X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ท้องกลัวแท้ง! ไม่อยากเสียลูก ต้องรู้จัก ยากันแท้ง ป้องการแท้งบุตร ยานี้คืออะไร

บทความ 3 นาที
แม่ท้องกลัวแท้ง! ไม่อยากเสียลูก ต้องรู้จัก ยากันแท้ง ป้องการแท้งบุตร ยานี้คืออะไร

แม่ท้องเสี่ยงแท้ง! ไม่อยากแท้งต้องรู้ ยากันแท้งป้องการแท้งบุตร คืออะไร หมอจะฉีดยากันแท้งให้แม่ตอนไหน

ยากันแท้ง คืออะไร

ยากันแท้ง ป้องกันแท้งลูก ยากันแท้งคืออะไร หมอฉีดยากันแท้ง ตอนไหน ยากันแท้งช่วยได้จริงหรือ

 

สาเหตุของการแท้งลูก

โรงพยาบาลพญาไท 3 อธิบายถึงสาเหตุของการแท้งว่า แท้งหรือภาวะแท้งบุตร พบได้บ่อยในช่วงการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ซึ่งมีได้หลายสาเหตุ การดูแลและรักษา หรือการเลือกใช้ยากันแท้ง แพทย์จะวินิจฉัย และเลือกใช้ตามสาเหตุที่เป็น เช่น

  • การติดเชื้อ
  • เคยมีประวัติแท้งมาก่อน
  • มดลูกหรือปากมดลูกมีความผิดปกติ
  • มีเนื้องอก มีติ่งเนื้อ ในโพรงมดลูก
  • ปากมดลูกไม่แข็งแรง
  • โรคทางระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ มารดามีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ
  • มีโรคทางพันธุกรรมหรือโครโมโซม
  • ตัวร้อนผิดปกติ
  • โรคเลือดแข็งตัวผิดปกติ
  • ฮอร์โมนผิดปกติ เป็นต้น

 

ข้อควรระวังสำหรับคนท้องจะได้ไม่ต้องฉีดยากันแท้ง

คนท้องต้องพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ลดความเครียดและลดความวิตกกังวล รวมทั้งเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบา ๆ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เลิกดื่มเบียร์ เลิกเหล้า และต้องเลิกสูบบุหรี่ นอกจากนี้ หากคุณหมอมีคำเตือนห้ามมีเพศสัมพันธ์ก็ควรจะงดเว้นตามช่วงเวลาที่คุณหมอกำหนด

 

เมื่อไหร่ควรได้รับยากันแท้ง

พญ.กุลธิดา ทรัพย์สมุทรชัย สูตินรีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยากันแท้งไว้ว่า คุณแม่ท้องที่มีภาวะแท้งบุตร มีอาการปวดท้อง มีเลือดออก แต่หัวใจทารกยังเต้นปกติ แพทย์มักจะให้ฮอร์โมนกันแท้ง

 

ยากันแท้งคืออะไร

โดยทั่วไปยากันแท้งจะเป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสเตอร์โรนตามธรรมชาติ หรือสังเคราะห์

ยากันแท้งมีทั้งรูปแบบการกิน การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือชนิดสอดเข้าช่องคลอด เพื่อป้องกันการแท้งบุตร ซึ่งจะได้ประโยชน์มากในกลุ่มการแท้งที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนขณะตั้งครรภ์ แต่ถ้าเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ฮอร์โมนก็ไม่สามารถช่วยยับยั้งการแท้งได้

Advertisement

แม่ท้องต้องสังเกตอาการตัวเอง เพื่อจะได้รับยากันแท้งอย่างทันท่วงที

เมื่อมีอาการแท้งบุตร เช่น ปวดท้องผิดปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป จนกระทั่งคลอดได้

แม่ท้องต้องรู้ ความจริงที่ทำให้แม่ท้องต้องเสี่ยงแท้ง

1.ปัญหาจากโครโมโซม

ความผิดปกติของโครโมโซมมีผลต่อการแท้งลูก เป็นสาเหตุสำคัญที่มักทำให้แท้งบุตร โดยมักจะแท้งในไตรมาสแรก มากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และแท้งในช่วงไตรมาสสอง 20 เปอร์เซ็นต์

สาเหตุนั้นเป็นไปได้จากทั้งเชื้ออสุจิจากพ่อ และความผิดปกติจากไข่ของแม่ ซึ่งการตั้งครรภ์ สามีภรรยาต้องมีโครโมโซม 23 คู่ ตัวอ่อนในครรภ์กับโครโมโซมทั้งหมด 46 แท่ง จึงจะถือว่า การตั้งครรภ์สำเร็จ แต่ถ้ามีโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป จะมีผลต่อการแท้ง

2.โรคภัยที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

อาการเจ็บป่วยของแม่ท้องมีผลต่อลูกในท้องเสมอ อาทิ โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ และโรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง

นอกจากนี้ ยังต้องระวังการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ ถ้าเกิดปัญหาสุขภาพตอนท้อง อย่านิ่งนอนใจต้องรีบไปพบแพทย์ ที่สำคัญ อย่ากินยาเอง ต้องให้แพทย์สั่งยาให้ทุกครั้ง

3.ฮอร์โมนในร่างกายแม่ท้องไม่สมดุล

ฮอร์โมนในร่างกายของแม่ มีผลต่อการแท้ง ถ้าร่างกายของแม่ตั้งครรภ์ผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการตั้งครรภ์ ก็อาจจะจบลงด้วยการแท้ง เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจน มีผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูก ที่ซึ่งตัวอ่อนอยู่ภายใน

ถ้าฮอร์โมนเกิดไม่เพียงพอหรือไม่สมดุล ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่แข็งแรงพอ แน่นอนว่าจะมีผลต่อรกและทารกในครรภ์

4.บริโภคคาเฟอีนมากเกินไป

การบริโภคคาเฟอีนมากๆ ส่งผลเสียต่อร่างกาย และยังมีผลมากๆ ต่อแม่ท้อง ดังนั้น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เป็นสิ่งที่แม่ต้องระวังอย่าบริโภคมากเกินไป โดยผลการศึกษาจาก Kaiser Permanente เปิดเผยว่า ผู้หญิงที่บริโภคคาเฟอีนมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณเทียบเท่ากาแฟ 2 แก้ว) มีความเสี่ยงต่อการแท้งสูงกว่าปกติถึง 2 เท่า

ไม่ใช่แค่คาเฟอีนเท่านั้น การดื่มแอลกอฮอล์มากๆ และการสูบบุหรี่ ก็มีผลต่อการแท้ง รวมไปถึงการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเช่นกัน ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยง ทุกสิ่งที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

อ่านเพิ่มเติม ไม่อยากแท้งต้องรู้ ความจริงที่ทำให้แม่ท้องต้องเสี่ยงแท้ง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม แล้วชาเขียวกินได้หรือเปล่า ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม

สาเหตุ ตัวอ่อน ไม่พัฒนา ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต แท้งค้าง คนท้องแบบไหนเสี่ยงสูง

ภาวะ แท้งค้าง ยากที่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้ว

ข้อห้ามสำหรับคนท้อง อะไรบ้างที่คนท้องห้ามทำ

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่ท้องกลัวแท้ง! ไม่อยากเสียลูก ต้องรู้จัก ยากันแท้ง ป้องการแท้งบุตร ยานี้คืออะไร
แชร์ :
  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว