X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณแม่ขี้เหวี่ยง - ขึ้นเสียงใส่ลูกจะส่งผลเสียอย่างไร?

บทความ 3 นาที
คุณแม่ขี้เหวี่ยง - ขึ้นเสียงใส่ลูกจะส่งผลเสียอย่างไร?

คุณเป็นคุณแม่ขี้เหวี่ยงชอบขึ้นเสียงใส่ลูกหรือเปล่า? แล้วคุณควรทำหรือไม่? เรามาดูกันว่าการตะคอกใส่ลูกบ่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อเด็กอย่างไร

คุณแม่ขี้เหวี่ยง - ขึ้นเสียงใส่ลูกจะส่งผลเสียอย่างไร?

คุณแม่ขี้เหวี่ยง – ขึ้นเสียงใส่ลูกจะส่งผลเสียอย่างไร?

ฉันเป็นคนหนึ่งที่ชอบขึ้นเสียงใส่ลูก ไม่ใช่แค่บางครั้งบางคราว แต่แทบจะตลอดเวลา ถึงจะรู้ว่าไม่ควรแต่บางครั้งก็ยากที่จะควบคุมตัวเอง จนบางครั้งฉันรู้สึกเหมือนว่าลูกเกิดมาเพื่อที่จะทำให้ฉันปรี๊ดแตกได้ทุกที่ทุกเวลา ลูกเปลี่ยนฉันเป็นคุณแม่ที่กำลังอารมณ์ดีให้กลายเป็นนางมารร้ายที่พร้อมจะเหวี่ยงได้ภายในพริบตา

คุณเองก็อาจจะเคยเป็นเหมือนกัน ดังนั้นถึงเวลาที่เราต้องมาวิเคราะห์กันว่าอะไรทำให้เราโมโหและเราควรจะรับมือกับมันอย่างไร บางครั้งเราแค่ต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติของเด็กและหันกลับมามองตัวเราเองมากขึ้น

เกิดอะไรขึ้นเมื่อแม่ตะคอก?

ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการตะคอกใส่เด็กบ่อยครั้งจะเป็นการทำร้ายจิตใจเด็ก หากคุณขึ้นเสียงใส่เด็กเป็นประจำ เด็กอาจเริ่มไม่ฟังคุณและหันมาต่อต้านคุณ ผลการศึกษาในปี 2013 ระบุว่าการที่ผู้ปกครองใช้ “คำพูดรุนแรง” ซึ่งรวมไปถึงการตะโกน การสบถ หรือด่าทอหยาบคาย อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะวัยรุ่นในระยะยาว

การขึ้นเสียงใส่ลูกอาจเป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายคนถือเป็นการสั่งสอนตามปกติ ซึ่งก็อาจจะเป็นผลดีสำหรับในบางกรณี แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องสังเกตการตอบสนองของลูก ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่หลังจากที่คุณตะโกนใส่เขา หรือมีแต่ทำตัวแย่ลง?

Advertisement

ปัญหาของการขึ้นเสียงคือคุณมักจะลืมวัตถุประสงค์แรกเริ่มว่าคุณทำเช่นนั้นเพื่ออะไร และกลายเป็นว่าเด็กไม่ได้เรียนรู้ที่จะปรับปรุงพฤติกรรมจากการโดนต่อว่า สุดท้ายก็เสียสุขภาพจิตทั้งผู้ปกครองและตัวเด็ก

ประสบการณ์ส่วนตัว

คุณแม่ “ขี้เหวี่ยง” คนนี้ได้ฝึกควบคุมน้ำเสียงได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ฉันเชื่อว่าการต่อว่าลูกในบางครั้งจะสามารถสอนเด็กให้รู้จักปรับปรุงตัว ลูกฉันได้เรียนรู้แล้วว่าฉันจะขึ้นเสียงก็เมื่อฉันต้องการให้เขาเก็บห้อง ทำการบ้านให้เสร็จ หรือทำงานบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกระเบียบวินัย จนถึงจุดที่ว่าเด็ก ๆ จะสนใจในสิ่งที่ฉันพูดก็ต่อเมื่อฉันขึ้นเสียงเท่านั้น และจะไม่มีใครสนใจในสิ่งที่ฉันพูดหากฉันพูดด้วยน้ำเสียงปกติ

ข้อเสียของการขี้นเสียงใส่ลูก หน้าถัดไป >>>

คุณแม่ขี้เหวี่ยง - ขึ้นเสียงใส่ลูกจะส่งผลเสียอย่างไร?

ข้อเสียของการขี้นเสียงใส่ลูก

มีครั้งหนึ่งที่ลูก ๆ ของฉันซนมาก ประจวบกับความเหนื่อยและเครียดสะสมจากการดูแลแขกที่มาพักที่บ้าน นาทีที่ฉันก้าวเข้าไปในบ้าน ฉันขึ้นเสียงสั่งให้ลูกออกไปนอกบ้านเพื่อไม่ให้แขกตกใจ ฉันเดินตามออกไป ยึดโทรศัพท์มือถือของทั้งสองคนและสั่งให้พวกเขาขึ้นรถ

เราขับรถออกมาโดยที่ฉันยังคุกรุ่นด้วยความโมโห และสุดท้ายก็วีนแตกใส่พวกเขาตอนที่รถกำลังติดไฟแดง ฉันตะโกนไล่ให้พวกเขาออกไปให้พ้น ๆ หน้า สิ่งที่เกิดขึ้นคือพวกเขาลงจากรถไปทันที ฉันช็อคจนทำอะไรไม่ถูก และนึกขึ้นได้ว่าเด็ก ๆ ไม่มีเงินสดและโทรศัพท์มือถือติดตัว

ฉันใช้เวลาสองชั่วโมงถัดมาตามหาลูกตามถนนในกรุงเทพ ถามคนนู้นคนนี้ไปเรื่อย แต่ก็ไม่มีใครช่วยได้ บางคนบอกว่าฉันอาจจะหาลูกไม่เจออีกเลยก็ได้

ประสบการณ์ในครั้งนั้นสอนให้ฉันรู้จักคิดมากขึ้น ในตอนนั้นฉันคิดว่าฉันจะหาลูกไม่เจอแล้วจริง ๆ และปัจจุบันก็ยังรู้สึกเหมือนมีอะไรจุกอกทุกครั้งที่นึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น ฉันถือว่าโชคดีมากที่สุดท้ายฉันหาลูกเจอ

ฉันได้เรียนรู้ว่าการตะคอกสามารถส่งผลเสียร้ายแรงได้แค่ไหน แม้การต่อว่าจะเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ควรทำเฉพาะในสถานการณ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงถาวร แต่จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น อย่าตะคอกเพียงเพราะคุณรู้สึกเหนื่อยหรือยุ่ง ถ้าจำเป็นต้องขึ้นเสียงจริง ๆ พยายามทำด้วยความรักและความหวังดี และอย่าโทษตัวเองในภายหลัง หากรู้สึกแย่หรือรู้สึก คุณควรให้ไปขอโทษลูกแทน

กลเม็ดรับมือเด็กเอาแต่ใจ

เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี โดยไม่ต้องว่ากล่าวมากมาย

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • คุณแม่ขี้เหวี่ยง - ขึ้นเสียงใส่ลูกจะส่งผลเสียอย่างไร?
แชร์ :
  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

    ก็เลิกกันแล้วให้มันจบๆ ไป ผัวเมียเลิกกัน ทำไมต้องด่ากัน?

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว