X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่โอด ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน ไร้วิธีแก้ไขจากครู!

15 Sep, 2017
แม่โอด ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน ไร้วิธีแก้ไขจากครู!

เมื่อแม่เห็นลูกสาววัยประถม ต้องแบกหนังสือไปเรียนเยอะๆ ทุกวัน จึงลองเอากระเป๋านักเรียนไปชั่งน้ำหนักถึงกับอึ้ง เพราะมันหนักถึง 6 กก. 

พากันแชร์สนั่นโซเชียล เมื่อเพจ คุณแม่ยังสวย ได้โพสต์ภาพกระเป๋านักเรียนที่ ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียนทุกวันบนเครื่องชั่งน้ำหนัก

ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียนทุกวัน แม่ช่วยอะไรไม่ได้ ได้แต่สงสาร

คุณแม่คนดังกล่าว ได้โพสภาพ พร้อมข้อความว่า...

"วันนี้เอากระเป๋านักเรียน  ลูกสาว ขึ้นชั่งกิโล ตกใจมาก ลูกแค่ ป.1 ป.2 ตัวเล็กนิดเดียว แบกกระเป๋า หนัก 6 กิโล แบกแบบนี้ทุกวันค่ะ เราเป็นผู้ใหญ่ แบกยังหลังแอ่นเลย สงสารลูกมาก จัดตามตารางสอนทุกวัน ครูให้เอาหนังสือไปให้ครบ ต้องแบกไปแบกกลับ และห้ามไว้หนังสือที่ รร. อีก เห้อออ…ได้แต่สงสารทำอะไรไม่ได้การศึกษาไทย โรงเรียนอื่นเป็นมั้ยคะ ?
#แบกหนังสือไปเยอะ ๆ"

ลูกแบกหนังสือหนักมาก แม่โอด ลูกแบกหนังสือ 6 กก.ไปเรียนทุกวัน

ลูกแบกหนังสือหนักมาก แม่โอด ลูกแบกหนังสือ ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน

ลูกแบกหนังสือหนักมาก แม่โอด ลูกแบกหนังสือ ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน

งานนี้เล่นเอาแฟนเพจหัวอกเดียวกัน กระโจนกันเข้ามาคอมเมนท์อย่างดุเดือด ถึงระบบการศึกษาไทยที่ยังให้เด็กต้องแบกหนังสือไปเรียนตามตารางสอนทุกวัน

สาเหตุลูกปวดหลัง เกิดจากอะไรได้บ้าง

5 ที่มา ปัญหา ลูกปวดหลัง ในวัยอนุบาล

1. ที่นอนลูกไม่เหมาะกับหลัง

การที่ที่นอนของลูกแข็งหรือนิ่มเกินไปก็เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังในเด็กๆได้ คุณแม่หลายคนอาจจะคิดว่าลุกนอนมาตั้งนานทำไมเพิ่งจะมาปวด ก็เพราะช่วงนี้ลูกกำลังมีพัฒนาการทางร่างกายที่เปลี่ยนแปลงเร็ว บางครั้งที่นอนที่ไม่ถูกตามหลักสรีระก็ส่งผลได้ค่ะ

2. กระเป๋าของลูกหนักไปไหม?

เด็กอนุบาลไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเรียนมากมายให้ต้องแบกจนหนัก แต่ถ้าเป้ของลูกคุณไม่ได้มาตรฐาน นั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าตัวเล็กปวดหลังได้เช่นกันค่ะ เลือกใช้เป้สะพายหลังที่มีคุณภาพ มีที่บุรับน้ำหนักทั้งสายและแผ่ยหลังจะช่วยได้ค่ะ

3. ลูกอ้วนไปหรือเปล่า?

เด็กๆที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินก็ส่งผลให้กระดูกสันหลังและก้นกบรับภาระหนักกว่าจุดอื่นๆค่ะ จึงไม่แปลกใจเลยที่เด็กอ้วนนั้นจะมีปัยหาปวดหลัง ซึ่งอาจจะตามมาด้วยโรคอื่นๆอีกมาก เพราะสังคมไทยอยู่ในค่านิยมว่าเด็กอ้วนคือเด็กน่ารัก เลยไม่ได้มองว่าน้ำหนักที่เกินนั้นเป็นปัญหา

อย่างไรก็ตาม ตามหลักการแพทย์แล้วภาวะน้ำหนักเกินส่งผลต่อดรคร้ายมากมาย คุณแม่ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อออกแบบ เรื่องการกินของน้อง ไม่อย่างนั้นคงไม่จบที่อาการปวดหลังแน่นอนค่ะ

4. ลูกปวดเรื้อรังระวังเป็นสัญญาณร้าย

อาการปวดหลังเรื้อรังนั้นพบน้อยมากในเด็กเล็ก แต่ก็มีหลายโรคที่เกี่ยวกับข้อและกระดูกที่อาจเกิดจากพันธุกรรม โรคที่พบเจอบ่อยคือ โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งเป็นโรคที่เป็นตั้งแต่กำเนิด สามารถสังเกตได้ง่ายจากมี หลังเอียง หลังคด กระดูกสะบักสองข้างสูงไม่เท่ากัน หน้าอกสองข้างนูนไม่เท่ากัน

การรักษาโรคหลังคดมีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็น อายุของผู้ป่วย โดยมีจุดประสงค์ในการรักษาเพื่อพยายาม ทำให้กระดูกสันหลังตรงหรือไม่คดเพิ่มขึ้น ซึ่งมีวิธีรักษาหลายวิธี เช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อ ใส่เฝือกหลัง ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การเลือกวิธีรักษาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน

ดังนั้นหากเจ้าตัวเล็กปวดหลังนานมากกว่า 6 สัปดาห์และการรักษาโดยแพทย์พื้นฐานไม่สามารถทุเลาอาการได้อาจจะต้องลองปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านกระดูกและข้อดูค่ะ

5. ลูกปวดหลังแถมยังเหนื่อยง่าย

หากลูกมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น เหนื่อยง่าย  ไม่เจริญอาหาร ปวมตามตัว อาจเป้นได้ว่าลุกมีปัญหาเกี่ยวกับไตและระบบขับถ่าย โดยตำแหน่งของไตนั้นจะค่อนไปทางด้านหลัง และเด็กเล็กจะยังไม่สามารถบ่งบอกตำแหน่งที่แน่ชัดได้ คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการน้องและรีบไปหาหมอโดยเร็วค่ะ

อาการปวดหลังของเด็กๆดุเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ด้วย ดังนั้นคุณแม่เองต้องคอยสังเกตและหาสาเหตุให้ได้ เพื่อไม่ให้เรื่องเล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่นะคะ

สาเหตุแม่ปวดหลัง อุ้มลูกทีไรปวดหลังทุกที

ปวดหลังหลังคลอด เป็นอาการที่คุณแม่หลายท่านมักจะเป็น โดยเฉพาะยิ่งอุ้มลูกนานๆก็ยิ่งปวดหลังมากขึ้น ซึ่งอาการ ปวดหลังหลังคลอด นี้ จริงๆแล้วมักจะเป็นผลพวงมาตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ เมื่อลูกในท้องโตขึ้น ขนาดครรภ์ก็เริ่มขยายใหญ่ขึ้น รวมทั้งน้ำหนักก็จะเริ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ข้อต่อต่างๆหลวมและหย่อนตัวลง กระดูกเชิงกรานที่ยึดติดกันก็จะคลายออก ทำให้เชิงกรานของคุณแม่หลวม ยิ่งขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และเพื่อเป็นการปรับสมดุลของร่างกายให้สามารถรับกับขนาดครรภ์และน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องยืนหรือเดิมในลักษณะที่ต้องแอ่นหลัง และเมื่อคุณแม่ต้องแอ่นหลังนานๆ จึงส่งผลให้มีอาการปวดหลังตามมาได้นั่นเองครับ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วอาการส่วนใหญ่จะค่อยๆดีขึ้นหลังคลอดลูกครับ

คลอดแล้วยังปวดหลังอยู่

สำหรับคุณแม่บางท่านเมื่อคลอดแล้ว แต่ยังคงมีน้ำหนักหรือส่วนเกินหน้าท้องอยู่ ซึ่งช่วงนี้คุณแม่อาจจะยังมีอาการปวดหลังอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรงเท่ากับตอนตั้งครรภ์ครับ นอกจากนั้นแล้วท่าจากการนั่งหรือนอนโดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอดที่ต้องให้นมลูก หากอยู่ในลักษณะหรือท่าที่ไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกิดอาการปวดได้

อีกปัจจัยที่ทำให้คุณแม่มีอาการ ปวดหลังหลังคลอด นั่นก็คือการอุ้มลูกนั่นเองครับ หากเป็นเด็นแรกคลอดที่น้ำหนักตัวเบาๆ การอุ้มปกติทั่วไปหรือแม้แต่การอุ้มเพื่อให้นมก็อาจจะไม่ได้ทำให้ปวดหลังมากนัก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยเริ่มโตขึ้น และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลายเท่า แต่ก็ยังร้องให้อุ้มอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังมากขึ้นได้ ไม่ต่างจากพฤติกรรมการยกของหนักอย่างอื่นเลยครับ นอกจากนั้นแล้ว การเคลื่อนไหวผิดจังหวะจากการอุ้มลูก ก็เป็นเหตุผลทำให้คุณแม่ ปวดหลังหลังคลอดได้เช่นกัน

ลูกแบกหนังสือหนักมาก ปวดหลังหลังคลอด อุ้มลูกทีไร ปวดหลังทุกที

อุ้มลูกทีไร ปวดหลังทุกที แบบนี้แก้อย่างไร

ในช่วง 2 – 3 เดือนแรก คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการดูแลร่างกายหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฟื้นฟูโครงสร้างของร่างกายหลังคลอด โดยวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอดมีดังนี้

  • ออกกำลังกายตามคำแนะนำของคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัด เพื่อสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจทำให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เช่น เวลานั่งควรนั่งหลังตรง หากนั่งเก้าอี้พยายามนั่งให้สะโพก ไหล่ชิดพนักพิง และหาหมอนใบเล็กมารองที่บั้นเอวและต้นคอ
  • เวลานอน แนะนำให้นอนตะแคง และเอาหมอนมารองสอดไว้ระหว่างขา
  • ไม่เอี้ยวตัว หรือก้มยกของหนัก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง และอาจทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้
  • เวลาอุ้มลูก ให้อุ้มด้านตรง เวลาจะยกลูกขึ้น ให้ย่อเข่าลงแล้วยก ไม่ใช่ก้มตัวโน้มลงมายก ใช้กำลังจากกล้ามเนื้อต้นขาตอนลุก

หากคุณแม่ดูแลร่างกายตามที่แนะนำแล้ว อาการปวดหลังหลังคลอดยังไม่ทุเลาลง มีอาการชาบริเวณขา หรือขาอ่อนแรงร่วมด้วย หรือมีอาการปวดติดต่อกันนานเกินสองเดือน ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันทีนะครับ

ที่มา : www.khaosod.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 ที่มา ปัญหา “ปวดหลัง” ในวัยอนุบาล

จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!

ท่าออกกําลังกายคนท้องแก้ปวดหลัง มาออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดหลังกัน

บทความจากพันธมิตร
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ
จะดีแค่ไหนหากโลกนี้มีของเล่นที่เด็กทุกคนสนุกด้วยกันได้อย่างเท่าเทียม มารู้จักกับ BLIX POP กันเถอะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • แม่โอด ลูกแบกหนังสือหนักมาก ไปเรียน 6 กก. ทุกวัน ไร้วิธีแก้ไขจากครู!
แชร์ :
  • พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

    พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

  • วิจัยเผย นักเรียนที่ดูดีจะมีประสิทธิภาพที่ดีในโรงเรียน ยิ่งลูกดูดี ลูกยิ่งเกรดดี

    วิจัยเผย นักเรียนที่ดูดีจะมีประสิทธิภาพที่ดีในโรงเรียน ยิ่งลูกดูดี ลูกยิ่งเกรดดี

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

    พัฒนาการเด็กวัย 4 ปี 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

  • วิจัยเผย นักเรียนที่ดูดีจะมีประสิทธิภาพที่ดีในโรงเรียน ยิ่งลูกดูดี ลูกยิ่งเกรดดี

    วิจัยเผย นักเรียนที่ดูดีจะมีประสิทธิภาพที่ดีในโรงเรียน ยิ่งลูกดูดี ลูกยิ่งเกรดดี

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ