X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การสื่อสารพื้นฐาน : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความ 8 นาที
การสื่อสารพื้นฐาน : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

การสื่อสารกับลูกเป็นสิ่งสำคัฐที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำตั้งแต่ลูกยังเล็ก นอกจากจะช่วยด้านการสื่อสารแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะด้านอื่น ๆ อีกด้วย

การสื่อสารพื้นฐาน สำหรับลูกน้อยวัย 0 – 1 ปี เป็นสิ่งที่สำคัญ และคุณแม่ควรที่จะตระหนักถึงเป็นอย่างมาก การสื่อสาร ทั้งภาษากาย ภาษาพูด ควรจะต้องสัมพันธ์กัน เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความสับสน บางครั้งการสื่อสารของเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ยังไม่มีความสามารถที่จะสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจได้ เราจึงมักจะได้ยินเป็นเสียงร้องเรียก หรือเสียงงอแงต่าง ๆ เมื่อตัวเด็กต้องการแสดงออกถึงความต้องการบางอย่าง

พัฒนาการทางด้านการสื่อสาร และการพูดของเด็ก จะเกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเด็กจะสามารถพัฒนาได้เร็ว หรือช้านั้น ก็ขึ้นอยู่กับอายุ และสภาพแวดล้อมของเขาเป็นหลัก ดังนั้นผู้ปกครอง ไม่ควรมองข้าม การสื่อสารพื้นฐาน ของเด็กในวัยนี้

 

เมื่อใดเด็กจึงจะเริ่มพูด

การสื่อสารพื้นฐาน ของเด็กก็จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ตั้งแต่เด็กส่งเสียงร้องไห้ประมาณ 2 – 3 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ ก็จะเหมือนจะเป็นการพูดคุยกับคุณแม่ ก็จะพัฒนาเรื่อยมาจนประมาณ 5 – 6 เดือน เด็กก็จะเริ่มเล่นน้ำลาย เป่าปาก ส่งเสียงจากลำคอ ในที่สุดก็จะพัฒนามาเป็นคำพูดที่มีความหมาย โดยมากก็จะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 10 – 15 เดือน หรือ เฉลี่ยประมาณ 1 ขวบ ก็จะพูดเป็นคำที่มีความหมาย ซึ่งเด็กจะได้รับการกระตุ้นให้พูด หรือเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ภาษาจากพ่อแม่ ในที่สุดคำศัพท์ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 2 ขวบ ก็จะเริ่มพูดคำที่มีความหมาย 2 คำ ติดกัน เป็นวลีสั้น ๆ ไปไหน ไม่เอา แล้วก็จะเริ่มขึ้นเป็นประโยคยาว ๆ ได้ประมาณ 3 – 4 ขวบ

 

เราควรจะฝึกเด็กให้รู้สึกสื่อสารได้อย่างไร

1. พูดคุยกับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ

ยิ่งเริ่มพูดกับลูกเร็วเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นผลดีเท่านั้น แม้จะเจ้าตัวเล็กจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูด แต่หากเราพูดคุยกับเขามากเท่าใด สมองส่วนที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาจะยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น และเมื่อเด็กได้ยินคำศัพท์มาก ๆ เขาจะเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าทารกที่แม่พูดคุยด้วยบ่อย ๆ จะรู้คำศัพท์มากกว่าเด็กที่แม่ไม่ค่อยได้พูดด้วยถึง 131 คำ และเมื่อเด็กอายุได้ 24 เดือน เด็กที่แม่พูดคุยด้วยบ่อย ๆ จะรู้คำศัพท์มากกว่าเด็กที่แม่ไม่ค่อยได้พูดด้วยถึง 295 คำ

 

การสื่อสารพื้นฐาน

 

2. จ้องตาลูกเมื่อพูดคุยกับเขา

การมองหน้าลูกเมื่อพูดคุยกับเขา จะช่วยสอนให้ลูกน้อยเรียนรู้การแสดงออกทางสีหน้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนทักษะในการสื่อสารของเขา สิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ ควรมองหน้าลูกเมื่อคุยกับเขา ตั้งแต่เมื่อเขายังเป็นทารก และเมื่อเขาโตขึ้น ก็ควรที่จะพูดต่อหน้าเขา เวลาที่ต้องการจะสั่งให้เขาทำอะไรก็ตาม

นอกจากนี้ยังควรสังเกตท่าทีของลูก ที่อยู่ในวัยทารกว่าเขากำลังตั้งใจฟังอยู่หรือไม่ โดยเด็กทารกจะขยับแขนขา เพื่อตอบสนองกับจังหวะคำพูดที่เขาได้ยิน การเคลื่อนไหวของทารก เป็นการช่วยให้เขาเรียนรู้จังหวะของภาษา และช่วยให้เขาเข้าใจความหมายของคำต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น หากลูกไม่มองหน้าคุณ เมื่อคุณพยายามพูดคุยกับเขา ลองหยุดพูด เชยหน้าเขาขึ้นเบา ๆ แล้วเรียกให้เขามองหน้าคุณ แล้วจึงค่อยพูดกับเขา

 

3. อย่าอายที่จะพูดเสียงสูง เสียงเล็ก กับลูก

โดยธรรมชาติแล้วพ่อแม่มักจะทำเสียงสูง ๆ เหมือนกับกำลังร้องเพลงเวลาที่คุยกับเด็กทารก ซึ่งอันที่จริงแล้ว เด็กทารกจะตอบสนองได้ดีขึ้น และให้ความสนใจมากขึ้น หากคุณคุยกับเขาด้วยประโยคสั้น ๆ และเสียงสูง ๆ แทนที่จะพูดด้วยเสียงที่ราบเรียบ

 

4. พูดทีละคน

สำหรับเด็กเล็ก ๆ นั้น คำพูดของคุณจะต้องแย่งความสนใจจากเสียงแบคกราวน์ และสิ่งล่อตาล่อใจอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ดังนั้น เมื่อคุณจะคุยกับลูก คุณควรลดเสียงแบคกราวน์ลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเวลาที่คุยกับลูก คุณควรพูดทีละคน เพื่อที่จะให้เขาสามารถฟังตามคำพูดของคุณได้ แม้ว่าเขาจะยังไม่เข้าใจสิ่งที่เขาได้ยินทั้งหมดก็ตาม

 

การสื่อสารพื้นฐาน

 

5. ชวนพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

เมื่อถึงเวลาป้อนอาหาร อาบน้ำ หรืออุ้มลูก พูดกับเขาอธิบายให้เขารู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ พูดถึงอุณหภูมิ กลิ่นผิวสัมผัส และการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ เรียกชื่ออวัยวะที่เขาสนใจ วัตถุสิ่งของในชีวิตประจำวัน อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของใช้ในบ้าน หรือของเล่นของเขา

 

6. สนทนากับลูก เหมือนคุยกับผู้ใหญ่

แม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้แต่เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ว่า ในบทสนทนาต้องประกอบด้วยการถาม และการตอบ เมื่อคนหนึ่งพูด คู่สนทนาจะหยุดฟัง ดังนั้นเมื่อพูดคุยกับลูก ควรหยุดรอให้เขาตอบ ในช่วงแรกที่เขายังแบเบาะ อาจจะทำแค่ยิ้มให้กัน และส่งเสียงอ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อเด็กอายุย่างเข้า 7 ถึง 8 เดือน เด็กส่วนใหญ่จะเรียนรู้ที่จะนิ่งเงียบถ้ามีคนมาคุยด้วย และเขาจะรอฟังจนกระทั่งอีกฝ่ายพูดจบ เขาจึงจะเปล่งเสียงออกมา

 

7. ระวังอย่าให้ลูกเป็นโรคหูอักเสบ

เด็กที่ป่วยเป็นโรคหูอักเสบบ่อย ๆ ในช่วง 0 – 4 ขวบ อาจจะสูญเสียการได้ยินชั่วคราวได้ ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษาของเขา เด็ก ๆ เหล่านี้อาจจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างเสียงบางเสียง หากลูกของเรามีอาการของโรคหูอักเสบ ให้คอยสังเกตว่าเขามีปัญหาในการฟังหรือไม่ หากคุณมีความกังวลหรือสงสัยว่าลูกอาจมีปัญหาในการฟัง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจและทดสอบได้ยินของลูก

 

นักวิจัยได้วิเคราะห์การสนทนาของแม่ลูก 24 คู่ โดยลูกมีอายุระหว่าง 15 – 21 เดือน พบว่าการใช้เวลากับลูกเพื่อพูดคุยกับเขาถึงของที่เขากำลังเล่น จะมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กได้ดีกว่าการพูดถึงสิ่งที่ยาก ๆ เนื่องจากเด็กมีความสนใจของเล่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการเล่น และของเล่นจึงเป็นสิ่งที่เขาจดจำได้ง่าย

 

อย่างไรถึงจะเรียกว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องการพูด

เด็กอายุ 1 ขวบนั้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจได้ว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร เด็กมีความสนใจ หรือไม่ เรียกชื่อแล้ว เด็กหันมารับทราบ หรือตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เราสามารถนำมาประกอบกันดูว่า เด็กผิดปกติ หรือไม่โดยการพัฒนาทางภาษา นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ การพูด และการรับฟัง ซึ่งจะต้องพัฒนาการควบคู่กันไป

 

เด็กพูดช้า เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุใหญ่ที่พบบ่อย ๆ  อย่างที่เรียนมาข้างต้นว่า การพูดจะต้องเป็นการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนฟังกับคนพูด เพราะฉะนั้น ถ้าการได้ยินไม่ดี มีการได้ยินบกพร่อง เด็กก็จะพูดช้า เพราะฉะนั้น สาเหตุอันดับแรก คือ

  1. เด็กมีความผิดปกติของหู หรือไม่ เช่น การได้ยินไม่ได้ หูดับ หูหนวก หรือไม่
  2. มีการพัฒนาล่าช้าไปทุก ๆ ด้าน หรือมีภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มนี้พัฒนาการด้านอื่น ๆ จะช้า แต่ก็จะไปพร้อม ๆ กัน
  3. ภาวะออทิสติก เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในเรื่องของการใช้ภาษาการสื่อสารกับผู้อื่น ทางการพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การใช้ท่าทาง การสบตา ในด้านสังคมก็จะเสียไปด้วย
  4. สาเหตุอีกสาเหตุหนึ่ง ส่วนใหญ่มักพบไม่บ่อยนั้น จะพบว่ามีประวัติในครอบครัวมีญาติที่เคยพูดช้า กลุ่มนี้เราเรียกว่า มีความบกพร่อง เฉพาะด้าน เฉพาะการพูดอย่างเดียว กลุ่มนี้การพยากรณ์โดยค่อนข้างดี พอเริ่มพูดได้ก็จะพูดเป็นปกติ
  5. เด็กที่พูดช้า แต่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น พ่อไม่มีมีเวลา ก็มักจะเปิดโทรทัศน์ไว้ให้เด็กดู แต่ไม่มีติดต่อสื่อสารโต้ตอบ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้การพัฒนาทางภาษาของเด็กหยุดชะงัก ซึ่งทางบ้านเราจะได้ประวัติว่ามักจะให้พี่เลี้ยงเลี้ยง ซึ่งอาจจะไม่มีการเล่น หรือพูดคุยกันเลย
  6. อีกสาเหตุที่ไม่น่าเชื่อ แต่ก็มีความเป็นไปได้ คือการที่ผู้เลี้ยง ตระเตรียมทุก ๆ อย่างให้เด็ก จนกระทั่งเด็ก ไม่มีความจำเป็นในการที่จะเรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการออกมา คือเมื่อถึงเวลาทุกอย่างก็จะถูกตระเตรียมมาให้พร้อม ทำให้เด็กไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร

 

เมื่อใดที่ควรพาเด็กมาพบแพทย์

เมื่อใดที่คุณพ่อ คุณแม่เริ่มสังเกตหรือสงสัยในความผิดปกติ ก็ควรจะพาไปพบกุมารแพทย์ หรือ ถ้าอายุประมาณ 2 ขวบ แล้วยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำ ๆ เดียวก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ได้เลย

 

การสื่อสารพื้นฐาน

 

การที่เด็กอยู่สังคม / สิ่งแวดล้อมที่มีการพูดคุย มีคนรอบข้างพูดคุยด้วยเป็นประจำ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการต่าง ๆ ได้เร็ว ๆ จริงหรือไม่

ถูกต้อง เพราะพัฒนาการทางภาษาของเด็กไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง แต่จะต้องเกิดจากการปฏิสัมพันธ์กัน สิ่งแรก คือ มีความพร้อมทางด้านสมอง มีความพร้อมทางด้านการได้ยิน เรื่องของอวัยวะในปาก ที่จะเปล่งเองได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ โอกาสที่เด็กจะได้ยินคำพูดของผู้ใหญ่แล้วเปล่งเสียงตาม ถ้าไม่มีเด็กก็จะไม่สามารถพูดได้ เช่น ถ้าพ่อแม่มีเวลาพูดคุยกับลูกเป็นประจำ ลูกก็จะพูดได้เร็ว แต่ถ้าผู้ใหญ่พูดคุยกันเอง แต่ไม่ได้พูดกับเด็ก ก็จะไม่ได้ช่วยพัฒนาการทางด้านภาษาแต่อย่างไร

 

นอกจากการพัฒนาการช้าด้านการพูดคุยแล้ว จะส่งผลไปถึงพัฒนาการด้านอื่น ๆ ด้วยหรือไม่

มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะการสื่อสารในเรื่องที่สำคัญในชีวิตเรา เด็กหลายรายที่พูดไม่ได้ ก็ไม่สามารถบอกความต้องการได้ อาจจะทำให้เด็กหงุดหงิด เด็กก็จะอาละวาด ร้องไห้ ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ และลงโทษด้วยการดุหรือตี ก็จะเพิ่มเรื่องปัญหาทางด้านอามรณ์ พฤติกรรมทั่วไป เพราะฉะนั้น เรื่องการพูดเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น เด็กควรได้รับการตรวจประเมินตั้งแต่แรกและทำการแก้ไข   เพื่อป้องกันปัญหาพัฒนาการทางด้านอื่น

 

นอกจากการพาไปแพทย์แล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นจะต้องใช้สื่อกระตุ้นอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่

จริง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ที่จะส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่นอกจากนั้น ก็อาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน ๆ  ในโรงเรียน คุณครู ส่วนสื่อด้านอื่น ๆ เช่น การดูทีวีมาก ๆ (เด็กเล็ก)  ซึ่งการฟังจากทีวีจะเป็นการสื่อสารฝ่ายเดียว ไม่เป็นปฏิสัมพันธ์กัน ก็จะไม่สามารถช่วยเรื่องการพัฒนาการทางด้านภาษา แต่ถ้าใช้ร่วมกัน เช่น คุณพ่อ คุณแม่ร่วมดูทีวีอยู่ด้วย พูดคุยบ่อย ๆ ก็จะมีประโยชน์

 

โดยสรุป คือ การฝึกลูกพูด ให้มีทักษะการพูดที่ดีไปจนโต ซึ่งกระตุ้นการสื่อสาร 2 ทาง โดยเน้นที่การฟังอย่างเข้าใจและตอบสนองออกมาด้วยภาษาท่าทาง กระตุ้นลูกให้พูดตามเมื่อลูกรู้จังหวะการสื่อสารแล้ว(รู้ว่าสลับเงียบ สลับคุย) จะประสบความสำเร็จสูงกว่า อย่าบังคับพูด รวมทั้งมีการร้องเพลงหรือท่องอาขยานแล้วใช้เทคนิคลดคำก็เป็นอีกทางที่จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ เพิ่มช่องทางสื่อสารแบบมีความสุขและสนุก

 

ที่มา : Si.mahidol , Parentsone , Amarinbabyandkids

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กทารกดูดนิ้วสื่ออะไร ให้ทารกเลิกดูดนิ้วได้อย่างไร ดูดมากไปไม่ดีนะ

นมแม่กับพัฒนาการด้านต่าง ๆ / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 59

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • แม่ผ่าคลอด
  • /
  • การสื่อสารพื้นฐาน : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แชร์ :
  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว