X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะ แท้งค้าง ยากที่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้ว

บทความ 5 นาที
ภาวะ แท้งค้าง ยากที่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้วภาวะ แท้งค้าง ยากที่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้ว

แท้งค้าง อาการแท้งแบบที่แม่ท้องไม่ทันรู้ตัว และยากที่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้ว อาการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แม้ว่าภาวะนี้จะเกิดได้น้อยมาก เพียงประมาณ 1% การตั้งครรภ์ทั้งหมด แต่แม่ควรรู้ไว้เพื่อดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ให้ดีที่สุด

ภาวะ แท้งค้าง เกิดขึ้นได้แบบที่แม่ท้องไม่รู้ตัว 

โดยทั่วไปอาการแท้งที่เกิดขึ้นจะพบได้ประมาณ 15 - 20% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ส่วนภาวะ แท้งค้าง แม้จะพบเพียงแค่ 1% แต่เป็นปัญหาที่ยากจะรู้ว่ามีการแท้งเกิดขึ้น และทารกในครรภ์เสียชีวิตจริง ๆ มานานเท่าไหร่แล้ว

แท้งค้าง

“แท้งค้าง” จัดเป็นการแท้งชนิดหนึ่งที่ทารกเสียชีวิตภายในครรภ์มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่แพทย์จะตรวจพบและทำการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะแท้งค้างนั้นยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่า เหตุใดทารกที่เสียชีวิตในครรภ์จึงไม่แสดงอาการแท้งออกมา แต่สาเหตุของการแท้งค้าง อาจเกิดขึ้นได้จาก

  • ทารกในครรภ์มีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกเสียชีวิตมากที่สุด
  • พฤติกรรมของแม่ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
  • การติดเชื้อของทารกในครรภ์ หรือการติดเชื้อจากแม่แล้วมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์
  • แม่ตั้งครรภ์มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
  • สารพิษจากสิ่งแวดล้อมที่แม่ได้รับขณะตั้งครรภ์

แท้งค้าง

สัญญานที่อาจเกิดภาวะแท้งค้างที่ควรสังเกต

  • จากที่เคยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่อาการเหล่านั้นหายไป
  • จากที่เคยมีอาการคัดตึงเต้านม แต่อาการนั้นหายไป
  • ขนาดท้องไม่โตขึ้นตามอายุครรภ์
  • ทารกไม่ดิ้นในอายุครรภ์ที่ควรดิ้น เช่น ท้องแรกลูกควรเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 18 - 20 สัปดาห์
  • รู้สึกว่าลูกดิ้นแล้วหยุดดิ้น มีการดิ้นน้อยลง
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

หากพบอาการเหล่านี้อย่ายิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอให้ถึงกำหนดที่นัด ในบางกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงก็อาจส่งผลกระทบต่อตัวคุณแม่มากขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อาการนี้เกิดขึ้นแค่ประมาณ 1% เท่านั้น หากคุณแม่ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่สูบบุหรี่ อยู่ในที่ที่ลดการเผชิญกับสารพิษหรือมลภาวะเป็นพิษต่าง ๆ ก็จะช่วยทำให้คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แข็งแรงสมบูรณ์ ปลอดจากโรคภัยและไม่มีโอกาสที่จะเกิดภาวะดังกล่าวนี้ขึ้นได้นะคะ

พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง แม่ท้องไตรมาสแรก อันไหนทำได้ อันไหนต้องห้าม

พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง แม่ท้องไตรมาสแรก

ท้องแรกกังวลเหลือเกิน กลัวว่าทำโน่นทำนี่แล้วจะแท้ง! ไม่ต้องกลัวไปนะคะ คุณหมอมีคำแนะนำ พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง แม่ท้องไตรมาสแรก อันไหนทำได้ อันไหนต้องห้าม เป็นคำเตือนให้แม่ท้องระมัดระวังตัว และคำแนะนำในการดูแลสุขภาพให้ดี

ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมีหลายอย่าง ปัจจัยส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ แต่ปัจจัยบางอย่างก็ไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ เช่น อายุของคุณแม่ที่มากขึ้น หรือในบางครั้งอาจไม่พบปัจจัยเสี่ยงในคุณแม่ที่แท้งบุตรเลย (โดยเฉลี่ยอาจพบการแท้งบุตรตามธรรมชาติได้ถึงร้อยละ 10-15)

การเตรียมตัวคุณแม่เพื่อป้องกันการแท้งบุตร

  1. ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
  2. ควรรักษาโรคประจำตัวให้เป็นปกติหรือควบคุมโรคได้ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันเลือดสูง, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE และ antiphospholipid syndrome) เป็นต้น
  3. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  4. ควรลดน้ำหนักตัวให้เป็นปกติก่อนการตั้งครรภ์
  5. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

แม่ท้องไตรมาสแรกต้องเลี่ยง

  • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่ไม่สุก, ชีสหรือเนยแข็ง, ไส้กรอกและแฮม, ชาและกาแฟ, น้ำอัดลม
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อบางโรคระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน โดยการหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนแออัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค

แม่ท้องไตรมาสแรกต้องห้าม

งดการสูบบุหรี่ / การดื่มแอลกอฮอล์ / การใช้สารเสพติด

กิจกรรมของคุณแม่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

  • การออกกำลังกาย สามารถทำได้ตามปกติเหมือนก่อนการตั้งครรภ์

โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกีฬาที่อาจมีการกระแทก, การกระโดด และการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก ดังนั้น คุณแม่สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, เต้นแอโรบิค, โยคะ และอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัย

  • การมีเพศสัมพันธ์

ในการตั้งครรภ์ที่ปกติการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ดังนั้น ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย

  • การทำงานบ้าน / ยกของหนัก

อาจทำให้คุณแม่มีอาการปวดเสียดมดลูกได้ เช่นเดียวกันกับการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน การทำงานไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

  • การทำงานในที่ทำงานหรือการทำงานบ้าน

ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีหรือสิ่งที่อันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง, สารระเหย, โลหะหนักที่ผสมในสารเคมี, รังสีจากที่ทำงาน เป็นต้น

  • ถ้าคุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ปวดท้องตลอดเวลา, เลือดออก หรือมีภาวะแท้งคุกคาม

ให้หยุดกิจกรรมทุกอย่าง นอนพักผ่อนให้มาก และพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษา

ภาวะ แท้งค้าง ยากที่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้ว

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


ที่มา : www.haamor.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

แชร์ประสบการณ์แม่ สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน จนกระทั่งฉันแท้ง!! และตั้งรับไม่ทัน

แม่ท้องควรรู้!! ดื่ม "ชาดอกคำฝอย" อาจเสี่ยงแท้ง

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ภาวะ แท้งค้าง ยากที่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานเท่าไหร่แล้ว
แชร์ :
  • แท้งค้าง ภาวะที่ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต คุณแม่ต้องระวัง!

    แท้งค้าง ภาวะที่ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต คุณแม่ต้องระวัง!

  • สู้กับความกลัว เมื่อคุณตั้งครรภ์อีกครั้งหลังแท้งมาก่อน ต้องสู้อีกครั้ง

    สู้กับความกลัว เมื่อคุณตั้งครรภ์อีกครั้งหลังแท้งมาก่อน ต้องสู้อีกครั้ง

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • แท้งค้าง ภาวะที่ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต คุณแม่ต้องระวัง!

    แท้งค้าง ภาวะที่ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต คุณแม่ต้องระวัง!

  • สู้กับความกลัว เมื่อคุณตั้งครรภ์อีกครั้งหลังแท้งมาก่อน ต้องสู้อีกครั้ง

    สู้กับความกลัว เมื่อคุณตั้งครรภ์อีกครั้งหลังแท้งมาก่อน ต้องสู้อีกครั้ง

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ