โรคที่พ่อแม่ควรทำความรู้จัก โรคคาวาซากิคืออะไร?

“โรคคาวาซากิ” เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำความรู้จักอีกโรคหนึ่ง เพราะเด็กที่เป็นโรคนี้แล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องจะมีโอกาสเกิดหลอดเลือดแดงหัวใจโป่งพอง ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ค่ะ
น้องปุ๊ก (ชื่อสมมติ) อายุ 4 ปี มีไข้สูง ต่อมามีผื่นแดงคล้ายลมพิษแต่ไม่คัน ตาแดงทั้งสองข้างไม่มีขี้ตา ริมฝีปากแห้งแดง ลิ้นแดงเป็นตุ่ม ๆ คล้ายผิวสตรอเบอร์รี่ ฝ่ามือและฝ่าเท้าบวมแดง ท้องเสีย มา 7 วัน ต่อมามีไข้เริ่มลด และมีการลอกของผิวหนังที่บริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้า ไปรับการักษาตัวที่โรงพยาบาล คุณหมอเจาะเลือดพบว่ามีเม็ดเลือดขาวสูง แต่ไม่พบการติดเชื้อ อาการของน้องปุ๊กเข้าได้กับ “โรคคาวาซากิ”
โรคคาวาซากิ คืออะไร?
โรคคาวาซากิเป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือดแดงขนาดกลาง โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงหัวใจ ทำให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างที่แข็งแรงของหลอดเลือดแดง ผนังของหลอดเลือดโป่งพอง จนเกิดการอุดกั้นของหลอดเลือดจากก้อนลิ่มเลือดที่แข็งตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เมื่อเวลาผ่านไป จะทำให้หลอดเลือดแดงนั้นอุดตันในที่สุด
โรคนี้พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง และอายุเฉลี่ยน้อยกว่า 4 ปี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 1-2 ปี พบบ่อยที่สุด
โรคคาวาซากิมีสาเหตุเกิดจากอะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคคาวาซากิ แต่สันนิษฐานว่าโรคนี้น่าจะเกี่ยวกับการติดเชื้อหรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานผิดปกติ ทำให้มีการอักเสบของหลอดเลือดเกิดขึ้น
อาการและอาการแสดงของโรคคาวาซากิเป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคคาวาซากิจะมีอาการไข้สูง นาน 1-2 สับดาห์, มีผื่นขึ้นตามตัวและแขนขาหลังจากมีไข้ 2-3 วัน ลักษณะผื่นมีได้หลายแบบ ไม่คัน, ตาแดง โดยที่ตาขาวจะแดงโดยไม่มีขี้ตา เกิดหลังมีไข้ประมาณ 1-2 วัน, ริมฝีปากแดง, แห้ง, ลิ้นจะแดงคล้ายลูกสตรอเบอร์รี่ , ฝ่ามือ และ ฝ่าเท้าบวมแดง ไม่เจ็บ ต่อมาจะมีการลอกของผิวหนังบริเวณปลายของเล็บมือและเท้า หลังมีไข้มากกว่า 1 สัปดาห์, มีต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอโตข้างเดียวหรือสองข้างของลำคอก็ได้ โดยมีขนาดเกินกว่า 1.5 เซนติเมตร
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย, ปวดข้อ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวมากผิดปกติแต่ไม่ติดเชื้อ ได้
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคนี้คือการอักเสบหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ โดยหลอดเลือดหัวใจอาจมีลักษณะโป่งพอง ตีบหรือแคบได้ จนเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง และเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้
หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคคาวาซากิคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร?
หากลูกมีอาการที่เข้าได้กับโรคนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจค่ะ โดยคุณหมอจะทำการซักถามประวัติ และ ตรวจร่างกายเพื่อสืบหาอาการและอาการแสดงที่เข้าได้กับโรคตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ร่วมกับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และปรึกษาคุณหมอโรคหัวใจเพื่อตรวจหัวใจด้วยวิธี echocardiogram
แนวทางการรักษาโรคคาวาซากิเป็นอย่างไร?
เมื่อคุณหมอให้การวินิจฉัยว่าอาการเข้าได้กับโรคนี้ จะรีบให้การรักษาด้วยยาอิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีด (intravenous immunoglobulin, IVIG) เพื่อลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือด ร่วมกับให้ทานยาแอสไพริน โดยถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าจะกลับเป็นปกติ และคุณหมอจะนัดมาตรวจหัวใจซ้ำเป็นระยะ
ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกเป็นโรคนี้ควรไปพบคุณหมอตามกำหนดนัดหมายอย่างสม่ำเสมอนะคะ
อาการบ่งชี้ของโรคคาวาชากิ
โรคคาวาชากิมักมีไข้สูง โดยมากมักป็นไข้นานเกิน 5 วัน ร่วมกับมีอาการบ่งชี้ ดังนี้
1. ตาขาวแดงทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่มีขี้ตา
2. ริมฝีปากแห้ง แดง ลิ้นแดงเป็นตุ่ม ๆ คล้ายผิวสตรอเบอร์รี่
3. มีผื่นตามตัวแต่มักไม่มีตุ่มน้ำ และ อาจหายไปเอง
4. ฝ่ามือ ฝ่าเท้าบวม
5. ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มักเป็นข้างเดียวและไม่มีอาการเจ็บ
" อาจพบอการแสดงอื่นๆ ที่เกิดร่วม ช่น ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ท้องเสีย ปวดท้อง
โรคคาวาซากิ (Kawasaki’s Disease) คือโรคที่ถูกค้นพบโดยกุมารแพทย์ชาวญี่ปุ่น โทมิซากุ คาวาซากิ เป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็ก และ ทารก โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ผู้ป่วยมักมีไข้สูง ผื่นคัน มือหรือเท้าบวม ผิวหนังลอกที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ปากแห้ง มีการอักเสบที่ปากและลำคอ ตุ่มขึ้นที่ลิ้นคล้ายผลสตรอว์เบอร์รี่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองบวม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม และ ทันเวลา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
อาการของโรคคาวาซากิ
โรคคาวาซากิจะมีระยะเวลาในการแสดงอาการประมาณ 6 สัปดาห์ แบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเฉียบพลัน ระยะกึ่งเฉียบพลัน และระยะพักฟื้น โดยมีรายละเอียดและอาการดังต่อไปนี้
- ระยะเฉียบพลัน (Acute Phase) ในช่วงสัปดาห์ที่ 1-2 จะเกิดอาการขึ้นได้อย่างกะทันหันและอาจมีอาการที่รุนแรงได้ เช่น
- มีไข้สูง อาการแรกที่พบคือมีไข้สูงระหว่าง 38-40 องศาเซลเซียส โดยปกติผู้ป่วยจะเป็นไข้อย่างน้อยประมาณ 5 วัน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้เป็นไข้นานประมาณ 11 วัน และในบางรายอาจเป็นไข้นานถึง 3-4 สัปดาห์ อาจมีไข้สูงเป็น ๆ หาย ๆ และไข้ขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่ตอบสนองต่อยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ไอบูโปรเฟน (Ibuporfen) หรือยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
- ผื่นแดงคัน เป็นจุด มักเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศและกระจายไปยังลำตัวและใบหน้า
- มือและเท้าบวม แดง หรือเจ็บเมื่อมีการลงน้ำหนัก ทำให้เกิดความลำบากในการเดินหรือคลาน และอาจมีผิวหนังลอกที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้าตามมา
- ตาบวมแดง โดยไม่มีขี้ตาทั้งสองข้าง
- ริมฝีปากแดงแห้ง แตก บวม และลอก อาจมีอาการอักเสบภายในปากและลำคอ รวมถึงลิ้นเป็นตุ่มแดงบวมคล้ายผลสตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry Tongue)
- ต่อมน้ำเหลืองโต ที่ลำคอ คลำได้ อาจพบข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รู้สึกตึง เจ็บ และอาจบวมขึ้นจนมีขนาดใหญ่กว่า 1.5 เซนติเมตร
- ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็ว น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- ระยะกึ่งเฉียบพลัน (Subacute Phase) ในช่วงสัปดาห์ที่ 2-4 ไข้สูงและอาการต่าง ๆ จะเริ่มลดความรุนแรงลง รวมถึงอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผิวลอกที่บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ หรือฝ่าเท้าปวดศีรษะ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ง่วงซึมหรือหมดแรง ปวดตามข้อหรือข้อบวม มีหนองในปัสสาวะ ผิวหรือตาเหลือง เป็นต้น ในระยะนี้จะง่ายต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่โป่งพอง (Coronary Artery Aneurysm) พบได้ค่อนข้างน้อยแต่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
- ระยะพักฟื้น (Convalescent Phase) ในช่วงสัปดาห์ที่ 5-6 ผู้ป่วยจะมีอาการที่ดีขึ้น แต่จะยังคงรู้สึกอ่อนแรงหรือเหนื่อยง่าย และในระยะนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน แต่มักจะเกิดขึ้นในระยะกึ่งเฉียบพลันได้มากกว่า
ที่มาจาก : https://www.pobpad.com/%E0
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ