X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

บทความ 5 นาที
ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

ไม่ว่าจะครอบครัวโรงเรียน องค์กร หรือก้อนกลุ่มชุมชนใด ก็จำต้องมีกฎเกณฑ์กำกับไว้เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปได้อย่างปกติสุข แม้แต่เกมที่เด็กเล่นก็ยังต้องมีกฎ แล้วบ้านของคุณล่ะ มีกฎแล้วหรือยัง?

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

การตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ บนพื้นฐานของความรักถือเป็น การสร้างฐานอันมั่นคงให้ครอบครัว คำถามคือแล้วเราควรจะตั้งกฎแบบไหน? คำตอบคือ เราควรตั้งกฎที่จะช่วยสร้างครอบครัวและคนในครอบครัวให้แข็งแรง คุณควรตั้งกฎให้สอดคล้องกับอายุของลูก ๆ ตารางชีวิต จริยธรรมและความเชื่อของคุณ เรามีคำแนะนำที่เกี่ยวกับการ ตั้งกฎครอบครัว ที่จะช่วยคุณได้

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

Advertisement

บ้านที่มีเด็กแบเบาะ

บ้านที่มีเด็กเล็กอาจต้องมีกฎง่าย ๆ ที่เน้นด้านความปลอดภัยและระเบียบวินัยเป็นหลัก

  • เวลาเข้านอน ควรชัดเจน เข้าใจง่าย และทำสม่ำเสมอ
  • ควรปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก กฎ เช่น ห้ามกินเหลือทิ้ง กินอาหารครบห้าหมู่ ไม่กินหวาน พ่อแม่ควรปลูกฝังโดยการทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่าง
  • กฎเกี่ยวกับการฟังควรมีความชัดเจน และเข้าใจง่ายสำหรับเด็ก เช่น ถ้าจะทำโทษลูก คุณควรจะปฏิบัติตามกฎสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้นเด็กอาจสับสน ว่าทำไมบางครั้งเขาจึงโดนทำโทษ แต่บางครั้งก็ไม่โดนทำโทษเมื่อปฏิบัติตัวเหมือนกัน

เด็กก่อนวัยเรียน

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

เมื่อลูกก้าวเข้าสู่วัยก่อนเข้าโรงเรียน คุณจำเป็นต้องเพิ่มกฎขึ้นอีกสองสามข้อ ดังนี้

  • ความรับผิดชอบ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมที่จะเริ่มช่วยงานบ้าน เช่นจัดโต๊ะอาหาร พับผ้า และเก็บของเล่น
  • คำพูด นี่เป็นวัยที่เด็กกำลังจดจำและรู้จักใช้คำใหม่ ๆ ดังนั้นคุณอาจต้องตั้งกฎเรื่องคำสุภาพและคำหยาบ หัดให้ลูกรู้จักพูด “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ให้ติดปาก
  • ช่วงนี้อาจเป็นช่วงที่เจ้าตัวเล็กเริ่มแผลงฤทธิ์ เขาจะทำตรงข้ามกับสิ่งที่คุณขอ หรือทำสิ่งที่คุณห้ามซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะพวกเขาแค่ต้องการจะทดสอบขีดจำกัดของข้อห้าม แต่ไม่ได้มีเจตนาจะท้าทายคุณ (แม้บางครั้งคุณอาจจะคิดอย่างนั้นก็ตาม) เคล็ดลับคือ คุณต้องปฏิบัติตัวให้คงเส้นคงวา ควบคุมตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ว่าบางครั้งก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่บางครั้งปล่อยผ่านไปทั้ง ๆ ที่ลูกทำผิดเช่นเดิม วางแผนให้ดี และตัดสินใจล่วงหน้าว่าคุณจะรับมือกับสถานการณ์นั้น ๆ อย่างไร
  • เด็กวัยนี้จะเริ่มพัฒนาทักษะทางสังคม นิสัยใจคอของลูกจะถูกพัฒนาขึ้นในช่วงอายุนี้ โดยเขาจะจดจำจากสิ่งที่คุณทำและสอน คุณควรเป็นแบบอย่างที่ดี สอนเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตน การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ความเอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารี และความซื่อสัตย์ การอธิบายให้ลูกฟังว่าคุณสมบัติเหล่านี้สำคัญอย่างไร และปลูกฝังนิสัยเหล่านี้ให้กับลูกจะช่วยสร้างนิสัยพื้นฐานที่ดีให้กับลูกเพื่อให้เขาอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคงต่อไป

เด็กวัยประถม

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

เมื่อลูกเริ่มเข้าโรงเรียน เขาจะได้พบปะผู้คนและความคิดใหม่ ๆ การได้เจอเพื่อนที่มีนิสัยและถูกอบรมสั่งสอนมาต่างกันจะทำให้พวกเขาตั้งคำถามมากมาย นี่เป็นช่วงที่พวกเขาจะรู้สึกผูกพันและทราบซึ้งในความรักที่คุณมีให้โดยไม่รู้ตัว

เด็กวัยประถมต้องการและพยายามทำทุกอย่างให้คุณพอใจ ฉะนั้นนี่จึงเป็นช่วงเวลาทองที่คุณจะสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกได้ นี่เป็นช่วงเวลาที่ลูกจะฟังคุณมากที่สุดในชีวิต รีบฉวยโอกาสนี้ไว้ เตรียมลูกให้พร้อมสำหรับก้าวต่อไปของชีวิต

  • ต้องมีกฎที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเพื่อนและเพื่อนร่วมชั้นที่ไม่ได้นับเป็นเพื่อน ว่าอะไรทำได้และทำไม่ได้
  • นี่เป็นช่วงที่ลูกคุณอาจเริ่มหัดโกหก คุณต้องไม่โกหกลูก แต่ต้องสอนลูกทุกครั้งที่จับได้ว่าเขาไม่ซื่อสัตย์
  • ควรตั้งกฎเกี่ยวกับวินัยการเรียนในช่วงวัยนี้ เพราะมันจะช่วยสร้างนิสัยทางการเรียนให้เขาต่อไปในอนาคต พยายามให้เขาทำการบ้านให้เสร็จก่อนหัวค่ำในแต่ละวัน ถ้าลูกลืมทำการบ้าน คุณอาจอะลุ่มอล่วยให้ได้ครั้งหรือสองครั้ง และนั่งทำการบ้านกับลูก แต่ถ้าเกินกว่านั้น พวกเขาต้องโดนทำโทษ จะได้รู้จักรับผิดชอบมากขึ้น

วัยมัธยมขึ้นไป

เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น คุณต้องตั้งกฎอีกเป็นเบือเกี่ยวกับการเล่นคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ, ไอพอด/ไอแพด, การออกไปเที่ยวเล่น, ค้างบ้านเพื่อน, มีแฟน, ขับรถ และอีกร้อยแปดเรื่อง แค่คิดก็ปวดหัวแล้วใช่ไหมล่ะคะ?

อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไป ถ้าครอบครัวของคุณทำเรื่องกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ชัดเจนมาตั้งแต่ต้น คุณก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรกับการตั้งกฎใหม่ ๆ กับลูกวัยรุ่น แน่นอนว่าอาจมีการทดสอบความอดทนกันบ้าง แต่ไม่ได้แปลว่าลูกจะกลายเป็นเด็กมีปัญหา มันแค่แปลว่าพวกเขาอยากโตเป็นผู้ใหญ่แค่นั้นเอง แม้อาจจะไม่ได้แสดงออกชัดเจน แต่เชื่อหรือไม่ ว่านี่เป็นช่วงที่เขาต้องการให้คุณช่วยมากที่สุด

  • กำหนดเวลาใช้โทรศัพท์มือถือ บังคับให้ปิดโทรศัพท์ตามเวลาในแต่ละเย็น อย่าให้ลูกเอาโทรศัพท์ไปไว้ในห้องเวลากลางคืน
  • ตั้งค่าและพาสเวิร์ดต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปดูสิ่งที่ไม่สมควร เพื่อไม่ให้มิจฉาชีพมีโอกาสมาล่อลวงลูกได้
  • กำหนดเวลากลับบ้านชัดเจน อาจยืดหยุ่นได้บ้างเวลามีวาระโอกาสพิเศษ นอกนั้น พยายามยึดตามกฎอย่างเคร่งครัด
  • คุณมีสิทธิที่จะสอบถามพ่อแม่คนอื่น ๆ ว่าลูกอยู่ไหน กับใคร เมื่อไหร่ ทำอะไร หากลูกไปเที่ยวเล่นบ้านเขา คุณควรต้องเริ่มกังวล ถ้าลูกพยายามเลี่ยงคำถามหรือตอบคำถามอ้อมแอ้ม
  • คุยเรื่องกฎเกณฑ์ต่าง ๆ กับลูกว่าด้วยเรื่องออกไปเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศ ให้ลูกได้พิจารณาถึงความเหมาะสมด้วยตัวเอง เพราะลูกมีแนวโน้มจะยอมรับกฎกติกามากขึ้น แต่อย่าลืมว่าคุณเป็นพ่อแม่ ยังไงคุณก็ควรเป็นคนยื่นคำขาดสุดท้าย

จุดประสงค์ในการตั้งกฎต่าง ๆ ในบ้าน ไม่ใช่เพื่อบีบบังคับ แต่เพื่อให้ทุกคนในบ้าน (รวมทั้งตัวคุณ) รู้หน้าที่ของตนและความคาดหวังของสมาชิกคนอื่น ๆ จะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข กลมเกลียวและห่วงใยซึ่งกันและกัน

1. ใช้น้ำเสียงที่หนักแน่น
การใช้การพูดและไม่ตะโกนมันจะทำให้คำพูดมีความขลัง พูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นแสดงให้เห็นว่าเราหมายถึงในสิ่งที่เราพูด ในทางตรงข้ามหากเราตะโกนมันอาจจะทำให้พวกลูกรู้สึกตกใจและส่งผลให้ลูกรู้สึกหวาดกลัว ในทางจิตวิทยา พฤติกรรมที่รุนแรงของผู้ปกครองนั้นจะส่งผลให้เด็กยอมที่จะทำตาม แต่ไม่ใช่เพราะลูกเรียนรู้ว่าพวกเขาทำผิดอะไรที่ทำตามเพราะหวาดกลัว

2. ต้องมุ่งมั่น
ถ้าคุณบอกว่านี่จะเป็นรายการสุดท้ายที่ลูก ๆ จะได้ดูแล้ว คุณก็ต้องยอมที่จะเด็ดขาด อย่าอ่อนข้อ อย่ายอมเพียงเพราะลูกร้องไห้หรือบ่น หากพ่อแม่ยอมอ่อนข้อ นั่นหมายถึง ลูก ๆ ก็สามารถที่จะเจรจาต่อรองบางสิ่งกับคุณได้ง่าย ๆ และเมื่อเขารับรู้ว่าทำได้ พวกเขาก็จะไม่เรียนรู้ที่จะเชื่อฟังและจะใช้วีธีการเดิมกับคุณซ้ำแล้วซ้ำอีก

3.อย่าให้ลูกมีทางเลือก
ตัวอย่างเช่น อย่าใช้คำพูดอย่าง “ลูกควรปิดทีวีได้แล้ว” แต่ให้ใช้คำพูดตรงๆ “พ่อ/แม่ต้องการให้ลูกปิดทีวีเดี๋ยวนี้นะคะ” มันเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณมีอำนาจเหนือพวกเขา และลูกก็ควรจะทำตามเมื่อถึงเวลาดูทีวีตามที่กำหนดไว้

4. ลงไปอยู่ในระดับเดียวกับลูก ๆ
เวลาที่ต้องการออกคำสั่งให้ลูกทำอะไร ลองย่อตัวของคุณให้ลงไปในระดับสายตาและความสูงเดียวกัน วิธีการนี้จะทำให้ลูกรู้สึกใกล้ชิดกับพ่อแม่ และจะไม่รู้สึกว่าเป็น “เพียงคนเดียว” ที่ถูกบอกว่าให้ทำอะไร เมื่อลูกพบว่าพ่อแม่อยู่ในระดับเดียวกัน เขาก็จะให้ความร่วมมือกับคุณอย่างง่ายดาย

สิ่งสำคัญในการที่จะออกคำสั่งใช้กฎที่ตั้งไว้กับลูก คือ พ่อแม่ต้องเริ่มต้นที่จะพูดคุยสื่อสารกับลูก ๆ ตั้งแต่ในวัยเด็ก เช่นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด การแลกเปลี่ยนความรู้สึก และการให้คำแนะนำ และหลังจากนั้นค่อยเป็นในเรื่องของการรับคำสั่งด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่ดี ในไม่ช้า เด็ก ๆ จะรู้ว่า พ่อแม่คาดหวังอะไรจากพวกเขา เพื่อที่จะได้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การมีกฎกติกากับลูกขึ้นมา พ่อแม่ควรดูให้อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลที่เหมาะสม แต่ไม่ควรมีมากเกินไป เพราะเด็กในวัยนี้กำลังอยู่ในเรียนรู้ ชอบลองผิดลองถูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยขัดเกลาให้ลูกกลายเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อไปในอนาคต

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

 

Source :  familynetwork

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

10 วิธีในการสอนลูกของคุณให้มี ความซื่อสัตย์และมีน้ำใจ

วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย เคล็ดลับการสอนลูก ให้รู้จักการแบ่งเวลาเรียนและเล่นได้ดี

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!
แชร์ :
  • เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

    เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

  • พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

    พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  • เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

    เลี้ยงลูกยังไงให้อยากไปโรงเรียน สร้างความสุขในการเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรก

  • พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

    พอได้หรือยัง!? ตะคอกลูก ทำร้ายจิตใจ ทำลายสมองลูก

  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว