การตั้งครรภ์เด็กฝาแฝด อาจจะเป็นความปรารถนาของคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน แต่โอกาสในการตั้งครรภ์ลูกแฝดนั้นเกิดขึ้นได้เพียงแค่ร้อยละ 3 แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 1980 มากถึงร้อยละ 61 แต่ก็ยังถือว่าน้อยอยู่ดี คุณพ่อคุณแม่ที่อยากทราบเคล็ดลับ ทำยังไงให้ได้ลูกแฝด ต้องฟังทางนี้
ทำยังไงให้ได้ลูกแฝด ปัจจัยที่ทำให้แม่ตั้งครรภ์ลูกแฝด
- มีสมาชิกในครอบครัวเป็นฝาแฝด คนในครอบครัวสามี หรือภรรยา เคยคลอดลูกแฝด
- เชื้อชาติเอเชียจะคลอดลูกแฝดน้อยกว่า แอฟริกันหรือยุโรป
- คุณแม่ที่ตัวสูงใหญ่จะมีสิทธิ์ท้องลูกแฝดได้ง่ายกว่าคุณแม่ที่ไม่สูงมาก
- คุณแม่ที่มีโภชนาการที่ดี จะมีสิทธิ์ท้องลูกแฝดได้ง่ายกว่าคุณแม่ที่โภชนาการไม่ดี
- คุณแม่ที่มีค่า BMI มากกว่า 30 จะมีสิทธิ์ท้องลูกแฝดได้ง่ายกว่า
- คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 จะมีสิทธิ์ท้องลูกแฝดได้มากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อย
- คุณแม่ที่เคยมีลูกมาแล้วหลายคน จะมีสิทธิ์ท้องลูกแฝดได้มากกว่าคุณแม่ที่ไม่เคยมีลูกมาเลย
โอกาสในการตั้งครรภ์ลูกแฝดนั้นเกิดขึ้นได้เพียงแค่ร้อยละ 3 แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 1980 มากถึงร้อยละ 61 แต่ก็ยังถือว่าน้อยอยู่ดี
เคล็ดลับทำอย่างไรให้ได้ลูกแฝด
- กินผลิตภัณฑ์จากนมวัว คุณแม่ที่บริโภคผลิตภัณฑ์จากนมวัว อย่างนมวัว ชีส เนย จะมีสิทธิ์ท้องลูกแฝดสูงถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับคุณแม่ที่ไม่กินผลิตภัณฑ์จากนมวัว
- การกินกลอย ช่วยให้มีโอกาสท้องลูกแฝดได้ค่ะ เนื่องจากกลอยมีสารที่เข้าไปกระตุ้นรังไข่ จึงมีแนวโน้มว่าไข่จะตกมากกว่า 1 ฟอง เนื่องจากคุณแม่ชาวแอฟริกันกินกลอยเป็นประจำ อัตราการท้องเด็กแฝดจึงเยอะกว่าประเทศอื่น ๆ แต่อาหารอย่างอื่นก็ช่วยได้เช่นกัน เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง ธัญพืช ข้าวสาลี
- การหยุดกินยาคุมกำเนิด มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ธรรมชาติได้ ฮอร์โมนจะถูกไหลกลับเข้ามาสูง มากกว่าปกติ หากมีการปฏิสนธิทันที หลังจากที่หยุดกินยาคุม ก็จะทำให้มีโอกาสท้องแฝดมากขึ้นค่ะ
- ตั้งครรภ์ตอนที่กำลังให้นม เนื่องจากช่วงที่ให้นมลูกอยู่ ฮอร์โมนโพรแล็คทินจะมีปริมาณที่สูงกว่าปกติ ช่วยให้คุณแม่มีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์แฝดได้ค่ะ
- คุณพ่อกินอาหารที่มีสังกะสีสูง เช่น ผักใบเขียว หอยนางรม ขนมปัง และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มปริมาณสเปิร์ม และช่วยให้ปฏิสนธิได้มากกว่าไข่ 1 ใบ
- หากทิ้งช่วงในการมีลูก จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้ค่ะ
- ทางเลือกอื่น ๆ เช่น การทำ IVF และการทำ IUI ก็ช่วยได้เช่นกัน
- การได้รับกรดโฟลิค โกนาโดโทรปินฮอร์โมน (Gonadotropin) โพรเจสเทอโรนฮอร์โมน (ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอ)
ท่าเซ็กซ์เพิ่มโอกาสท้องแฝด
- ท่ายืน เป็นอีกท่วงท่าที่ทำให้อสุจิเพศชายแหวกว่ายไปสู่ไข่ได้เร็วขึ้น จะเป็นท่ายืนแบบพิงผนัง หรือลิงอุ้มแตงก็ได้
- ท่ามิชชั่นนารี หรือท่ามาตรฐาน รวมถึงท่าเพศสัมพันธ์ที่ฝ่ายหญิงนอนหงายงอ แบะต้นขาออกเต็มที่ หรือจะพาดบ่าฝ่ายชายในขณะที่ฝ่ายชายคุกเข่าอยู่
- ท่า doggy style ให้ฝ่ายหญิงอยู่ในท่าโก้งโค้ง และฝ่ายชายสอดใส่จากทางด้านหลัง ฝ่ายชายจะสอดใส่เข้าไปได้ลึก จะปรับเป็นโก้งโค้งแทนการคุกเข่า หรือใช้โต๊ะเป็นที่รองรับน้ำหนักตัวของฝ่ายหญิง และให้ฝ่ายชายเข้าด้านหลัง ก็จะทำให้การขยับเข้าจังหวะนั้นมั่นคงยิ่งขึ้น
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจะมีอาการต่างๆเหล่านี้ เช่น มดลูกมีขนาดใหญ่มากกว่า มีอาการแพ้ท้องมากกว่า รู้สึกหิวบ่อย น้ำหนักขึ้นมาก รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์จากหลายๆทิศทางในเวลาเดียวกัน
สัญญาณของการตั้งครรภ์แฝด
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น มดลูกมีขนาดใหญ่มากกว่า มีอาการแพ้ท้องมากกว่า รู้สึกหิวบ่อย น้ำหนักขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์จากหลาย ๆ ทิศทางในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการพื้นฐานที่คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด จะรู้สึกมากกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยว
การดูแลสุขภาพของครรภ์แฝด
ในการตั้งครรภ์เดี่ยวคุณแม่จะได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นวันละ 300 แคลอรี ต่อวัน เพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยตลอดระยะเวลา 9 เดือน เช่นเดียวกันกับการตั้งครรภ์แฝด ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับต่อวันจึงเพิ่มปริมาณทวีคูณขึ้นไปเป็น 600 แคลอรี ต่อวัน โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ท้องควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 16 – 24 กิโลกรัม ในระหว่างการตั้งครรภ์
น้ำหนักตัวของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ มีความเกี่ยวพันกับน้ำหนักตัวของลูกน้อยในครรภ์ด้วย หากน้ำหนักน้อยเกินไป อาจมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือเสี่ยงต่อการแท้ง คุณแม่อาจจะเคยได้ยินว่า อายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น จะแปรผันตรงกับขีดกิโลกรัมบนตาชั่ง เช่น 24 สัปดาห์ ก็จะเพิ่มขึ้น 24 ปอนด์ หรือ 10 กิโลกรัม หากแต่สิ่งสำคัญคือ การรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรอดอาหาร แม้ว่าจะไม่อยากรับประทานก็ตาม
ในช่วงท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์แฝด คุณแม่อาจจะยิ่งรู้สึกไม่อยากรับประทานมากขึ้น เนื่องจากขนาดตัวของลูกน้อยฝาแฝดในครรภ์ ก็เต็มพื้นที่ท้องของคุณแม่แล้ว หากเป็นเช่นนั้น ให้รับประทานเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อย ๆ แทน จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ด้วย
-
เข้าใจความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แฝด
แน่นอนว่าการตั้งครรภ์แฝดย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ ภายใต้ความยินดีของคุณแม่ สิ่งนี้ก็อาจจะสร้างความกังวลใจอยู่ไม่น้อย ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเป็นปัจจัยในการคลอดก่อนกำหนด การเข้าสู่กระบวนการรักษาครรภ์เป็นพิเศษ เช่นการ Bed Rest หรือการผ่าคลอด ก็เป็นความเสี่ยงที่ครรภ์ฝาแฝดอาจจะมีมากกว่าครรภ์ปกติ แต่ความเสี่ยงเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่ พฤติกรรมของแม่ท้อง ประวัติการคลอดบุตร พันธุกรรม หรือแม้แต่ความโชคดี – โชคร้าย ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน
เพื่อคลายความกังวลใจ คุณแม่อาจจะพูดคุยกับเพื่อน ๆ ที่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์แฝดมาก่อน ปรึกษาคุณหมออย่างสม่ำเสมอ และอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะสภาวะจิตใจของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ ก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน
ชื่นชมความน่ารักของเจ้าฝาแฝดอย่างเต็มที่ อย่าลืมที่จะดูแลตัวเอง และพักผ่อนให้มาก ๆ ขอความช่วยเหลือจากคุณพ่อ หรือเพื่อน ๆ เท่าที่จะทำได้
ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการตั้งครรภ์ ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ก็เข้ามาอยู่เป็นเพื่อน ยิ่งการตั้งครรภ์แฝด คุณแม่ก็จะยิ่งรู้สึกเหนื่อยล้ามากขึ้นไปอีกเป็นทวีคูณ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะหาเวลาพักผ่อนระหว่างวัน อาจจะนอนนิ่ง ๆ เพื่อผ่อนคลาย หรือจะใช้ช่วงเวลานี้ในการนับลูกดิ้นไปพลาง ๆ ก็เป็นเวลาที่เหมาะอย่างยิ่ง การงีบ หรือนอนเฉย ๆ ระหว่างวัน ควรจะทำจนเป็นกิจวัตร เพราะในช่วงเวลา 9 เดือน ตลอดการตั้งครรภ์นั้น อาจจะมีบางช่วงที่การนอนให้หลับ กลับเป็นเรื่องที่ยาก หากว่าคุณแม่นอนระหว่างวันจนติดเป็นนิสัยแล้ว ก็จะช่วยเติมเต็มเวลาของการพักผ่อนให้เพียงพอได้มากขึ้น
-
อย่าลืมหาข้อมูลเกี่ยวกับเลี้ยงลูกฝาแฝด
เลี้ยงลูกคนเดียวก็แย่แล้ว แต่นี่กลับมีถึงสอง หรือมากกว่านั้น ในเวลาเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นคุณแม่ที่มีประสบการณ์ก็ยังบ่นว่ายาก และเหนื่อยกว่าหลายเท่านัก อย่างนี้คุณแม่ท้องแฝดควรจะรับมืออย่างไร ?
เตรียมตัวให้พร้อม ใจเย็น ๆ และเชื่อว่าจะต้องผ่านไปได้ ไม่มีใครที่ไม่เคยเลี้ยงลูกเป็นครั้งแรก เช่นเดียวกันกับคุณแม่คนอื่น ๆ ที่ตั้งครรภ์แฝด ก็มีจุดเริ่มต้นกันทั้งนั้น ก่อนที่ลูกน้อยฝาแฝดจะออกมาลืมตาดูโลก คุณแม่อาจจะหาข้อมูล พูดคุยกับเพื่อน ๆ ที่มีประสบการณ์ ปรึกษาคุณหมอ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การตั้งรับของคุณแม่นั้นมีความมั่นคงมากขึ้น
การดูแลลูกแฝด ก็ไม่ได้แตกต่างจากการดูแลเด็กแรกเกิด หากแต่ความวุ่นวายจะบังเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ เช่นเดียวกับที่หนึ่งปีแรกก็จะผ่านไปเร็วมาเช่นกัน ชื่นชมความน่ารักของเจ้าฝาแฝดอย่างเต็มที่ อย่าลืมที่จะดูแลตัวเอง และพักผ่อนให้มาก ๆ ขอความช่วยเหลือจากคุณพ่อ หรือเพื่อน ๆ เท่าที่จะทำได้
ที่มา momjunction , verywellfamily
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลวิจัยเผย คลอดลูกแฝดช่วงไหน ปลอดภัยที่สุด
อาการตั้งครรภ์แฝด เป็นแบบไหน?
10 ข้อดีของการมีลูกแฝด ลูกแฝดเจ๋งยังไง มาดูเหตุผลกันเถอะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!