X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ

บทความ 5 นาที
ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ

เชื่อไหมคะ ? ลูกดูดนิ้วมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้ว ดังนั้น พฤติกรรมการดูดนิ้วของลูก ไม่ใช่เกิดจากลูกหิวนะคะ และไม่ใช่สิ่งที่จะบอกถึงอาการหรือความต้องการของเด็ก

ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ

ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ ??!! 

ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ

ทำไมเจ้าหนูน้อยถึงชอบดูดนิ้ว

เชื่อไหมคะ ? ลูกดูดนิ้วมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้ว  ดังนั้น พฤติกรรมการดูดนิ้วของลูก ไม่ใช่เกิดจากลูกหิวนะคะ  และไม่ใช่สิ่งที่จะบอกถึงอาการหรือความต้องการของเด็ก  แต่การดูดนิ้ว คือ

  1. การกระตุ้นประสาทการรับรส การกระตุ้นการทำงานของช่องปาก ต่อมน้ำลายต่างๆ
  2. นอกจากนี้ การดูดนิ้วของทารกน้อย บางครั้งก็เป็นการแสดงออกถึงความกังวลหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยเช่นกันค่ะ เช่น เมื่อเจ้าหนูมองไม่เห็นคุณแม่ และกำลังรู้สึกกังวลหรือไม่ปลอดภัย ลูกอาจจะใช้วิธีดูดนิ้ว เพราะเด็กเคยชินกับการดูดนิ้วตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพราะตอนอยู่ในท้องคุณแม่เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและได้ใกล้ชิดกับคุณแม่
  3. ลูกมักจะเลิกดูดนิ้วไปเองเมื่อเขาเจอวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ตัวเองสงบและสบายใจได้ โดยปกติแล้วมักจะเลิกภายในช่วง 4-5 ขวบค่ะ ถึงแม้ว่าเด็กหลายคนอาจจะยังดูดนิ้วบ้างในตอนกลางคืน หรือในเวลาที่เขารู้สึกเครียด

กังวลลูกดูดนิ้ว : ลูกดูดนิ้ว มีข้อดีไหม หรือว่าจำเป็นต้องห่วง

ชอบดูดนิ้ว ปกติหรือน่ากังวล?

อย่างไรก็ตาม มีเด็กหลายคนติดดูดนิ้วต่อเนื่องจนถึงอายุ 5-6 ขวบ เด็กเหล่านี้ควรได้รับการตรวจรักษาก่อนที่การดูดนิ้วจะนำไปสู่ปัญหาการสบของฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเห็นด้วยว่าเด็กซึ่งเล็กกว่า 5 ขวบไม่ควรถูกบังคับให้เลิกดูดนิ้ว เด็กส่วนใหญ่จะเลิกติดดูดนิ้วไปเองก่อนจะเข้าเรียนชั้นอนุบาล ความจริงแล้ว มากกว่าสามในสี่ของเด็กทารกดูดนิ้วตลอดช่วงขวบปีแรกของชีวิต เด็กมักดูดนิ้วเมื่อรู้สึกเบื่อ ง่วงหรือหงุดหงิด นอกจากนี้ยังไม่ใช่เรื่องแปลกที่การดูดนิ้วอาจเกิดควบคู่ไปกับพฤติกรรมอื่น เช่น ใช้นิ้วพันผมเล่น จับหูตัวเองหรือลูบ “ผ้าห่มผืนโปรด”

การติดดูดนิ้วเรื้อรังอาจนำไปสู่ปัญหาการสบฟันหน้าไม่สนิทและฟันหลังสบไขว้ ผลกระทบของการดูดนิ้วขึ้นอยู่กับวัยของเด็ก ระยะเวลา ความถี่และความแรงของการดูดนิ้ว ตามปกติแล้วหากตรวจพบก่อนที่ขากรรไกรบนของเด็กจะเติบโตสมบูรณ์ ปัญหาการสบฟันอันเกิดจากการดูดนิ้วมักหายได้เอง แต่หากเด็กยังติดนิสัยนี้ต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข การสบฟันผิดปกติจากการดูดนิ้วอาจจำเป็นต้องได้รับการจัดฟันที่ยุ่งยากซับซ้อนต่อไปในอนาคต

แม้จะได้ทราบถึงเหตุผลของลูกว่าทำไมชอบดูดนิ้ว แต่อีกใจคุณพ่อคุณแม่ก็อดกังวลไม่ได้ หากนิ้วหรือมือของลูกเกิดไปหยิบจับสิ่งต่าง ๆ จะทำให้เชื้อโรคติดเข้าปากลูกได้ จึงให้ “จุ๊บ” หรือจุกนมปลอมให้ลูกดูดแทนดีกว่า!!!

ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ

 

วิธีการที่จะให้ลูกดูดนิ้ว 

ไม่ยากเลยละค่ะ แต่ก่อนอื่น คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกก่อน ทำให้ลูกรู้สึกว่า การไม่ดูดนิ้วนั้นดีอย่างไรก่อน และคอยชมและให้กำลังใจเวลาที่พวกเขาทำได้ ของแบบนี้ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปกันนะคะ อย่าไปหักดิบลูกเด็ดขาด และนี่คือวิธีการง่าย ๆ ที่เราเอามาฝากค่ะ

1. หลีกเลี่ยงให้ลูกนอนดูดนิ้ว เพราะลูกอาจจะเผลอดูดนิ้วไปตลอดทั้งคืน และนั่นส่งผลให้เกิดปัญหาฟันสบเปิด และแน่นอนค่ะว่า เมื่อพวกเขาโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่ได้พาพวกเขาไปจัดฟันเป็นแน่

2. จับตาดูลูก คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะจับตาดูลูกเสมอ และพยายามเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการเอาของเล่นใส่มือทั้งสองข้างทันที

3. อย่าดุลูก เข้าใจค่ะว่า คุณพ่อคุณแม่อาจจะหงุดหงิดทุกครั้งที่เห็นลูกดูดนิ้ว แต่ของแบบนี้ต้องใช้เวลานะคะ การพยายามให้ลูกเลิกด้วยอารมณ์และบังคับเขานั้น จะทำให้ลูกไม่เข้าใจ เสียใจ และอาจจะดูดนิ้วหนักกว่าเดิม

4. หารูปเชื้อโรคมาให้ลูกดู วิธีนี้อาจจะเป็นการทำให้ลูกกลัวเสียหน่อย แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะได้ผลนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่เริ่มโตและรู้เรื่องแล้ว วิธีการก็คือ บอกเขาว่า นี่คือเชื้อโรคที่อยู่ตามนิ้วของลูก เพราะลูกไม่มีทางรู้เลยว่า สิ่งของหรือของกินที่ลูกจับต้องนั้น ปราศจากเชื้อโรคจริงหรือไม่ ดังนั้น การที่ลูกดูดนิ้วนั่นก็หมายถึง ลูกดูดอมเอาเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายด้วย และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบาย

5. ลองใช้วิธีแบบโบราณ สิ่งที่คนสมัยก่อนมักใช้ในการห้ลูกดูดนิ้วนั้นก็คือ การนำบอระเม็ดมาทาที่นิ้วลูก และเมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาดูดเข้าไป เมื่อนั้นเขาจะได้สัมผัสกับรสชาติของความขม ที่พวกเขาจะรู้สึกเข็ดไปได้เอง โดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยเลยละค่ะ

จุกหลอกดีหรือไม่ : จุกหลอก: ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้

ดูดจุกนมหลอกดีอย่างไร

  1. ลดอาการร้องไห้เมื่อเจ้าหนูกินนมแล้ว แต่ยังร้องไม่เลิก
  2. ช่วยลด การเล่นน้ำลาย ดูดนิ้ว ดูดปาก
  3. การให้เด็กดูดจุกนมหลอก สามารถป้องกันการเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ หรือที่เราเรียกว่า SIDS (sudden infant death syndrome) ได้แนะนำให้รอจนลูกอายุอย่างน้อย 1 เดือนจึงค่อยเริ่มให้ใช้จุกหลอก เพื่อให้ทารกได้คุ้นเคยกับการดูดนมแม่ก่อน เพราะการใช้จุกหลอกอาจมีผลกระทบกับการให้นมของคุณแม่ได้
  4. จุ๊บสามารถเบี่ยงเบนความสนใจได้ชั่วคราว เมื่อเด็ก ๆ หิว จุ๊บสามารถถ่วงเวลาให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งท่าให้นม หรือ เตรียมชงนม จุ๊บยังเหมาะกับสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน เช่น ฉีดยา ตรวจเลือด หรือ การตรวจอื่น ๆ
  5. จุกนมหลอกยังอาจถูกใช้เป็นตัวแทนของคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดเพื่อลดอาการกังวลจากการแยกจาก เช่นเดียวกับ ผ้าห่ม ตุ๊กตา รวมทั้งเด็กบางคนอาจดูดจุกนมหลอกเพื่อกล่อมให้ตัวเองนอนหลับได้

ดูดจุกนมหลอกดีอย่างไร 1. ลดอาการร้องไห้เมื่อเจ้าหนูกินนมแล้ว แต่ยังร้องไม่เลิก 2. ช่วยลด การเล่นน้ำลาย ดูดนิ้ว ดูดปาก 3. การให้เด็กดูดจุกนมหลอก สามารถป้องกันการเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ หรือที่เราเรียกว่า SIDS (sudden infant death syndrome) ได้แนะนำให้รอจนลูกอายุอย่างน้อย 1 เดือนจึงค่อยเริ่มให้ใช้จุกหลอก เพื่อให้ทารกได้คุ้นเคยกับการดูดนมแม่ก่อน เพราะการใช้จุกหลอกอาจมีผลกระทบกับการให้นมของคุณแม่ได้ 4. จุ๊บสามารถเบี่ยงเบนความสนใจได้ชั่วคราว เมื่อเด็ก ๆ หิว จุ๊บสามารถถ่วงเวลาให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งท่าให้นม หรือ เตรียมชงนม จุ๊บยังเหมาะกับสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน เช่น ฉีดยา ตรวจเลือด หรือ การตรวจอื่น ๆ 5. จุกนมหลอกยังอาจถูกใช้เป็นตัวแทนของคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดเพื่อลดอาการกังวลจากการแยกจาก เช่นเดียวกับ ผ้าห่ม ตุ๊กตา รวมทั้งเด็กบางคนอาจดูดจุกนมหลอกเพื่อกล่อมให้ตัวเองนอนหลับได้ ข้อเสียของจุกหลอก 1. ลูกติดจุกนมหลอกจนไม่ดูดนมแม่ อาจส่งผลให้ปริมาณของน้ำนมแม่ลดลง เนื่องจากขาดการดูดกระตุ้น 2. จุกนมหลอกลูกมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรคได้มากกว่า หากทำความสะอาดไม่ดีพอเช่น โรคติดเชื้อในหูชั้นกลาง 3. การติดจุกหลอกก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อโครงสร้างของเหงือกและฟันจนผิดรูปร่างไปอย่างถาวรซึ่งส่งผลต่อการสบฟันของเด็ก เมื่อมีปัญหาด้านการสบฟันก็จะทำให้มีผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร

การให้นมลูก แชร์ให้พ่อได้อ่าน 10 เรื่องที่คุณพ่อมือใหม่ช่วยได้ในเวลาที่แม่ให้นมลูก

 

 ข้อเสียของจุกหลอก

  1. ลูกติดจุกนมหลอกจนไม่ดูดนมแม่ อาจส่งผลให้ปริมาณของน้ำนมแม่ลดลง เนื่องจากขาดการดูดกระตุ้น
  2. จุกนมหลอกลูกมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรคได้มากกว่า หากทำความสะอาดไม่ดีพอเช่น โรคติดเชื้อในหูชั้นกลาง
  3. การติดจุกหลอกก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อโครงสร้างของเหงือกและฟันจนผิดรูปร่างไปอย่างถาวรซึ่งส่งผลต่อการสบฟันของเด็ก เมื่อมีปัญหาด้านการสบฟันก็จะทำให้มีผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร

ทำอย่างไรให้ลูกเลิกดูดนิ้และ ดูดจุกหลอก

เมื่อติดได้ก็เลิกได้ “ดูดนิ้ว”

  1. ฝึกให้ลูกใช้มือในการทำอย่างอื่น หาของเล่นที่ต้องมีการฝึกทักษะมือให้ลูกเล่น เช่น ลูกบอล พอใช้มือมาก ๆ สุดท้ายลูกก็จะลืมเรื่องเอานิ้วเข้าปากไปเอง วิธีการนี้เป็นการช่วยเบี่ยงเบนพฤติกรรมลูกได้ ไม่นานพฤติกรรมนี้ก็จะหายไปได้ในที่สุด
  2. หากเห็นลูกดูดนิ้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุว่า หรือดึงมือออกจากปากทันที ควรปล่อยให้ดูดอีกสัก ค่อยเข้าไปพูดเล่นดี ๆ ด้วยและเบนประเด็นให้สนใจทำอย่างอื่นแทนการดูดนิ้ว

เมื่อติดได้ก็เลิกได้  ดูดจุกหลอก

  1. เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 8 เดือน สามารถเบี่ยงเบนความสนใจเด็กจากจุกหลอกได้หลายรูปแบบ เช่น การเล่นเปลโยก ร้องเพลง หรือการเปิดเพลงสบายๆ
  2. เด็กอายุประมาณ 7 – 18 เดือน สามารถให้เด็กทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เล่นของเล่น หรือให้เด็กมีของเล่นติดมือเป็นของเล่นอื่น ๆ ตุ๊กตา ลูกบอล เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของลูกจากจุกหลอก
  3. ลูกอายุ 1 ขวบขึ้นไปคุณแม่ควร จำกัดการใช้จุกหลอกเฉพาะช่วงที่จำเป็นในแต่ละวัน เช่น เวลาเข้านอน หรือเวลาที่น้องไม่สบาย คุณต้องหนักแน่นหน่อยนะคะ รวมถึงให้รางวัลเจ้าตัวเล็กด้วยการเล่นกิจกรรมสนุกๆ หรือให้รางวัลโดยใช้แผ่นสะสมดาวหรือสติกเกอร์ อย่าให้ลูกกินขนมแทนการใช้จุกหลอกนะคะ

คำแนะนำในการใช้จุกหลอก

  1. ควรฆ่าเชื้อด้วยการต้มในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที
  2. ควรมีจุกหลอกสำรองในกรณีที่อาจทำหายหรือหล่นพื้น
  3. ระหว่างเดินทาง ควรทำความสะอาดจุกด้วยการล้างน้ำอุ่น และน้ำสบู่
  4. ไม่ควรบังคับลูกให้ใช้จุกหลอก หากลูกไม่อยากใช้ ควรหาวิธีอื่นที่ทำให้ลูกหยุดร้องแทน
  5. เลือกจุกหลอกให้เหมาะกับอายุของลูก และเลือกที่หัวนุ่มๆ จะเหมาะที่สุด
  6. ไม่ควรผูกจุกไว้กับสายคล้องคอที่ยาวเกิน 6 นิ้ว เพราะอาจติดคอเด็กได้

สำหรับในต่างประเทศนั้นมีการศึกษาและได้ข้อสรุปว่า การใช้จุกนมหลอกนั้นมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพียงแต่คุณแม่ควรที่จะต้องใช้อย่างถูกวิธี และไม่ใช้มากหรือบ่อยเกินไปค่ะ

ลูกชอบดูดนิ้วเพราะอะไร : ทำไมลูกชอบกัดเล็บ ดูดนิ้ว ดึงผม นิสัยแบบนี้แก้หายไหม

ได้ทราบถึงสาเหตุของการดูดนิ้ว  รวมไปถึงข้อดี ข้อเสียของการดูดจุ๊บหรือจุกหลอก คงจะพอช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจได้นะคะว่าดูดจุ๊บหรือดูดนิ้วดีกว่า บทความนี้ขอให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณพ่อคุณแม่นะคะ  ที่สำคัญอย่าให้ติดอะไรเลยจะดีกว่านะคะ  ค่อย ๆ เลิกทีละน้อยอาจปฏิบัติตามวิธีการที่แนะนำมาหรือมีวิธีดี ๆ มาบอกเล่ากันก็ยิ่งดีนะคะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ข้อมูลอ้างอิงข้อมูล

thelittlegymrama3.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

วิธีบีบเต้า ช่วยลูกดูดนม

เลือกจุกนม ให้ลูกดูด จ๊วบ ๆ อย่างสบายใจ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Weerati

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ
แชร์ :
  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว