X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

บทความ 3 นาที
อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

อาหารติดคอ นั้นน่ากลัวกว่าที่คิดมาก และมันจะเกิดขึ้นในตอนที่เราคาดไม่ถึง พ่อแม่ผู้ปกครองควรที่จะระแวดระวังและสังเกตพฤติกรรมของลูกเสมอ

อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

อาหารติดคออาจจะฟังดูเป็นเรื่องราวที่ธรรมดา ซะจนคนมองข้าม แต่แท้จริงแล้ว อาหารติดคอเด็ก นั้นน่ากลัวกว่าที่คิดมาก และ มันจะเกิดขึ้นในตอนที่เราคาดไม่ถึง พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรที่จะระแวดระวัง และ สังเกตพฤติกรรมของลูกเสมอ เพื่อที่เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับครองครัวของเรา

อาหารติดคอเด็ก

อาหารติ ดคอเด็ก

การกลืนข้าวมีระบบการทำงานอย่างไร?

การกลืนข้าวเป็นระบบที่ซับซ้อน เมื่อมนุษย์เคี้ยวข้าว กล้ามเนื้อประมาณ 50 คู่ และเส้นประสาทจะทำงานร่วมกัน เพื่อจะเคลื่อนที่อาหารจากปากไปสู่ท้อง การที่จะมีสิ่งผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นได้ในกระบวนการ คุณอาจรู้สึกว่ามีอาหารติดอยู่ในลำคอ

เมื่อเราทานอาหาร จะมีกระบวนการสามอย่างเกิดขึ้น

  1. ร่างกายจะเตรียมตัวที่จะกลืนอาหารหลังจากที่เคี้ยวอาหารแล้ว ในกระบวนการนี้อาหารจะผสมรวมกับน้ำลาย และ จะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว
  2. ปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเรากลืนจะทำให้ลิ้นดันอาหารเข้าไปในลำคอ ในช่วงเวลานี้หลอดลมจะถูกปิด และการหายใจจะหยุดลง เพื่อไม้ให้อาหารเข้าไปยังหลอดลม
  3. อาหารจะเข้าสู่หลอดอาหาร และ เดินทางไปยังท้อง

แต่เมื่อของบางสิ่งไม่ได้ลงไปจนสุด แสดงว่าของสิ่งนั้นติดอยู่ที่หลอดอาหาร การหายใจจะไม่ได้รับผลกระทบเวลาที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น  เนื่องจากอาหาร เคลียร์ทางหลอดลมไปเรียบร้อยแล้ว ปฏิกริยาของคุณคือ คุณอาจจะ ไอ หรือ สำลัก อาการอื่น ๆ ที่ตามมาอาจจะเป็น อาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง

อาหารติดคอเด็ก

อาหารติดคอเด็ก

เมื่อไหร่ที่คุณควรเรียกรถฉุกเฉิน

ทุกปีมีคนเสียชีวิตจากอาการติดคอกว่าพันคน อาการนี้มักเกิดขึ้นกับเด็ก จนถึง อายุ 74  เลยก็มี

อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งแปลกปลอมมาติดที่หลอดอาหาร :

  • ไม่สามารถพูดได้
  • หายใจลำบาก และ หายใจเสียงดัง
  • เสียงร้องคล้ายหนูเวลาจะหายใจ
  • ไอแรง หรือ ไอแบบอ่อนแรง
  • หน้าซีด
  • หมดสติ

ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ให้รีบโทรแจ้ง และ เรียกรถพยาลทันที เพื่อจะได้ส่งตัวไปรักษาให้เร็วที่สุด

อาหารติดคอเด็ก

อาหารติดคอ เด็ก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

วิธีที่ 1 สำหรับหนูน้อยอายุไม่เกิน 1 ปี

  1. หาที่นั่ง หรือ จะนั่งคุกเข่าลงกับพื้น แล้วนำเด็กนอนคว่ำหน้าลงไว้บนขา กดศีรษะให้ต่ำกว่าลำตัว ใช้มือจับบริเวณขากรรไกร พร้อมกับ ประคองคอไปด้วย
  2. ใช้มืออีกข้างตบบริเวณหลังของเด็ก บริเวณสะบักด้วยสันมือประมาณ 5 ครั้ง ต้องตบแรง ๆ นะคะ
  3. พลิกตัวเด็กให้นอนหงายขึ้น เอามือจับประคองลูกไว้ที่บริเวณท้ายทอย
  4. ใช้นิ้ว 2 นิ้ว ของมืออีกข้างกดลงบริเวณกึ่งกลางของหน้าอกลูกน้อย โดยอยู่ในระยะที่ห่างจากหัวนมเด็กเล็กน้อย กดแรง ๆ 5 ครั้ง
  5. ให้ทำการตบหลัง 5 ครั้ง และ กดหน้าอก 5 ครั้ง สลับกันไปมา จนกว่าลูกจะร้อง หรือพูดออกมาได้
อาหารติดคอเด็ก

อาหารติดคอ เด็ก

วิธีที่ 2 สำหรับหนูน้อยอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

  1. ให้เข้าไปที่ด้านหลัง โดยให้ลูกยืน หรือนั่งคุกเข่าก็ลง จากนั้นโอบรัดจากด้านหลังใต้รักแร้มาบริเวณด้านท้อง
  2. ใช้มือข้างหนึ่งกำไว้ แล้ววางไว้บริเวณเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ ส่วนมืออีกข้างกำกำปั้นไว้อีกทีหนึ่ง
  3. ดันนิ้วหัวแม่มือข้างที่กำไว้เข้าไปด้านในท้องของเด็ก รัดให้แน่นแล้วกะตุกขึ้น ให้ทำพร้อมกัน แรงๆ จนกว่าสิ่งที่ติดคอจะหลุดออกมา หรือจนกว่าจะมีเสียงเล็ดลอดออกมา
  4. ในกรณีที่หมดสติ ให้รีบทำการช่วยชีวิตทันที ในระหว่างที่พาไปโรงพยาบาล หรือรอการส่งตัว
  5. หากช่วยเหลือให้สิ่งของหลุดออกมาแล้ว ควรพาไปหาคุณหมอ เพื่อตรวจเช็คร่างกายอีกครั้งหนึ่ง
อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ

อาห ารติดคอเด็ก

วิธีที่ 3 สำหรับหนูน้อยอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป (กรณีหมดสติ)

บทความจากพันธมิตร
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
  1. ให้รีบโทรแจ้งรถพยาบาลทันที
  2. จับลูกนอนลงกับพื้น ตรวจดูว่าเด็กยังหายใจหรือไม่ หากไม่หายใจ ให้ดันคางขึ้นให้ศีรษะแหงนไปข้างหลังให้มากที่สุด แล้วนำมือมาบีบจมูกไว้ จากนั้นเป่าลมเข้าไปในปาก 2 ครั้ง แลัวสังเกตดูว่าลมเข้าไปภายในปอดหรือยัง ดูจากการขยับขึ้นลงของหน้าอก เสร็จแล้วเป่าอีกครั้งหลังจากที่หน้าอกยุบลง
  3. ถ้าเด็กยิ่งคงนิ่ง ให้ดันค้างสูงกว่าเดิม จากนั้นเป่าลมทางปากอีกครั้ง ถ้าไม่สำเร็จให้นั่งคร่อมที่ตัวของเด็ก ในท่าคุกเข่า แล้วใช้สันมือวางลงที่ระหว่างสะดือกับลิ้นปี่ ใช่มืออีกข้างกดทับมือลงไป กระแทกให้เร็วในจังหวะขึ้นลง 6-10 ครั้ง
  4. เปิดปากลูกดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือยัง โดยการนำมือไปจับบริเวณขากรรไกรและลิ้น ใช้งอนิ้วชี้ของมืออีกข้างในลักษณะเหมือนตะขอ กวาดเข้าไปในปากตั้งแต่กระพุ้งแก้มไปจนถึงโคนลิ้น หากไม่พบให้ทำซ้ำตั้งแต่เป่าปากอีกรอบ

Source : healthline, med.mahidol และ manager

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

เด็กชายกินลูกชิ้น พลาดสำลักติดคอ หายใจไม่ออกดับอนาถ!

สุดยื้อ! หนูน้อยวัยขวบเศษ คว้าลูกบอลไฟฟ้าเข้าปาก พลาดติดคอ ดับอนาถ!

วิธีช่วยลูกจากอาหารติดคอ พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Jitawat Jansuwan

  • หน้าแรก
  • /
  • ไลฟ์สไตล์
  • /
  • อาหารติดคอเด็ก ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องคอยระแวดระวังอยู่เสมอ
แชร์ :
  • ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

    ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

  • สุดยื้อ! หนูน้อยวัยขวบเศษ คว้าลูกบอลไฟฟ้าเข้าปาก พลาดติดคอ ดับอนาถ!

    สุดยื้อ! หนูน้อยวัยขวบเศษ คว้าลูกบอลไฟฟ้าเข้าปาก พลาดติดคอ ดับอนาถ!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

    ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

  • สุดยื้อ! หนูน้อยวัยขวบเศษ คว้าลูกบอลไฟฟ้าเข้าปาก พลาดติดคอ ดับอนาถ!

    สุดยื้อ! หนูน้อยวัยขวบเศษ คว้าลูกบอลไฟฟ้าเข้าปาก พลาดติดคอ ดับอนาถ!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ