X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าอาหารจะผ่านน้ำนมแม่

บทความ 3 นาที
ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าอาหารจะผ่านน้ำนมแม่

คุณแม่ที่กำลังให้นมเคยสงสัยไหมคะว่า เมื่อไหร่กันนะ อาหารที่คุณแม่กินเข้าไปจะผ่านน้ำนมแม่ไปยังเจ้าตัวน้อย ในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการผิดปกติ คุณแม่จะได้สังเกตและจดจำได้ว่าเกิดจากอาหารชนิดใด

ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าอาหารจะผ่านน้ำนมแม่

Anne Smith คุณแม่ลูกหก พ่วงด้วยตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการให้นมแม่ (IBCLC) กว่า 25 ปี ได้อธิบายว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาที่อาหารจะผ่านน้ำนมแม่ เช่น ความถี่ให้การให้นม ประเภทของอาหารที่แม่กิน และปฏิกริยาเคมีและการเผาผลาญในร่างกายของคุณแม่แต่ละคน จึงไม่สามารถฟันธงได้ว่า นานแค่ไหน ทั้งนี้ระยะเวลาโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 4-6 ชั่วโมง แต่สำหรับบางคนอาหารก็อาจผ่านนมแม่ได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง หรืออาจจะช้าได้ถึง 24 ชั่วโมง

Anne กล่าวว่า มีโอกาสน้อยมากที่อาหารจะก่อให้เกิดปัญหากับน้ำนม คุณแม่ให้นมส่วนใหญ่จึงสามารถกินอาหารได้เกือบทุกอย่างโดยไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำนมแม่ ยกเว้นถ้าเจ้าตัวน้อยไวต่ออาการแพ้ อาจเกิดอาการปวดท้อง ไอ คันคอตลอดเวลา เคืองตา น้ำตาไหล หอบหืด หรือผดผื่นคันขึ้นได้

บทความแนะนำ วิธีสังเกตเมื่อลูกมีอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง

ทารกแพ้นมแม่ได้หรือไม่

โดยปกติทารกแล้วจะไม่แพ้นมแม่ แต่บางครั้งเด็กที่ไวต่อการแพ้ อาจเกิดปฏิกริยาตอบสนองต่อโปรตีนแปลกปลอมในนมแม่ ตั้งแต่ระดับแพ้เล็กน้อยไปจนถึงแพ้อย่างรุนแรง เนื่องจากร่างกายคุณแม่จะดูดซึมโปรตีนผ่านทางลำไส้ และจะถ่ายทอดโปรตีนนั้นไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ผ่านทางน้ำนม

ช่วง 6 เดือนแรกโอกาสแพ้อาหารสูงที่สุด

ในช่วงหกเดือนแรกของชีวิตเยื่อบุกระเพาะอาหารของทารกยังไม่แข็งแรงพอ ดังนั้นสารก่อภูมิแพ้ที่ปรากฏในนมแม่จึงสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและทำให้เกิดการตอบสนองต่ออาการแพ้ในทารกที่มีความไวต่อการแพ้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนแรกๆ หลังคลอด

หลังจาก 6 เดือน เยื่อบุกระเพาะอาหารพัฒนาเต็มที่แล้ว สารก่อภูมิแพ้จึงไม่สามารถผ่านเข้าไปได้โดยง่าย และทารกก็จะมีความไวต่อการแพ้อาหารน้อยลง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทารกควรกินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต หากป้อนอาหารทารกก่อน 6 เดือน ลูกน้อยจะมีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกริยาตอบสนองต่อการแพ้มากกว่าเมื่อหลัง 6 เดือนไปแล้ว

อาหารกลุ่มเสี่ยงต่อการแพ้ที่พบมากที่สุด ได้แก่ คือ นมวัว ไข่ นมถั่ว แป้งสาลี ถั่วเปลือกแข็ง อาหารทะเล ผลไม้รสเปรี้ยว

หากไม่เคยมีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องจำกัดอาหาร และไม่ต้องกังวลว่า การที่ลูกน้อยแหวะนม เป็นผลมาจากการกินพิซซ่ามื้อดึกเมื่อคืนนี้หรือเปล่า เพราะเป็นเรื่องปกติที่ทารกจะร้องโยเย หรือแหวะนม ซึ่งมักจะไม่เกี่ยวกับอาหารที่คุณแม่กินเข้าไปแต่อย่างใด

Advertisement

แต่ในกรณีที่มีมีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ คุณแม่ควรงดผลิตภัณฑ์จากนมก่อน เพราะโปรตีนในนมวัวเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบมากที่สุดในเด็กทารก โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงหลังคลอดบุตรรวมถึงไม่ป้อนอาหารเสริมทารกจนกว่าลูกน้อยจะอายุ 6 เดือน

บทความแนะนำ ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน อันตรายจริงหรือ?

อาหารที่ต้องระวังสำหรับแม่ให้นม

ทางด้านแพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กล่าวว่า คุณแม่ให้นมกินอาหารได้เกือบเหมือนปกติ แค่ระวังอาหารบางอย่างเล็ดลอดเข้าสู่นมแม่ ทำให้ลูกเกิดความผิดปกติได้ เช่น

แอลกอฮอล์ เนื่องจากปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเข้าสู่น้ำนมแม่ ทำให้ทารกนอนหลับมากผิดปกติ และยังกดการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมการหายใจ และเป็นอันตรายต่อตับของทารก โดยปริมาณแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อทารกแบ่งตามความเข้มข้นได้ดังนี้

  • แอลกอฮอล์เข้มข้น เช่น วิสกี้ คอนยัค เหล้า บรั่นดี ไม่ควรกินเกิน 30 ซีซี
  • เบียร์หรือไวน์ หากกินไม่เกิน 1 แก้ว (180 ซีซี) ไม่ต้องปั๊มนมทิ้ง
  • แต่ถ้ากินเกิน 180 ซีซี ให้ปั๊มนมทิ้งภายใน 3-6 ชั่วโมง หรือจนกว่าคุณแม่จะมีความรู้สึกตัวดีหรือมีระดับสติสัมปชัญญะกลับมาเป็นปกติ

นอกจากนี้หากคุณแม่กินแอลกอฮอล์ไม่ควรนอนเตียงเดียวกับลูก เพราะอาจหลับลึกจนทับลูกเสียชีวิตได้

คาเฟอีน ที่อยู่ใน ชา กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำอัดลม กินได้เพียงหนึ่งอย่าง วันละไม่เกิน 1 แก้ว หากกินมากเกินไป อาจมีผลทำให้ลูกนอนหลับไม่ดี กระตุ้นทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ

บทความแนะนำ “ติดกาแฟ” จะส่งผลต่อลูกที่กินนมแม่หรือไม่

โปรตีนกระตุ้นภูมิแพ้ เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี ไข่ อาหารทะเล มะพร้าว ผลไม้รสเปรี้ยว ฯลฯ ถ้าลูกมีอาการแพ้ เป็นผื่น ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด ร้องโยเย คุณแม่ต้องงดอาหารเหล่านี้ขณะให้นม

อาหารที่ทำให้ลูกมีแก๊สหรือปวดท้อง เช่น อาหารเผ็ด หัวหอมใหญ่ ถั่วชนิดต่างๆ ผักกะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ แต่ไม่ได้เกิดในเด็กทุกคน บางคนเป็น บางคนไม่เป็น คุณแม่จึงควรสังเกตและจดจำว่ากินอะไรเข้าไปบ้าง เพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง

คุณแม่ได้ทราบเกี่ยวกับระยะเวลาที่อาหารจะผ่านน้ำนมแม่แล้วนะคะ หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยคุณแม่สังเกตและป้องกันลูกน้อยจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจเล็ดลอดเข้าสู่นมแม่ได้ค่ะ

ที่มา www.breastfeedingbasics.com, www.breastfeedingthai.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

8 คำแนะนำผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เจาะลึกคุณค่าในนมแม่ อาหารสุดวิเศษสำหรับทารก

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าอาหารจะผ่านน้ำนมแม่
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว