X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

บทความ 3 นาที
ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สำหรับคุณแม่มือใหม่ คงจะมีความรู้สึกตื่นเต้นปนกับความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับชีวิตทันทีที่มีโอกาสให้ลูกน้อยได้ดื่มนมจากอก จากที่ไม่เคยมีน้ำนมไหลมาก่อน แต่พอมีลูกน้อยร่างกายกับผลิตน้ำนมขึ้นได้เอง และมันก็เป็นความดีใจไม่ใช่น้อยสำหรับสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นแม่ของคุณได้เริ่มต้นขึ้นมาแล้ว ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่า “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ความมหัศจรรย์ของน้ำนมเกิดขึ้นเพราะธรรมชาติสร้างให้คุณแม่ทุกคนมีน้ำนมให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด และไม่เพียงแต่คุณค่าน้ำนมของคุณแม่ที่มีประโยชน์ น้ำนมของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ละชนิดก็จะมีสัดส่วนของสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นๆ  ด้วยเช่นกัน

นมแม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร

ไขข้อข้องใจ “น้ำนมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สำหรับ นมแม่ นั้นร่างกายจะเริ่มผลิตน้ำนมตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง โดยการกระตุ้นของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ได้แก่ ฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นก็จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างจากรก คอยยับยั้งไม่ให้เกิดการหลั่งหรือมีน้ำนมไหลออกมา แต่เมื่อเกิดการคลอดแล้ว ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลงทำให้กลไกการยั้บยั้งน้ำนมหายไป ฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรแลคตินที่คอยกระตุ้นเด่นชัดขึ้น เมื่อทารกได้ดูดนมก็จะยิ่งเกิดการกระตุ้นฮอร์โมนตัวนี้ให้สูงขึ้นอีก การสร้างน้ำนมก็จะมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันการดูดนมยังช่วยกระตุ้นฮอร์โมนออกซีโตซินที่ช่วยในการหลั่งหรือทำให้เกิดการไหลของน้ำนม ทำให้ลูกได้รับน้ำนมและดูดง่ายขึ้น ยิ่งช่วยกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จึงควรให้ลูกน้อยได้ดูดนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นนมแม่ให้มีไหลเพิ่มมากขึ้น

โดยปกติหลังคลอด น้ำนมแม่จะเริ่มมีภายใน  24-48 ชั่วโมง โดยในระยะแรกเมื่อลูกเริ่มดูดน้ำนมจะเป็น น้ำนมเหลือง (colostrum) ซึ่งจะเป็นน้ำนมที่มีประโยชน์ต่อลูกน้อยมาก เพราะให้ภูมิคุ้มกันสูง และประมาณ 10 วันหลังคลอดจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมแม่ปกติ ซึ่งในน้ำนมแม่ก็ยังมีสารอาหารจำเป็นที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อยเช่นกัน โดยจะมีไขมันที่ให้พลังงานในสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาคือ น้ำตาลแลคโตส ที่สามารถย่อยและดูดซึมได้ดี ซึ่งทารกสามารถนำสารอาหารนี้ไปใช้ได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณแม่ที่มาสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ด้วย

นมแม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร

คุณแม่หลายคนอาจจะประสบปัญหาที่ว่าน้ำนมไม่ได้ไหลออกมาง่ายอย่างที่คิด ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการมาช้าของน้ำนม อาจเกิดจาก

บทความจากพันธมิตร
IVF ICSI (อิ๊กซี่) มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
IVF ICSI (อิ๊กซี่) มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
  • คุณแม่ท้องแรกอาจจะมีน้ำนมช้ากว่าท้องหลัง
  • คุณแม่ที่มีระยะเบ่งคลอดที่ยาวนาน หรือมีภาวะเครียดระหว่างการคลอดจะสัมพันธ์กับการที่มีน้ำนมมาช้าด้วย
  • คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดจะมีน้ำนมมาช้ากว่าคุณแม่ที่คลอดปกติ
  • หัวนมแบนหรือหัวนมบอด
  • คุณแม่ที่อ้วนหรือมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน
  • การที่มีเศษของรกค้างอยู่ในมดลูก
  • การกระตุ้นให้ลูกดูดนมหรือปั๊มนมห่างเกินไป ก็จะส่งผลให้น้ำนมมาช้าได้

แต่ปัจจัยที่ส่งผลทำให้น้ำนมมาช้าก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เพียงแต่คุณแม่อาจต้องหาวิธีการกระตุ้นน้ำนม หรือเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการให้ลูกช่วยกระตุ้นจากการดูดนมหรือปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมง ก็จะทำให้น้ำนมแม่มาเร็วขึ้นและเพียงพอได้ ดังนั้นเมื่อรู้ถึงการเกิดขึ้นของน้ำนมแม่และประโยชน์จากน้ำนมแม่ที่มีต่อลูกน้อยแล้ว ขอให้คุณแม่ที่น้ำนมมาช้าหรือน้ำนมน้อยอย่าละความพยายามให้การให้ดูดได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปนะคะ.

ขอบคุณที่มา : www.guruobgyn.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีเรียกน้ำนมแม่กลับคืนหลังหยุดให้นมลูก
จริงหรือกับ 9 ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?
แชร์ :
  • อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

    อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

  • ฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนได้อย่างไร?

    ฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนได้อย่างไร?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

    อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

  • ฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนได้อย่างไร?

    ฝึกให้ลูกหย่านมระหว่างคืนได้อย่างไร?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว