X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เมื่อลูก ก้างติดคอ ก้างปลาติดคอ จะปล่อยไว้ หรือควรพาไปหาหมอดี

บทความ 5 นาที
เมื่อลูก ก้างติดคอ ก้างปลาติดคอ จะปล่อยไว้ หรือควรพาไปหาหมอดี

เมื่อลูก ก้างติดคอ จะปล่อยไว้ หรือควรพาไปหาหมอดี เพราะก้างติดคอบางทีก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ และอาจจะผลเสียได้มากกว่าที่คิดไว้ พ่อแม่จึงอย่าวางใจและประมาทไปนะคะ

เมื่อลูก ก้างติดคอ ก้างปลาติดคอ จะปล่อยไว้ หรือควรพาไปหาหมอดี หลายครั้งหลายคราที่ก้างติดคอดูเหมือนไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ในบางครั้งก้างติดคอก็ทำความเสียหายต่อลำคอได้มากนะคะ

 

ทำไงดีเมื่อก้างติดคอลูก ก้างปลาติดคอ ทำอย่างไร

ก้างปลาติดคอ

ก้างปลาติดคอ ก้าง ปลา ติดคอ ทำยังไง

ใครที่เคยมีประสบการณ์ “ก้างปลา” ติดคอ คงจะรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดเป็นอย่างดี ว่า การกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เป็นอย่างไร แค่จะกลืนน้ำลายตัวเองสุดแสนจะทรมาน บางรายโชคดี ใช้วิธีดื่มน้ำเยอะ ๆ หรือ กลืนข้าวคำโต ๆ ดื่มน้ำมะนาว ดื่มน้ำส้มสายชู กลืนขนมปัง กลืนกล้วย กลืนมาร์ชเมลโล่ กินถั่วเปลือกแข็ง ใช้นิ้วล้วงออก แล้วได้ผล แต่หลายคนใช้สารพัดวิธีก็ไม่หาย สุดท้ายต้องโร่ไปให้หมอช่วยเอาออกก็เยอะ

ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน สาขาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า ก้างปลาติดคอพบได้ทุกช่วงอายุ ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการศึกษาว่าเป็นช่วงอายุใดมากที่สุด และเป็นก้างปลาชนิดใดมากที่สุด แต่จากประสบการณ์ที่เจอมักจะเป็นปลาทู คงเป็นเพราะประชาชนนิยมบริโภคมากก็เป็นได้ ปลาอื่น ๆ ก็มีมาให้เห็นเหมือนกันแต่ค่อนข้างน้อย 

Advertisement

บทความที่เกี่ยวข้อง เด็กชายกินลูกชิ้น พลาดสำลักติดคอ หายใจไม่ออกดับอนาถ!

 

แก้ไขเองก็ไม่ใช่จะได้ผล

ก้างปลาติดคอ

ก้างปลาติดคอ ก้าง ปลา ติดคอ ทำยังไง

คนไข้ที่มาหาหมอส่วนมาก ก้างปลาติดคอมา 2-3 วันแล้ว ที่ติดคอปุ๊บมาหาหมอทันทีจะน้อย ส่วนใหญ่จะรู้วิธีว่า ต้องดื่มน้ำมาก ๆ หรือกลืนข้าวคำโต ๆ ในบางรายก็ใช้ได้ผล เนื่องจากก้างปลาปักอยู่บริเวณตื้น ๆ พอกลืนข้าวก้างก็ติดลงไปกระเพาะ อาหาร สามารถขับถ่ายออกมาทางอุจจาระ แต่ถ้าก้างปักลึก การกลืนข้าวคำโต ๆ อาจไปกดก้างให้ปักลึกกว่าเดิม 

เราไม่เคยนับสถิติจำนวนคนไข้ในแต่ละปี แต่ที่ รพ.ศิริราช น่าจะมีคนไข้ประมาณ 2-3 รายต่อวัน ส่วนใหญ่มักจะมาตอนกลางคืนที่แผนกอุบัติเหตุ หมอทั่วไปตรวจดูแล้วไม่พบก้างปลา ก็จะมาปรึกษาหมอหู คอ จมูก 

 

ปล่อยไว้นานอาจแย่

บางรายปล่อยทิ้งไว้นาน อาจมาด้วยอาการอักเสบ ติดเชื้อ มีหนอง ในช่องคอ โดยเฉพาะถ้าก้างปลาติดที่หลอดอาหาร ทิ้งไว้นาน ๆ ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะทำให้เกิดการอักเสบที่ผนังของหลอดอาหาร จนเกิดการทะลุของหลอดอาหาร เกิดการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มระหว่างหัวใจและช่องปอดได้ แต่พบได้น้อย

ตำแหน่งที่พบก้างปลาติดบ่อย คือ บริเวณต่อมทอนซิล บริเวณโคนลิ้น บริเวณฝาปิดกล่องเสียง บริเวณใกล้หลอดรูเปิดทางเดินอาหาร แพทย์หู คอ จมูก จะใช้กระจกเล็ก ๆ เหมือนกับหมอฟัน สวมเฮดไลต์ ที่ศีรษะ ส่องตรวจดู ส่วนใหญ่จะเจอ ก็ใช้อุปกรณ์คีบออกมา

 

อาจไม่หมูอย่างที่คิด

ในบางรายก้างปลาอยู่ลึก คนไข้อาเจียนง่าย ไม่สามารถเอาก้างออกได้ จะพ่นยาชา ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วพยายามอีกที ถ้าไม่ไหวจริง ๆ ทำอย่างไรก็ไม่ออก อาจต้องดมยาสลบ ให้คนไข้นอนแล้วลองดูอีกที แต่ส่วนใหญ่จะสามารถเอาก้างออกได้ที่ห้องตรวจเลย ที่ต้องดมยาสลบมีน้อยรายมาก

 

ก้างติดคอ ร้ายแรงขนาดไหน

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง คือ เจอปักอยู่ที่หลอดอาหารแล้วทะลุออกมาที่คอ เนื่องจากก้างปลาเป็นวัสดุแปลกปลอม ร่างกายจะผลักมันออกมา บางคนทะลุหลอดอาหารมาถึงผิวหนังที่คอก็มี

ดังนั้นผู้เขียนจึงขอแนะนำคุณพ่อคุณแม่ หากให้ลูกกินปลา ควรมีการเอาก้างออกให้หมดก่อนทุกครั้ง และแน่ใจจริงๆ ว่าจะไม่มีก้างปลาหลงเหลืออยู่เลย หากการใช้ช้อนส้อมทำให้ไม่แน่ใจ หลังแยกชิ้นปลาออกมาจากก้างชิ้นใหญ่แล้ว ควรใช้มือบี้อีกที เพื่อหาก้างที่อาจหลงเหลืออยู่ค่ะ

 

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ข้อควรปฏิบัตเมื่อก้างติดคอ

  • ห้ามใช้อุปกรณ์แหย่ลงในคอ เพื่อเขี่ยเอาก้างปลาออก เพราะอาจทำให้อุปกรณ์ที่ใช้เขี่ยหลุดลงไปในคอ
  • หลีกเลี่ยงการนวด หรือบีบบริเวณคอ เพราะ อาจทำให้ก้างปลาทิ่มไปหนักกว่าเดิม
  • หลีกเลี่ยง การไอ การยืดคอ เพราะ อาจทำให้ก้างปลา หลุดไปในหลอดลม เป็นอันตรายต่อหลอดอาหารได้
  • อย่าปล่อยให้ก้าง ติดคอนานเกินไป เพราะ อาจจะทำให้อักเสบเป็นหนองได้
  • หากคอเกิดอาหารบวม เริ่มหายใจไม่ออก ควรหยุดนำก้างออกด้วยตัวเอง และรีบไปพบแพทย์
  • หากทุกทุกวิถีทางแล้ว แต่ไม่สามารถเอาก้างปลาออกจากคอได้ แถมยังรู้สึกระคายคอมากกว่าเดิม ควรไปพบแพทย์ เพราะหากทำการรักษาด้วยตนเอง อาจทำให้อาการรุนแรง และอักเสบมากกว่าเดิม

 

ที่มา เดลินิวส์

บทความอื่นที่น่าสนใจ

เหรียญติดคอลูก อย่าให้เด็กเล่นของชิ้นเล็ก อันตราย! เสี่ยงอุดตันทางเดินอาหาร

ปฐมพยาบาลด่วน!! เมื่อสิ่งแปลกปลอมเข้า หู ตา จมูกของลูก

อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เมื่อลูก ก้างติดคอ ก้างปลาติดคอ จะปล่อยไว้ หรือควรพาไปหาหมอดี
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว