไรบ้าง

    จัดฟัน ทำไมบางคนต้องจัดฟัน ประโยชน์ของการจัดฟันมีอะไรบ้าง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ