คนท้องปวดซี่โครง สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณแม่เริ่มท้องโตขึ้น เนื่องจากทารกที่ตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ นั่นเท่ากับว่า คุณแม่ต้องแบกทั้งทารก น้ำคร่ำที่อยู่ในครรภ์ ทำให้ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นจนซี่โครงที่โดนกดทับจากมดลูก ช่วงนี้ไม่ว่าจะลุกเดิน ลงนั่งคุณแม่จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อตัวคุณเองและลูกน้อย
ทำไมคนท้องจึงปวดซี่โครง?
อย่างที่ทราบกันว่า การตั้งครรภ์คือการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกาย แล้วฮอร์โมนที่ชื่อ Relaxin นี้จะผลิตมากในช่วยไตรมาสสุดท้าย โดยจะทำให้ข้อต่อกระดูกและเส้นเอ็นมีความอ่อนตัวและยืดมากขึ้น เพื่อให้คุณแม่คลอดลูกได้ง่ายขึ้น เมื่อหน้าท้องมีความยืดตัวมาก ก็จะไปเบียดเบียนยังอวัยวะภายในร่างกาย คุณแม่ปวดจึงซี่โครง รวมทั้งอาการปวดเอว เข้าห้องน้ำบ่อย ท้องอืด ท้องแน่น โดยเฉพาะอาการปวดซี่โครงเกิดจากการขยายตัวของมดลูกที่โตขึ้นเนื่องจากการเจริญเติบโตของทารก จะทำให้มดลูกนั้นไปกดทับชายโครงจนรู้สึกเจ็บ แต่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ ท้องปวดหลัง สาเหตุและบรรเทาอาการอย่างไร
คนท้องปวดซี่โครง สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง?
อาการคนท้องปวดซี่โครง ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเจ็บชายโครงไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แม่ท้องบางคนลุกนั่งบ่อย เผลอออกแรงยกของ เดินเร็วในขณะที่ตนเองนั้นท้องมากกว่า 6 เดือนไปแล้ว ซึ่งแม่ท้อง 6 เดือนขึ้นไปก็มีความแข็งแรงแตกต่างกันอีกด้วย เรามาดูกันว่าสามารถป้องกันการเจ็บซี่โครงได้อย่างไรบ้าง
1. อย่าเผลอเปลี่ยนอิริยาบถรวดเร็ว
ก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะเคยทำอะไรคล่องแคล่ว เดินเร็ว ชอบวิ่งเล่นกีฬาหนักๆ แต่เมื่อท้องแก่ ต้องลดความรุนแรงของกิจกรรมนั้นให้ช้าที่สุด เช่น การเปลี่ยนจากที่นั่งเก้าอี้แล้วลุกขึ้นยืน คุณแม่ควรเอียงตัวเล็กน้อย เอามือยันเก้าอี้หรือโต๊ะตรงหน้าก่อน แล้วค่อยถีบเท้าขึ้นมา
2. อย่าเดินเร็ว
ผู้หญิงหลายคนติดเดินเร็วค่ะ แต่เมื่อกำลังท้องไม่ว่าจะท้องอ่อน หรือท้องแก่ ความแข็งแรงของทารกนั้นไม่เท่ากัน ฉะนั้นอย่าก้าวเท้าเร็วฉับๆ ควรค่อยๆ ก้าวพอดี ไม่ก้าวสั้นหรือก้าวยาวเกินไป เพราะการก้าวสั้นๆ อาจทำให้คุณแม่สะดุดหกล้มได้ค่ะ
3. เลือกชุดชั้นในที่พอดี
ใครว่าชุดชั้นในไม่สำคัญ ไม่ว่าจะท้องหรือไม่ การเลือกซื้อชุดชั้นในให้เหมาะสมกับสรีระนั้นสำคัญเสมอ ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ควรวัดหน้าอกตนเองทุกเดือน (คนปกติทุก 6 เดือน) เพราะใต้ชายโครงนั้นไม่ควรมีการดึงรั้งของบราหรือมีโครงของชุดชั้นในมากดทับ เมื่อท้องใหญ่ขึ้นก็ไม่ควรสวมบราที่มีโครงเลย ควรเลือกที่สวมใส่สบายให้ชิน ส่วนกางเกงในก็ต้องเลือกกระชับพอดีตัว ยิ่งท้องโตขึ้นยิ่งต้องการกางเกงในที่สวมสบายมากขึ้น
4. นั่งและยืนหลังตรงเสมอ
อาจจะยากสักหน่อยค่ะ แต่การนั่งหลังตรงจะช่วยลดอาการเจ็บชายโครง ไม่ให้มดลูกไปกดทับได้ ลองหาหมอนที่ไม่หนาจนเกินไปมาหนุนหลัง นั่งพิงให้สบาย ส่วนเรื่องยืน คุณแม่ท้องก็อย่ายืนห่อไหล่ หรือยกไหล่ อย่ายืนหลังงอ พยายามจัดสรีระให้ตนเองนั้นเดินตัวตรง จะได้ไม่ปวดหลังด้วยค่ะ
5. เจ็บต้องพักร่างกาย
หากคุณแม่ท้องเกิดอาการเจ็บนิดหน่อย ห้ามฝืนร่างกายเด็ดขาด บางคนอาจคิดว่า นิดเดียว ไม่เป็นไร แต่อาการเจ็บแค่นิดเดียวสามารถทำให้แท้งลูกมานักต่อนักแล้วค่ะ ควรหาเวลานอนพักร่างกาย นอนขดตัวนิดๆ โดยหาหมอนมารองท้อง กอดหมอนเอาไว้สบายๆ ค่ะ
วิธีบริหารร่างกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย
แน่นอนว่า ถึงจะเตือนไม่ให้คุณแม่ขยับร่างกายมากนัก แต่การออกกำลังกายเล็กๆ น้อยก็สำคัญ อย่างเช่น ท่าโยคะต่างๆ ที่ทำพร้อมบริหารลมหายใจควบคู่กับ ยังช่วยสร้างสมาธิและการเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง ที่สำคัญต้องจัดระเบียบร่างกายให้ดี
1. โยคะท่าแมวและวัว
- ท่า Cat and Cow จะเป็นท่าที่ช่วยบริหารหลังช่วงล่างหรือกระดูกเชิงกราน ส่วนใหญ่คนจะเรียกง่ายๆว่า โยคะแมว โดยเริ่มจาก คุกเข่า แยกเข่าทั้งสองออกห่างกัน พร้อมกับมือวางราบพอดีช่วงไหล่ จากนั้นเงยศีรษะขึ้น คางเชิด หลังแอ่นลง หายใจเข้า-ออกลึกๆ นับ 1-5 ในใจช้าๆ
- จากนั้นค่อยก้มลงคางชิดอก โก่งหลังขึ้น สูดหายใจเข้า-ออกลึกๆ นับ 1-5 ในใจช้าๆ จินตนาการว่ากำลังดึงสะดือเข้าชิดหน้าท้องให้มากที่สุด แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจ แล้วแอ่นอกขึ้น แอ่นหลังลง ทำซ้ำ 3-5 รอบตอนเช้าๆ ทุกวัน
2. ท่าออกกำลังกายยืดตัว
การออกกำลังกายท่านี้คือการยืดกล้ามเนื้อหลังจากทำท่าโยคะแมว คุณแม่อาจต้องขอความช่วยเหลือจากคุณแม่ โดยเริ่มจาก
- นั่งขัดสมาธิลงกับพื้นสบายๆ วางขาเท่าที่ได้
- นั่งหลังตรง ชูแขนขึ้นเหนือศีรษะท่าพนมมือเหนือหัว สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ
- ให้คุณพ่อค่อยๆ ดึงแขนคุณแม่ขึ้นช้าๆ และลงช้าๆ ทำซ้ำอย่างนี้ไป 10 รอบ ย้ำว่าต้องช้าๆ นะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้อง อาหารเสริมสำหรับแม่ท้องเพิ่มแคลเซียม
ชวนคุณแม่เสริมแคลเซียม
อยากให้คุณแม่ท้องเริ่มเสริมแคลเซียมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์เพราะทารกจะดูดซึมหรือแย่งแคลเซียมคุณแม่ได้มากถึง 80-20 % ดังนั้นเพื่อรักษากระดูกของคุณแม่ และสร้างกระดูกที่แข็งแรงของคุณลูก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียล 1,000 มิลลิกรัมต่อวันถึงจะเพียงพอ เพื่อลดอาการกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น ลดการเกิดตะคริว แคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งแคลเซียมนั้นสามารถหารับประทานเสริมได้จาก
- โยเกิร์ต ชีส ส่วนนมควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว ทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง
- ปลาทะเล กุ้งฝอย อาหารทะเลต่างๆ รวมถึงธัญพืช เมล็ดถั่ว
- เต้าหู้ ผักใบเขียว ไข่ไก่ เป็นต้น
ถ้าหากคุณแม่ปวดไม่มากนัก คุณหมออนุญาตให้รับประทานยาแก้ปวดอย่าง พาราเซตามอลเพื่อบรรเทาได้ แต่ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย อาการเจ็บปวดค่อนข้างเสี่ยงสักหน่อยหากปวดนาน ปวดแล้วไม่หาย เพราะคุณแม่บางคนมีอาการเจ็บเสียดตามชายโครงบ่อย ยิ่งท้องที่สองนั้น ผนังช่องื้องหรือมดลูกจะไม่กระชับเหมือนเดิม หากเจ็บเสียดๆ บ่อยเกินไป แนะนำว่า อย่ารับประทานยาเอง ควรให้คุณหมอเช็คร่างกายอย่างละเอียดและอัลตราซาวนด์อีกครั้งค่ะ
บทความที่น่าสนใจ:
อาการปวดท้องของคนท้องแก่ แม่ท้องปวดท้องบ่อยเป็นเพราะอะไร ทำไมปวดบ่อยจัง
ลูกดิ้นตอนกี่เดือน อาการลูกดิ้นครั้งแรก ลูกดิ้นรู้สึกยังไง อาการลูกดิ้น 4 เดือน แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกดิ้น
ทำไมหลังคลอดถึงปวดหลัง ปวดเอว วิธีแก้อาการปวดหลังคลอดมีอะไรบ้าง
ที่มา: newkidscenter.com, enfababy.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!