ไวรัสตับอักเสบบี 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 71

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบบ่อยมากในประเทศไทย บางคนอาจจะมีอาการไม่มากนัก เหมือนกันกับเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่บางคนอาจจะมีอาการมาก โดยจะสังเกตได้ จากตาเหลือง ตัวเหลือง รู้สึกอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง ปัสสาวะมีสีเข้ม นั่นเป็นสาเหตุจากตับที่ถูกทำลายมาก ซึ่งอาจจะส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตก็ได้ แต่หากร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเองได้อาการก็จะดีขึ้นเองโดยอัตโนมัติ และบางส่วนก็อาจจะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง เนื่องจากมีเชื้อไวรัส ฝังตัวอยู่ในตับ และออกมาในกระแสเลือดอยู่ตลอดเวลา และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะมะเร็งในตับได้สูงกว่าปกติ
โดยภาวะการติดไวรัสตับอักเสบบีนี้ หากเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้หญิงมีครรภ์ จะเกิดอะไรขึ้น และเป็นอันตรายกับตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ หรือ ส่งผลอะไรกับลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ หรือ มีผลกระทบ ทั้งตัวของคุณแม่ และตัวของเด็กในครรภ์ทั้งคู่ สามารถรู้ได้จากบทความนี้เลยค่ะ
เป็นภาวะตับอักเสบ หรือยัง ???
โดยปกติเมื่อคุณแม่เข้ามาฝากครรภ์ กับทางแพทย์ ไม่ว่าที่ไหนก็แล้วแต่ โดยมาตรฐาน คุณหมอจะทำการเจาะเลือดคุณแม่ไปตรวจ เพื่อหาว่า คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไรอยู่หรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไป คุณหมอจะตรวจเกี่ยวกับ
- ตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
สตรีที่ตั้งครรภ์ และมีภาวะตับอักเสบบีเรื้อรัง คือ ตรวจเลือดแล้วพบว่า มีไวรัสตับอักเสบบีในกระแสเลือด มีความสำคัญ คือ มีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกที่เกิดออกมาได้ และทำให้ลูก เป็นโรคตับอักเสบบีเรื้อรังในภายหลังได้มาก ถ้าไม่มีการป้องกัน โดยสถิติที่ผ่านมา หญิงมีครรภ์ในประเทศไทย มีอัตราการเกิดเป็น โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง มากถึง 8 - 10 % จากจำนวน หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด
จะรู้ได้อย่างไร ว่าตัวเองเป็นพาหะตับอักเสบบี และติดไปถึงลูกได้
จะรู้ได้ โดยการตรวจเลือด หากพบว่า มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (AbsAg) และถ้าตรวจพบว่ามีสารที่เรียก HbeAg ก็จะติดไปยังลูก ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม การตรวจพบ ว่าตรวจพบ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกระแสเลือด คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ ก็จะมีโอกาสทำให้ลูกที่คลอดออกมา ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ และส่วนใหญ่ของทารกที่ติดเชื้อ จะเป็นภาวะตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง คือมีภาวะเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ได้ในภายหลัง
ถ้าแม่เป็น โรคไวรัสตับอักเสบบี จะป้องกันลูกที่เกิดมา ได้อย่างไร
เนื่องจากทารก ที่คลอดจากแม่ที่มี เชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีการติดเชื้อจากแม่ในอัตราที่สูง และมีโอกาสเป็นโรคแบบเรื้อรังสูงด้วย จึงมีการ ทำการป้องกัน โดยฉีดสารภูมิต้านทานให้ลูก ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ลูก มีภูมิเกิดขึ้นเลยทันที ในขณะเดียวกัน ก็ฉีดวัคซีน เพื่อให้ร่างกาย สร้างภูมิต้านทานได้เองในภายหลังด้วย โดยฉีดเมื่อแรกคลอด , 1 เดือน , 2 เดือน , 6 เดือน และ 12 เดือนตามลำดับ

ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อเด็กในครรภ์ สามารถฉีดได้ 3 ครั้ง เหมือนคนทั่วไป คือ ครั้งแรก ต่อไปอีก 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ ทั้งนี้หมายความถึงคนที่ไม่มีเชื้อเป็นพาหะ และยังไม่มีภูมิต้านทานอยู่
ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ให้กับเด็กแรกเกิด ตามแผนการ ให้วัคซีนเด็กทุกคน เหมือนกับการป้องกันโรคอื่น ๆ ด้วย