กระบวนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ก็จะค่อย ๆ เกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกเดือน เริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ ไปจนกระทั่งสมบูรณ์เมื่อครบเก้าเดือนและพร้อมลืมตาดูโลกเมื่อถึงวันคลอด มาค่ะ คุณพ่อคุณแม่มาแอบดูลูกน้อยในครรภ์กันว่า เจ้าหนูมีการเจริญเติบโตอย่างไร เช็กว่าลูกในท้องตัวโตแค่ไหนแล้ว แม่ท้องทำเองได้เลย
เช็กว่าลูกในท้องตัวโตแค่ไหนแล้ว แม่ท้องทำเองได้ พร้อมแล้วเช็กเลย
เช็กไตรมาสแรก : การก่อตัวของชีวิตน้อย ๆ
1. เมื่อการปฏิสนธิสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตัวอ่อนฝังตัวแล้วเซลล์ไข่จะกลายสภาพเป็นไข่แดงผูกติดกับตัวอ่อนและเริ่มพัฒนาสายรกเพื่อเชื่อมต่อกับระบบเลือด เซลล์เกิดการเพิ่มจำนวน สร้างเนื้อเยื่อ เริ่มมีส่วนของศีรษะและลำตัว มองดูคล้าย ๆ ลูกอ๊อดเหมือนกันนะเนี่ย !!!
2. ภายในลำตัวจะมีการแบ่งเนื้อเยื่อ เพื่อสร้างเป็นอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ สมอง หัวใจ ตา ปาก ทางเดินอาหาร หูชั้นใน แขน ขาที่สำคัญหัวใจของลูกน้อยเริ่มทำงานแล้วนะคะเมื่ออายุประมาณ 25 วันเท่านั้นเอง
3. ในช่วงเดือนแรกนี้คุณแม่บางคนหรือหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า ได้มีชีวิตน้อย ๆ กำเนิดขึ้นแล้ว เพราะยังไม่สัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่เมื่อทราบว่าประจำเดือนขาด และทำการตรวจแล้วว่า ท้องชัวร์ !!!! รีบไปฝากครรภ์เลยนะคะ พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอในการดูแลตนเองเพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูกค่ะ
เช็กไตรมาสสอง : ร่างกายทารกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1. ในช่วงเดือนที่สี่นี้ ตัวอ่อนจะโตเป็นทารกเต็มตัวมีความยาวประมาณ 6.5 นิ้วฟุต มีน้ำหนักประมาณ 130 กรัมเมื่อนอนขดตัวจะมีขนาดเท่าผลอโวคาโด มีอวัยวะครบทุกส่วน
2. พัฒนาการด้านร่างกายของทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เริ่มมีขนคิ้วและเส้นผมแล้วนะ แต่ผิวยังบอบบางมากจนมองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง ระบบกระดูกพัฒนาไปพร้อมกับกล้ามเนื้อ กระดูกเริ่มมีความแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะไหปลาร้าและกระดูกขา นิ้วมือ นิ้วเท้าแยกออกจากกันครบทุกนิ้ว เริ่มมีเล็บและลายนิ้วมือ
3. ศีรษะเริ่มตั้งตรง ใบหูยื่นออกมาจากศีรษะ ส่วนตาทั้งสองข้างที่เคยอยู่ตำแหน่งค่อนไปทางซ้าย ก็จะค่อย ๆ เคลื่อนมาอยู่บนใบหน้า แม้ว่าเปลือกตาจะปิดสนิทอยู่ แต่เค้าโครงกระดูกใบหน้าพัฒนาไปตามสัดส่วน เริ่มมีกล้ามเนื้อใบหน้า หากทำอัลตราซาวด์แบบ 4 มิติ จะสามารถเห็นทารกแสดงสีหน้าตามอารมณ์ได้ เพราะเจ้าหนูเริ่มรับรู้สิ่งภายนอกด้วยประสาทสัมผัสจากการได้ยิน ทารกเริ่มได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่
บทความแนะนำ พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์
4. ในช่วงเดือนนี้จะตัวน้อยจะรู้จักหลับและตื่นสลับกัน ส่วนหัวใจแบ่งออกเป็นสี่ห้องแล้ว ในเดือนที่สี่นี้คุณหมอสามารถฟังเสียงหัวใจของทารกโดยใช้หูฟังธรรมดาไม่ต้องพึ่งเครื่องมือพิเศษใด ๆ หากคุณแม่คุณพ่ออยากฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ก็สามารถทำได้นะคะ แต่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยฟังที่มีขายตามแผนกเด็กอ่อนก็สามารถได้ยินเสียงหัวใจทารกได้เช่นกันค่ะ
5. น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดของท้อง โดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 กิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดเดือนที่สี่น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นจากก่อนที่ตั้งครรภ์ประมาณ 3 – 4 กิโลกรัม
เช็กไตรมาสสาม : ระบบหายใจของหนูทำงานเต็มที่สมบูรณ์แล้วนะ
เช็กไตรมาสสาม : ระบบหายใจของหนูทำงานเต็มที่สมบูรณ์แล้วนะ
1. ในเดือนที่เจ็ดนี้ ทารกน้อยพัฒนาระบบต่าง ๆ เกือบสมบูรณ์แล้ว ทารกน้อยจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตราประมาณ 100 กรัม / สัปดาห์ จากน้ำหนักประมาณ 600 กรัม สูง 33 เซนติเมตร เมื่อต้นเดือนที่เจ็ด ไปเป็น สูง 38 เซนติเมตรหนัก 100 กรัม เมื่อสิ้นสุดเดือนที่เจ็ด
2. ระบบต่าง ๆ ในร่างกายพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง ปอดเริ่มทำงาน ทารกน้อยจะขยับหน้าอกขึ้นลง เพื่อสูดน้ำคร่ำเข้าปอด จนบางครั้งคุณแม่จะรู้สึกได้ว่า ลูกน้อยกำลังสะอึกน้ำคร่ำอยู่
3. ทารกน้อยยังคงดิ้นแรงอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถขยับร่างกาย แขน ขา และอวัยวะภายนอกทุกส่วนได้อิสระ แต่ยังอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่มีบริเวณจำกัด ปริมาณน้ำคร่ำน้อยลงเมื่อเทียบกับขนาดของทารกที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเย็นเป็นเวลาที่ทารกน้อยตื่นและมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดโอกาสทอง ที่จะกระตุ้นพัฒนาการเจ้าหนูให้คุณแม่ คุณพ่อลูบท้อง พูดคุยทักทายลูกนะคะ จะกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยินและสมอง รวมถึงการเคลื่อนไหวอีกด้วย
บทความแนะนำ : แม่จ๋ารู้ไหม!!!ลูบท้องกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
4. ในช่วงเดือนนี้พัฒนาการของทารกในครรภ์จะเริ่มเตรียมความพร้อมเพื่อคลอดออกมาสู่โลกภายนอก จะเริ่มมีการตีลังกากลับหัวลง แต่ก็มีที่ยังไม่กลับหัวลงก็ได้นะคะ ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละคน หากทารกที่คลอดก่อนกำหนดในเดือนนี้จะมีโอกาสรอดชีวิตสูง เพราะทารกมีระบบการหายใจสมบูรณ์แล้ว
5. ในเดือนที่เจ็ดนี้ คุณแม่จะเริ่มมีรูปร่างอุ้ยอ้าย เริ่มรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และง่วงนอนบ่อย ๆ มีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บ้าง บางคนมีอาการไมเกรนร่วมด้วยเพราะเส้นเลือดในสมองขยายตัว สืบเนื่องจากฮอร์โมนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การได้งีบนอนในช่วงกลางวัน จะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ค่ะ
เช็กว่าลูกในท้องตัวโตแค่ไหนแล้วนะ
ที่มา : www.khaosod.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
น้ำหนักคนท้อง น้ำหนักคนท้องแต่ละไตรมาส ควรเป็นอย่างไร มาดูกัน
ชวนแม่ท้อง เรียนรู้ เรื่อง การดิ้น ของทารกในครรภ์
แม่จ๋ารู้มั้ย..อยู่ในท้องหนูรู้สึกอะไรบ้าง 5 เรื่องจริงที่น่าอัศจรรย์ของ ทารกในครรภ์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!