X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 49 แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่

บทความ 5 นาที
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 49 แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่

ขอนำบทความเกี่ยวกับอาการป่วยของคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝาก มาดูกันว่า แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่ มาดูว่าอาการหวัดของคนท้องจะเป็นอย่างไร รักษาได้อย่างไรบ้าง

วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับอาการป่วยของคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝาก มาดูกันว่า แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่ ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าคนปกติ ทำให้ร่างกายมักอ่อนแอ และติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งก็อาจส่งผลให้แม่มีโอกาสได้เป็นหวัดในช่วงตั้งครรภ์ได้

 

แต่ไข้หวัดส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีอาการแค่คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ มีไข้ต่ำ ๆ ไม่เจ็บคอ ไม่มีเสมหะ หากดูแลร่างกายตัวเองให้ดี จิบน้ำอุ่นเยอะ ๆ มีการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็สามารถหายเองได้ หรือกินยารักษาตามอาการ แต่ถ้ามีอาการไม่ดีขึ้น มีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกเหลืองหรือเขียว เสมหะข้นเหนียว แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้จะไม่หายเอง ควรไปหาคุณหมอเพื่อรับการตรวจก่อนมีอาการลุกลาม

 

แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่

แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่

อาการเป็นหวัด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ

1.ไข้หวัดธรรมดา เป็นไข้หวัดแบบนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อทารกโดยตรง เนื่องจากเป็นการติดเชื้อที่ระบบหายในส่วนบน ไม่ส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ แต่ถ้าคุณแม่เป็นหวัดแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้ลูกได้รับผลทางอ้อมจากการติดเชื้อได้ เช่น ถ้าคุณแม่มีไข้สูง มีอาการไอร่วมด้วยก็จะไปทำให้มดลูกบีบตัว ส่งผลกระทบถึงทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในคุณแม่ที่ท้องในช่วงครรภ์อ่อน ๆ อาจเสี่ยงต่อการแท้งได้

Advertisement

2.ไข้หวัดใหญ่ ที่มีอาการไข้สูง อาจมีการอาเจียน เบื่ออาหาร หรือกินอะไรไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารไม่เต็มที่ ส่งผลต่อพัฒนาการของทารก และในระยะยาวอาจเกิดปัญหาทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ตามมาได้

 

ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณะสุขได้มีโครงการฉีดวัคซีนป้องกันให้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งก็ยังป้องกันได้เฉพาะบางสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับความต้านทานของแม่แต่ละคนด้วย ที่น่าเป็นห่วงก็คือ อันตรายจากการเป็นหวัดแล้วเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น อาการติดเชื้อในปอด

ดังนั้นไม่ว่าจะตั้งครรภ์ในระยะใด หากคุณแม่เริ่มรู้ตัวว่ามีอาการของไข้หวัด หากเป็นไข้หวัดธรรมดา ควรดูแลพักผ่อนให้มาก กินอาหารที่ประกอบด้วยผักผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และไขมันในปริมาณที่เหมาะสม ดื่มในปริมาณที่มาก ร่างกายก็จะดีขึ้นภายในเวลา 1 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่รู้สึกตัวแย่แล้วมีอาการไข้สูง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาอาการ

 

แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่

แม่ท้องเป็นหวัด ได้หรือไม่

 

ข้อมูลจากศูนย์มูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย ได้แนะนำยารักษาไข้หวัดที่แม่สามารถกินขณะให้นมลูกได้ เช่น

  • คลอเฟนนิรามิน (chlorpheniramine) เป็นยาลดน้ำมูก แต่จะทำให้คุณแม่มีอาการง่วงนอนบ้าง
  • Actifed มียาลดน้ำมูกรวมกับยาแก้คัดจมูก (pseudoephedrine) อาจจะทำให้ง่วง และมีเสมหะเหนียว ต้องดื่มน้ำมาก ๆ ในบางคนที่ไวต่อยานี้ (pseudoephedrine) มาก อาจมีผลกดการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมน้อยลงได้ ให้ลองสังเกตอาการ ถ้ามีปัญหาน้ำนมลดลง ให้หยุดยาก็จะดีขึ้น
  • ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ใช้ลดไข้ ไม่มีผลต่อลูก
  • ยา dextromethorphan เป็นยากดอาการไอ ใช้ได้ ไม่มีผลต่อลูก

ข้อควรระวัง

  • ในกรณีของยาบางชนิดที่อาจมีผลบ้าง ควรทิ้งช่วงเวลาให้นม โดยกินยาหลังให้ลูกดูดนมอิ่มแล้ว หรือกินยาในช่วงที่ลูกจะหลับยาว เพื่อให้ระดับยาในเลือดและในน้ำนมแม่ลดลงไปมากในมื้อถัดไป จนไม่เป็นอันตรายต่อลูก
  • หากเลือกซื้อยารับประทานเอง ควรแจ้งให้เภสัชกรประจำร้านขายยาทราบว่ากำลังให้นมลูกอยู่ เพื่อคุณหมอจะได้เลือกยาที่มีผลต่อการให้นมทารกน้อยที่สุด
  • ในขณะที่แม่เป็นหวัด หรือป่วยเป็นไข้ ควรใส่หน้ากากป้องกันในขณะที่ให้นมลูก ควรแยกที่นอนกับลูกน้อย โดยวางลูกในน้อยไว้ในเปลหรือที่นอนเฉพาะสำหรับเด็กที่ เพราะหากคุณแม่กินยาและส่งผลถึงอาการง่วงนอน หรือเพลียมาก ก็อาจเผลอทำให้นอนพลิกไปทับตัวลูกได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกติดหวัดจากคุณแม่ด้วย

ยาสำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่ช่วยบรรเทาอาการตอนเป็นหวัด

กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้

สำหรับอาการแก้ปวดต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ เป็นไข้ สามารถใช้ พาราเซตามอล หรือ Acetaminophen

กลุ่มยาลดน้ำมูก

คลอร์เฟนนิรามีน (Chlorphenniramine) เป็นยาแก้คัดจมูก ลดย้ำมูก ไม่มีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ แต่เมื่อกินยานี้จะทำให้ง่วงซึม จึงควรพักผ่อนหลังกินยา ไม่ควรขับรถ หรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรอันตรายระหว่างใช้ยา

กลุ่มยาแก้ไอ

ประเภทยาอม ยาพ่นคอต่าง ๆ ใช้สำหรับทำให้ชุ่มคอ ระคายคอ แก้คอแห้ง ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและลดอาการไอ ยากลุ่มนี้ออกฤทธ์เฉพาะที่ สามารถรับประทานได้ตอนตั้งครรภ์

 

แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่

แม่ท้อง เป็นหวัด ได้หรือไม่

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี เพื่อพัฒนาการร่างกายและสมองสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์
อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี เพื่อพัฒนาการร่างกายและสมองสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์

 

เมื่อแม่ท้องไม่สบาย ควรเลือกกินยาที่เหมาะสม ควรศึกษารายละเอียดก่อนก่อนใช้ยาให้ถูกต้อง เลือกในกลุ่มยาที่ปลอดภัย หรือเพื่อความสบายใจ เมื่อเจ็บป่วยในขณะตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจัฉัย เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และได้รับการสั่งยาจากคุณหมอที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูกในท้อง

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณแม่เป็นหวัดอาจไม่ได้ส่งผลกับลูกในท้องผ่านทางรกโดยตรง เพราะเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่ถ้าเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ลูกในครรภ์ก็อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการติดเชื้อ เช่น การไอมาก ๆ ในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ แล้วไม่ดูแลรักษาอาการก็อาจเกิดการติดเชื้อ เสี่ยงต่อการแท้งลูก หรือการกินอาหารไม่ได้ เบื่ออาหาร ทำให้แม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่เพียงพอ ในระยะยาวก็อาจส่งผลให้ทารกโตช้าในครรภ์ได้

การดูแลรักษาร่างกายตัวเองให้ดีเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ควรป้องกันตัวเองจากการเป็นโรค หลีกเลี่ยงจากการสัมผัสบุคคลที่เป็นโรคหรือไปในแหล่งที่มีโอกาสติดเชื้อสูงเช่น ตามที่สาธารณะต่าง ๆ  กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็ช่วยให้คุณแม่ห่างไกลจากโรคหวัดไม่ต้องพึ่งพารับประทานยาให้กังวลใจด้วย

 

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

Source : thaibreastfeeding.org , likevitamin.net

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 10 เจ็บเต้านม บรรเทาอาการอย่างไร

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ : หูดหงอนไก่ อาการเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่?

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 51 อาการบวมน้ำในคนท้อง เป็นอย่างไร

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 49 แม่ท้องเป็นหวัดได้หรือไม่
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว