X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!

บทความ 5 นาที
จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!

พอลูกเข้าเรียนอนุบาลพ่อแม่ก็เริ่มคาดหวังว่าลูกจะอ่าน-เขียนได้ กลับบ้านมาเคี่ยวเข็ญให้ทำการบ้าน หรือส่งเสริมให้เรียนพิเศษ อยากจะให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง ๆ แต่พ่อแม่รู้มั้ยค่ะ อนุบาล 3 ขวบ เพิ่งไปวัยที่ลูกกำลังสนุกกับชีวิตที่เขากำลังเดินได้ วิ่งได้

คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งรีบไปนะคะ ปล่อยให้ลูกในน้อยช่วงวัย อนุบาล 3 ขวบ ได้มีช่วงวัยเด็กที่มีความสุขกันค่ะ ลูกวัยนี้เราค่อย ๆ ฝึกระเบียบ สอนเรื่องการรอคอย การเข้าสังคมให้ลูกไป มากกว่าที่จะจับเจ้าตัวเล็กมาคอยฝึกเขียนฝึกอ่าน อย่าเพิ่งกังวลกลัวว่าลูกจะอ่านหนังสือเป็นช้าหรืออ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ในตอนนี้

จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!

การให้ลูกฝึกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่ยังเล็กนั้น พญ.กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การฝึกหรือหรือบังคับให้ลูกเรียนเขียนอ่านตั้งแต่อายุน้อยๆ นั้น อาจเป็นเพราะพ่อแม่ในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันความสามารถของลูก อยากให้ลูกตนเองเรียนเก่ง จึงกังวลว่าลูกจะเขียนไม่ได้อ่านหนังสือไม่ออก สู้ลูกคนอื่นไม่ได้ ตรงนี้ถือเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง

 

อนุบาล 3 ขวบ

 

ในธรรมชาติของเด็กเล็กนั้น กล้ามเนื้อมัดเล็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่และยังต้องได้รับการพัฒนา ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้ลูกได้ขีดเขียนอย่างเป็นอิสระ ไม่ใช่การบังคับให้ฝึกเขียนตัวอักษร ซึ่งกลายเป็นว่าไปปิดกั้นจินตนาการของลูกอีกด้วย ทั้งนี้วัยที่เหมาะสมต่อการเขียนอ่านหนังสือนั้นเริ่มตอน 5 ขวบก็ยังไม่สาย เด็กก็สามารถอ่านออกเขียนได้ดี การรีบฝึกลูกให้อ่านเขียนตั้งแต่เล็กเกินไปก็ใช่ว่าดีต่อตัวลูก

 

Advertisement

อนุบาล 3 ขวบ

 

สำหรับการฝึกภาษาที่สองให้แก่ลูกก็เช่นกัน พ่อแม่ที่พยายามใช้ภาษาที่สองกับลูกในชีวิตประจำวันตั้งแต่เล็กจะทำให้ลูกรู้สึกถึงความแปลกใหม่ของภาษาและเริ่มคุ้นชิน แต่อย่าเพิ่งจับมาฝึกเขียนอ่านเช่นเดียวกับภาษาไทยนะคะ “เด็กวัย 3 ขวบ ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก การให้ฝึกขีดเขียนอย่างอิสระ ก็จะช่วยฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ดีขึ้น แต่การบังคับให้เขาเขียนตามเส้นปะเลย ด้วยความที่กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขายังทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็จะเป็นการฝืนธรรมชาติของเด็กเกินไป และวัยนี้ควรให้เขาได้เล่นอย่างอิสระเพื่อฝึกพัฒนาการต่างๆ จะเป็นผลดีกับลูกมากกว่าการจับมานั่งฝึกเขียนอ่าน ซึ่งอาจทำให้ขาดพัฒนาการด้านอื่นๆ” พญ.กาญจนากล่าว

 

เจ้าตัวเล็กในวัย 3 ขวบของคุณพ่อคุณแม่นั้นหากเริ่มเข้าอนุบาล ควรเน้นไปที่การให้ลูกได้ฝึกระเบียบวินัย การเข้าสังคม รู้จักรอคอย เข้าแถว ไม่แซงเพื่อน ไม่แย่งของเพื่อนในตอนนี้มากกว่า เหล่านี้ถือเป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้ตั้งแต่เล็กเพื่อจะได้ติดไปจนโต และถือว่าเป็นการเรียนการสอนของลูกในช่วงเริ่มต้นตอนอายุ 3 ขวบได้เหมาะสมกับวัยค่ะ

 

ฝึกลูกก่อนเข้าอนุบาล วันแรก

เมื่อลูกต้องออกจากอ้อมอกแม่สู่รั้วโรงเรียนอนุบาลวันแรก คนที่ตื่นเต้นนั้นไม่ใช่แค่ลูกแน่ๆ พ่อแม่อย่างเรานั้นแหละค่ะ ที่จะเป็นฝ่ายกังวลว่า ลูกจะปรับตัวได้ไหม จะร้องไห้มากหรือเปล่า จะชอบโรงเรียนไหมนะ ถ้าโดนเพื่อนแกล้งล่ะ จะดูแลตัวเองได้หรือเปล่า ไหนจะเรื่องความปลอดภัยในโรงเรียนอีก รวมทั้งเรื่องของคนแปลกหน้า สารพัดจะกังวลเลยใช่ไหมคะ วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยคุณแม่คลายกังวลได้ นั่นคือ การเตรียมลูกให้พร้อมก่อนเข้าอนุบาลนั่นเองค่ะ มาดูกันว่าฝึกลูกก่อนเข้าอนุบาล อย่างไร

 

  • เตรียมพร้อมด้านร่างกายและพัฒนาการลูก

คุณแม่ควรเตรียมลูกในเรื่องพัฒนาการด้านต่างๆให้ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เพราะเด็กที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ที่บ้านมีคนทำให้ทุกอย่าง พอไปโรงเรียนแล้วเห็นเพื่อนทำได้ แต่ตัวเองทำไม่ได้ จะรู้สึกด้อย ไม่มั่นใจ ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียน คุณแม่จึงควรฝึกลูกก่อนเข้าอนุบาลแต่เนิ่นๆในเรื่องต่อไปนี้

    • เตรียมความพร้อมด้านการช่วยเหลือตนเอง เช่น การใส่เสื้อผ้า ถอดเสื้อผ้า ติดกระดุม ใส่ถุงเท้า ทานอาหารเองได้ หรือเข้าห้องน้ำเองได้
    • เตรียมความพร้อมด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การจับดินสอ ขีดเขียน ระบายสี
    • เตรียมความพร้อมด้านวิชาการ เช่น ก-ฮ A-Z  นับเลข เป็นต้น
    • เตรียมลูกให้พร้อมในด้านสังคม การแบ่งปัน การรอคอย เป็นต้น กระตุ้นให้ลูกกล้าที่จะเข้าไปขอเพื่อนเล่น หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ลูกรู้สึกสนใจ
    • เตรียมลูกให้พร้อมด้านภาษา ลูกสามารถบอกความต้องการได้ เช่น บอกอึ ฉี่ บอกความรู้สึกเจ็บ ปวด ชอบ ไม่ชอบ บอกเพื่อนไม่ให้ผลัก หรือแย่งของเล่น บอกครูเมื่อถูกเพื่อนแกล้ง เป็นต้น
    • เตรียมพร้อมปรับเวลาการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ฝึกเข้านอนไว หาวิธีปลุกลูกให้ตื่นแต่เช้าและทานอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนไปโรงเรียน

การไปโรงเรียนของลูก แม่ต้องมั่นใจว่าลูกได้รับสารอาหารเพียงพอเพื่อให้แม่มั่นใจว่าลูกมีความพร้อมในการเรียน ซึ่งการทานอาหารครบ 5 หมู่และเสริมด้วยนมที่มีจุลินทรีย์มีประโยชน์ LGG  และ Prebio 1 (พรีไบโอวัน)  จะทำให้แม่มั่นใจว่าลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ อีกทั้ง ลดการเจ็บไม่เจ็บป่วย ไม่เสียโอกาสในการเรียน ไม่ต้องขาดเรียนซึ่งจุลินทรีย์มีประโยชน์ LGG  1มีผลวิจัยรองรับว่าช่วยลดจำนวนวันขาดเรียนจากการติดเชื้อได้ถึง 40% จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LGG  สามารถพบได้ในนม โยเกิร์ต

 

จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!

  • เตรียมพร้อมด้านจิตใจ

เด็กๆมักจะกลัวและตื่นเต้นเมื่อต้องไปโรงเรียนวันแรก ยิ่งวัยนี้เป็นวัยที่กลัวการพลัดพราก เด็กส่วนใหญ่จึงร้องไห้ในวันแรกที่ต้องไปโรงเรียนอนุบาล คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายได้ ด้วยการฝึกลูกก่อนเข้าอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมด้านจิตใจก่อนไปโรงเรียนวันแรก

    • พูดถึงโรงเรียนในแง่บวก ว่าไปโรงเรียนสนุกมากเลย ลูกจะได้เจอเพื่อนใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หนูจะเก่งขึ้น อีกหลายอย่างเลยนะถ้าได้ไปโรงเรียน
    • แสดงให้ลูกรู้ว่าการที่ลูกไปโรงเรียนนั้นเป็นสิ่งที่แม่ภูมิใจมาก
    • เตรียมลูกให้มั่นใจในตัวเอง มั่นใจในโรงเรียน บอกลูกว่าตอนเช้าแม่มาส่ง ตอนเย็นแม่จะกลับมารับ ไม่ได้ทิ้งไปไหน โดยวันเปิดเทอมวันแรก คุณแม่ควรไปรับไปส่งลูกด้วยตนเอง
    • พาลูกไปดูโรงเรียน เพื่อทำความคุ้นเคยก่อนจะเปิดเทอมวันแรก พาลูกไปสัมผัสห้องเรียนจริงๆ ถ้าเป็นไปได้
    • พาลูกไปทำความคุ้นเคยกับสถานที่ใหม่ๆ คนใหม่ๆ เช่น ไปบ้านเพื่อนแม่ที่มีเด็ก เปลี่ยนกิจกรรม เปลี่ยนสถานที่ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
    • พาลูกไปร่วมกิจกรรมของโรงเรียนก่อนจะเปิดเทอมจริง เพื่อที่เด็กๆจะได้ทำความคุ้นเคย และเล่นด้วยกันก่อน ลูกจะได้มีเพื่อนที่คุ้นหน้าในวันที่เปิดเทอมจริง ซึ่งทางโรงเรียนมักจะมีคอร์สซัมเมอร์ให้เด็กๆ ได้เตรียมความพร้อมก่อนอยู่แล้ว เป็นเรื่องดีที่คุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกเข้าร่วม
    • พยายามอย่าสร้างความคาดหวังที่ไม่มีจริงให้กับลูก ราวกับว่าโรงเรียนคือสถานที่มหัศจรรย์ แต่ควรพูดถึงโรงเรียนในแง่บวกทั่วๆไป ตามความเป็นจริงจะดีกว่า และอย่าลืมย้ำกับลูกว่า คุณครูใจดีจะพยายามทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น โรงเรียนไม่น่ากลัวซักนิดเลยจ้ะ

 

  • เตรียมพร้อมป้องกันลูกหาย

แม้ว่าโรงเรียนที่เราเลือกนั้น เพราะเรามั่นใจในการรักษาความปลอดภัยในระดับหนึ่งแล้ว แต่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามการสอนลูกให้รู้ทันมิจฉาชีพด้วย จากข้อมูลของมูลนิธิกระจกเงาระบุว่า เด็กวัยอนุบาลมักเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ เนื่องจากยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และหน้าโรงเรียนก็ติดอันดับสถานที่เด็กถูกลักพาตัวอยู่บ่อยๆ

    • สอนลูกไม่ให้คุยกับคนแปลกหน้า ไม่ให้หลงเชื่อคนแปลกหน้า
    • บางครั้งคนร้ายก็ไม่ใช่คนแปลกหน้าเสมอไป เพราะมักเข้ามาตีสนิทหลายครั้งจนเด็กไว้ใจก่อนลงมือ
    • สอนลูกว่าคนร้ายมักมาในรูปแบบที่คาดไม่ถึง มักพูดจาดี ชอบเอาขนม ของเล่น เงิน มาล่อ
    • คนร้ายมักอ้างว่าพ่อแม่ให้มารับ ดังนั้น ถ้าไม่เห็นว่าพ่อแม่มารับ ห้ามไปกับใครเด็ดขาด
    • สอนลูกให้ตะโกนดังๆ ขอความช่วยเหลือ เวลาตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัย
    • คุณแม่กับคุณลูกอาจตั้งโค้ดลับเฉพาะคนรู้ใจ เอาไว้เผื่อมีคนเข้ามาตีสนิท หรือแอบอ้างว่าพ่อแม่ให้มารับ หากเขาไม่สามารถตอบโค้ดลับได้ถูกต้อง ให้รีบไปแจ้งคุณครูทันที

 

  • ฝึกซ้อมเพื่อให้พร้อมที่สุด

คุณแม่ชวนลูกมาฝึกซ้อมบทบาทสมมุติในสถานการณ์ต่างๆ เช่น พาลูกไปที่โรงเรียน และบอกลูกว่าตอนเย็นแม่จะมารับตรงนี้นะลูก หรือสร้างสถานการณ์ว่ามีคนอ้างว่า พ่อแม่ให้มารับ  หรือสถานการณ์ที่ลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือลูกได้รับบาดเจ็บจากการเล่น ลูกควรทำอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าลูกสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม

หวังว่าคำแนะนำของเราจะเป็นประโยชน์แก่คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเตรียมลูกเข้าอนุบาลนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่มีเทคนิคอื่นๆ นำมาแบ่งปันแก่คุณแม่ท่านอื่นได้ด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
เปิดไลฟ์สไตล์ เด็กยุคใหม่ เล่นสนุก พร้อมทุกกิจกรรม ก่อนจะทำอะไร ให้ลูกดื่มแบรนด์จูเนียร์ไว้ก่อน
เปิดไลฟ์สไตล์ เด็กยุคใหม่ เล่นสนุก พร้อมทุกกิจกรรม ก่อนจะทำอะไร ให้ลูกดื่มแบรนด์จูเนียร์ไว้ก่อน
5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5
5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรัก เสริมเกราะป้องกันในช่วง โควิด-19 และฝุ่น PM 2.5
#เสื้อซับในบอกลาร้อนอับชื้น ถึงอากาศจะร้อน ก็สบายตัว เพราะ แห้งไว ระบายเหงื่อ ทำให้ตัวไม่เหนียวไร้กลิ่นเหม็นอับ
#เสื้อซับในบอกลาร้อนอับชื้น ถึงอากาศจะร้อน ก็สบายตัว เพราะ แห้งไว ระบายเหงื่อ ทำให้ตัวไม่เหนียวไร้กลิ่นเหม็นอับ
เคล็ดลับช่วยให้ลูกสูง ทำได้ไม่ยาก พ่อแม่ไม่สูง ลูกก็สูงได้
เคล็ดลับช่วยให้ลูกสูง ทำได้ไม่ยาก พ่อแม่ไม่สูง ลูกก็สูงได้

อ้างอิงจาก : www.kroobannok.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

พ่อแม่รู้ยัง สพฐ. เค้าเปลี่ยนกฎรับเด็กอนุบาลใหม่เริ่มที่ 3 ขวบแล้วนะ!

5 สัญญาณบ่งบอกว่าลูกยังไม่พร้อมเข้าเรียนอนุบาล

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • /
  • จิตแพทย์ชี้วัย อนุบาล 3 ขวบ อย่าเพิ่งยัดเยียดให้ลูกอ่าน-เขียน ยังไม่ต้องรีบ 5 ขวบก็ไม่สาย!!
แชร์ :
  • 5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

    5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

  • รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

    รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

  • ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

    ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

  • 5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

    5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

  • รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

    รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

  • ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

    ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว